ญี่ปุ่น-มาเล เสนอวิธีจัดเก็บคาร์บอน (CCS) หวังสร้างแนวทางใหม่ให้ SEA | Techsauce

ญี่ปุ่น-มาเล เสนอวิธีจัดเก็บคาร์บอน (CCS) หวังสร้างแนวทางใหม่ให้ SEA

อกจากลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนแล้ว ทำอะไรได้อีก ญี่ปุ่น-มาเล ผุดไอเดียให้จัดเก็บก๊าซคาร์บอนเอาไว้แทน โดยทั้ง 2 ประเทศเผยว่าจะเริ่มดำเนินการตามแผนนี้ในปี 2028 แล้วถ้าจะจัดเก็บก๊าซคาร์บอนต้องทำยังไง เก็บมาแล้วจะเอาไปไว้ที่ไหน ?

แผนจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ญี่ปุ่น-มาเล

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ร่วมกับองค์การเพื่อความมั่นคงด้านโลหะและพลังงานของญี่ปุ่น วางแผนที่จะทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับบริษัทปิโตรนาส ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) 

วิธีการจัดเก็บ จะมีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ญี่ปุ่นปล่อยออกมาและถูกเปลี่ยนให้เป็นของเหลว จากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลวเหล่านี้จะถูกบรรทุกลงเรือและขนส่งไปยังมาเลเซีย

สถานที่จัดเก็บ มาเลเซียมีสถานที่ในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนเหลวเหล่านี้มากมาย เช่น ไซต์งานในมาเลเซีย แหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง และแหล่งจัดเก็บใต้ดิน

หากความร่วมมือนี้สำเร็จ การดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถือเป็นวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ซึ่งญี่ปุ่นหวังว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค ซึ่งเป็นครั้งแรกของ SEA ที่มีการใช้วิธี CCS และขนส่งก๊าซคาร์บอนข้ามประเทศ

การจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยอะไรได้ ?

ญี่ปุ่นและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามองว่า การใช้ Carbon Capture and Storage (CCS) เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างสมดุลระหว่างการผลิตพลังงานไฟฟ้ากับการปกป้องสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะสามารถลดมลพิษได้แล้ว ก็ยังสามารถผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับทุกคนได้

ญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะ Net Zero การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050 ด้วยการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ประมาณปีละ 120 ล้านตัน - 240 ล้านตัน ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 10% - 20% 

เทคโนโลยี CCS จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ญี่ปุ่นคาดว่าจะมีราคาประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทและอาจมีราคาที่สูงขึ้นอีก ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องเริ่มระดมทุนเพื่อผลักดันโครงการนี้

โดยญี่ปุ่นวางแผนที่จะขายพันธบัตรที่เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงสีเขียว" เพื่อใช้พันธบัตรเหล่านี้เป็นช่องทางให้ผู้คนมาลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลจะเริ่มขายพันธบัตรในปีนี้เพื่อระดมทุนทำ CCS

อ้างอิง: asia.nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...