JD.com นำ Blockchain มาใช้ในจีน ให้คุณตรวจสอบเนื้อสเต็กที่ซื้อมาได้ว่ามาจากที่ไหน แก้ปัญหาอาหารปลอมแปลง | Techsauce

JD.com นำ Blockchain มาใช้ในจีน ให้คุณตรวจสอบเนื้อสเต็กที่ซื้อมาได้ว่ามาจากที่ไหน แก้ปัญหาอาหารปลอมแปลง

หลังจากที่เราเคยถ่ายทอดเรื่องการติดต่อเนื้อหมูในจีนด้วย Blockchain มาแล้วโดยการจับมือระหว่าง Walmart และ IBM  ล่าสุดยักษ์ใหญ่ด้าน Ecommerce อันดับ 2 ของจีนอย่าง JD ก็ออกโรงบ้าง ให้สามารถติดตามที่มาที่ไปของเนื้อสเต็กตั้งแต่วัวเกิด จนกระทั่งมาอยู่ในจานอาหารของผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีอย่าง Blockchain เช่นกัน

JD.com จับมือร่วมกับ Kerchin โรงงานผลิตเนื้อวัวจากมังโกเลียนำ Blockchain มาใช้ในการติดตามคุณภาพเนื้อวัวที่วางขายบน JD ได้แล้ว ซึ่งตอนนี้เปิดให้บริการในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางซู ที่มาที่ไปเกิดจากปัญหาเรื่องความมั่นใจในคุณภาพของอาหารในประเทศจีนโดยตรง และเคยมีเรื่องของนมผงที่พรากชีวิตเด็กทารกไปถึง 6 คนด้วยกันในปี 2008 และข่าวก็แพร่สะพัดไปทั่ว ไม่รู้อะไรจริงหรือหลอกกันแน่ ส่งผลกระทบไปทั้งผู้ผลิต คล้งเก็บสินค้า และบริษัทผู้จัดจำหน่าย

ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ทำให้ผู้บริโภคสามารถติดตามได้ตั้งแต่ว่ามาจากฟาร์มไหน กระบวนการเริ่มจาก Kerchin จะทำการสแกนบาร์โค้ดและเก็บข้อมูลของการขนส่งและรายละเอียดที่มาต่างๆ ก่อนถึง JD ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลขึ้นมา ทั้ง 2 ฝ่ายจะรู้ทันทีว่ามีการแก้ไขข้อมูล

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ เลยคือการลองสั่งเนื้อวัวจาก JD น้ำหนัก 200 กรัมทางออนไลน์และได้รับของในวันถัดไป ซึ่ง packaging จะมี QR Code มาด้วย เมื่อใช้ JD แอปฯ สแกนจะเห็นข้อมูลว่า วัวตัวนี้มีอายุ 3 ปี น้ำหนัก 605 กิโลกรัม มาจากที่ไหน วัวถูกเลี้ยงด้วยอะไร และถูกฆ่าในวันที่เท่าไหร่  และผ่านกระบวนการรักษาคุณภาพอาหารมาอย่างไร

 

ไม่ใช่แค่ JD.com ที่เป็นผู้เล่นจากจีนเท่านั้น ก่อนหน้านี้ Alibaba ผู้เล่น Ecommerce ใหญ่สุดก็ออกมาประกาศตั้งแต่เดือนมีนาคมจับมือกับ PwC นำ Blockchain มาติดตามคุณภาพเนื้อที่มาจากออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มีการนำเข้าเนื้อวัวมากที่สุด แม้จะมีข่าวด้านนี้ออกมาเรื่อยๆ และมีแต่คนคาดหวังว่าจะนำ Blockchain ไปใช้ติดตามสินค้าอื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่การ Scale เห็นจะไม่ง่ายนัก อย่างกรณีของ JD และ Kerchin เป็นการเก็บข้อมูลและอัพโหลดข้อมูลกันแค่ 2 ฝ่าย แต่ถ้าต้องเอามาใช้กับ Supply Chain ทั่วโลกถือเป็นความท้าทายอย่างมากเลยทีเดียว เพราะส่วนใหญ่ไม่อยากเปิดเผยข้อมูลให้กัน

ที่มา: QZ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...