IRPC ชูนวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตอบโจทย์ลูกค้า ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก | Techsauce

IRPC ชูนวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตอบโจทย์ลูกค้า ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

IRPC จัดทัพมุ่งกลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ชูเทคโนโลยี-นวัตกรรม ตอบโจทย์ลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมเปิดแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ เพิ่มทางเลือกใหม่ จับมือพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีและประสบการณ์ช่วยต่อยอดธุรกิจ

IRPC

นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นกลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมมาตอบโจทย์ลูกค้า ให้ได้รับ             ความพึงพอใจสูงสุด ทั้งคุณภาพและบริการ พร้อมจัดกระบวนการทำงานภายในใหม่ รวมศูนย์ทั้งฝ่ายขายและฝ่ายวิจัย ให้สามารถดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมความสามารถการแข่งขันเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialties) ได้มากขึ้น และจะทำให้บริษัทฯ ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งลดความผันผวนของราคาจากผลิตภัณฑ์กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ด้วย

“ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นเหมือนวัตถุดิบที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้สามารถเอาไปผลิตเป็นโปรดักส์อื่นต่อ ซึ่งจากการที่ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจที่รายได้มักมีความผันผวนไปตามเศรษฐกิจ สถานการณ์ต่างๆของโลก อย่างเช่นที่ผ่านมาสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ก็ส่งผลกระทบกับเราพอสมควรดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้นให้มีการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการผลิตสินค้า ที่จะทำอย่างไรให้สามารถผลิตสินค้าชนิดพิเศษ ที่เป็นสินค้าคุณภาพสูงออกมาเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด เพราะสินค้ามูลค่าสูงมีมาร์จิ้นสูง และเราเองก็สามารถสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้าได้ โดยการลงไปร่วมพัฒนาด้วยกัน เพื่อให้สามารถนำไปสู่การพัฒนาโปรดักส์ของลูกค้าให้ออกมาเป็นชิ้นสิ้นที่มีคุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ พร้อมกันนี้ยังสามารถที่จะปิดช่องว่างของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนดังกล่าวได้ด้วย ” นายนพดล กล่าว

สำหรับความคืบหน้าของการผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำตามมาตรฐาน IMO หรือ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ  ซึ่งกำหนดให้เรือเดินสมุทรใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำ 0.5% จากเดิม 3.5% เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2563

 ขณะที่ปัจจุบัน IRPC สามารถผลิตได้ 52,000 ตัน/เดือน ตามแผน จากกำลังการผลิตรวม 60,000 ตัน/เดือน โดยวางเป้าหมายขายในประเทศ 65% ส่งออก 35%    

 อย่างไรก็ตาม ตลาดเอเชียและตะวันออกกลางมีความต้องการน้ำมันเตากำมะถันต่ำมากถึง 9.3 ล้านตัน/เดือน จากปัจจุบันมี Supply ในตลาดเพียง 4.7 ล้านตัน/เดือน ซึ่งกำลังการผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

“IRPC เป็นโรงกลั่นเดียวในประเทศไทย ที่มีหน่วยกำจัดกำมะถันออกจากน้ำมันเตา ทำให้มีความได้เปรียบด้านคุณภาพ  โดยเนื้อน้ำมันไม่แยกชั้นเวลาเก็บเป็นสินค้าคงคลัง รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่ไม่ผันผวนเหมือนกับผู้ผลิตรายอื่น ซึ่ง IRPC สามารถป้อนน้ำมันมาตรฐาน IMO เข้าสู่ตลาดได้เป็นรายแรกและก่อนระยะเวลาที่มาตรฐานกำหนด” นายนพดล กล่าว

นายนพดล กล่าวถึงผลิตภัณฑ์ยางมะตอยเกรดพิเศษ ว่า IRPC เป็นโรงกลั่นรายแรกในประเทศไทยที่ผลิตยางมะตอยเกรดพิเศษ 40:50 ออกสู่ตลาด ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 3,000 ตัน/เดือน และมีโอกาสเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกในอนาคต               ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยเกรด 40:50  เป็นการรองรับมาตรฐานที่เสริมความแข็งแกร่ง ลดการเกิดร่องตามท้องถนน และมีอายุการใช้งานนานขึ้น โดยภาครัฐได้นำร่องให้ใช้ยางมะตอยเกรดพิเศษใหม่บนถนนพระราม 2 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ส่วนธุรกิจปิโตรเคมี IRPC มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค และทิศทางธุรกิจที่เติบโต เช่น เม็ดพลาสติกพีพี คอมพาวด์ (PP compound) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านมาตรฐาน     ยานยนต์ญี่ปุ่น ทุ่นพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำจากเม็ดพลาสติกเอชดีพีอีคอมพาวด์ (HDPE compound) ที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม มีอายุการใช้งานเกิน 25 ปี และท่อน้ำประปาที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกเอชดีพีอี (HDPE pipe grade) ที่ทนทานต่อสารคลอรีนมากกว่าท่อน้ำประปาทั่วไป มีอายุการใช้งานมากกว่า 60 ปี เป็นต้น

“IRPC พร้อมรุกตลาดยานยนต์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ทั่วไป รถยนต์พลังงานไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ด้วยผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก พีพี คอมพาวด์ ที่สามารถปรับปรุงคุณสมบัติพิเศษและสีสันต่างๆ ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ (Customized) พร้อมขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ”

สำหรับความคืบหน้าของการร่วมทุนระหว่าง IRPC กับ บริษัท WHA Industrial Estate Rayong Co.,Ltd. เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะดับบลิวเอชเอ รองรับ EEC ในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง นั้น ขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวได้รับการรับรองเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ประเภทเมืองใหม่อัจฉริยะ (New City) จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเปิดให้บริการต้นปี 64

นอกจากนี้ยังมีการขยายความร่วมมือไปสู่ธุรกิจอีคอมเมิรซ์ PLASTKET.COM โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ การให้บริการจัดส่งสินค้าทั่วประเทศจากสมาคมโลจิสติกส์แห่งประเทศไทย รวมทั้ง การสนับสนุนข้อมูลทางเทคนิคและการพัฒนานวัตกรรมจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...