JD เปิดตัวร้านค้าไร้พนักงานที่อินโดนีเซีย และเป็นร้านค้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

JD เปิดตัวร้านค้าไร้พนักงานที่อินโดนีเซีย และเป็นร้านค้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนหน้านี้เราพึ่งเขียนบทความส่องตลาดจีนไปหยกๆ ทั้งเรื่องของร้านค้าที่ทันสมัยและการขยายธุรกิจมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ทันไรยักษ์ใหญ่จากจีนสายอีคอมเมิร์ซพึ่งเปิดร้าน JD.ID X-Mart ด้วยขนาด 270 ตรม. ย่าน PIK Avenue ในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ตามมาติดๆ โดยจุดสำคัญคือ "เป็นร้านที่ไม่มีพนักงานประจำ counter ร้านแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว" ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของ JD ที่จะนำเอาเทคโนโลยีร้านไร้พนักงานมาขยายสู่ต่างประเทศ

ร้านแห่งนี้ขายสินค้าแฟชั่นและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยลูกค้าที่ซื้อของไม่ต้องเข้าคิว เบื้องหลังการทำงานใช้ AI เป็นหลัก ภายในร้านติดตั้งกล้องไว้ทั่วเพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์และติดตามการเดินของคนที่เข้ามา ทำให้ JD เข้าใจพฤติกรรมการซื้อของ, เตรียมจัดการสินค้า, การจัดแสดงการวางสินค้า และมุมอื่นๆ ในการจัดการ

ภาพจาก JD

วิธีการใช้งาน

    1. เปิดแอปพลิเคชั่นที่ชื่อ JD ID app
    2. เปิด JD ID X ซึ่งเป็น QR code ของตนเอง หลังจากนั้นเมื่อไปที่ประตูทางเข้าให้ทำการสแกน QR code และจะมีกล้อง Face Recognition จับใบหน้าและ mapping เพื่อเก็บข้อมูล
    3. สินค้าต่างๆ จะมีการติดตั้ง RFID ไว้ คุณสามารถหยิบและเลือกซื้อได้ตามปกติ
    4. ในจุดชำระเงินจะทำการแสกนใบหน้าอีกครั้ง และตัดเครดิตตามที่คุณได้ผูกข้อมูลเอาไว้
    5. ระบบจะมีการส่งรายละเอียดการสั่งซื้อทั้งหมดไปที่อีเมล และแอปฯ อีกที

โมเดลธุรกิจที่เป็นมากกว่าแค่ร้านค้า แต่คือ Retail as a Service 

ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้เปิดตัวร้านที่ปักกิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน และปัจจุบันขยายทั่วจีน 20 ร้านแล้ว และยังมีแผนขยายต่ออีก 100 ร้านสาขาที่จาร์กาตาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Retail as a Service ของทาง JD โดยตรงที่จะนำเอาเดต้าเบสข้อมูลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมต่างๆ นำมาวิเคราะห์เป็น Insight ที่มีประโยชน์อาทิ สินค้าประเภทไหนควรมีเก็บไว้ หรือนำมาทำโฆษณา พฤติกรรมการใช้จ่าย โดยในตอนนี้มีคลังสินค้าทั้งหมด 9 แห่งกระจายอยู่ใน 7 เกาะ และมีแผนขยายเพิ่มเป็น 3 ถึง 4 แห่งภายในปีนี้ เพื่อให้ยอดการสั่งซื้อ 85% ของทั้งหมด สามารถส่งได้ภายในวันเดียวกันหรือวันรุ่งขึ้นเลย โดยก่อนหน้านี้ JD เปิดตัวธุรกิจออนไลน์แพลตฟอร์มในอินโด

อ้างอิงจาก : JD corporate blog และ  Technode

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

JD เปิดตัวแพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์ในอินโดนีเซียก่อนช่วงเดือนมีนาคม 2016 ซึ่งมีสินค้าที่ขายได้มากกว่า 350,000 SKU และรองรับผู้ใช้ทั่วประเทศกว่า 20 ล้านคน และยังลงทุนใน GoJek ซึ่งเป็น Strategic Investment ทางด้านการขนส่งสินค้า

ในขณะที่กลยุทธ์  Retail as a Service การติดตามดูพฤติกรรมของคนในห้างแบบออฟไลน์ด้วยเทคโนโลยีการจดจำและติดตามทุกรูปแบบด้วย Face Recognition, RFID และขับเคลื่อนด้วย AI เฉกเช่นเดียวกับที่จีนทำเพื่อค้นหา Insight นั้น แม้ไม่ใช่กลยุทธ์ใหม่แต่อย่างใด (เพราะในจีนและโลกตะวันตกก็ทำมาสักพักแล้ว แม้แต่ 7-11 ก็เริ่มอิมพลีเมนต์ที่เกาหลีใต้และไต้หวัน) แต่ที่จีนไปไวมากเพราะมี Ecosystem ทั้งระบบชำระเงิน ระบบขนส่งสินค้าที่ถูกวางไว้ก่อนหน้าและเกื้อหนุนกันไว้พร้อมแล้ว โดยผูกขาดอยู่เพียงแค่ 2 รายอย่าง Alibaba และ Tencent ( ลงทุนใน JD)

พอมองกลับมาแถบบ้านเราบ้าง ถ้าคนที่คิดจะขยายและอิมพลีเมนต์กลยุทธ์นี้ก็คงหนีไม่พ้นการจับมือกับจีนแน่นอน แม้แค่คิดว่าน่าจะเป็นปีหน้ามากกว่า แต่พอเจอข่าวนี้เข้าไป ยอมรับว่าเข้ามาใกล้ตัวเร็วกว่าที่คิดไว้ โดยเลือกเอาประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่อย่างอินโดนีเซียก่อนหนึ่งสาขา แน่นอนว่าสังคม Cashless Society ของอินโดนีเซียไม่ได้ล้ำขนาดที่จีน Ecosystem ไม่ได้พร้อมขนาดนั้น การชำระเงินในช่วงแรกเป็นการชำระผ่าน account ที่ผูกกับบัตรเครดิต ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยมากในอินโดนีเซีย (อนาคตช่องทางน่าจะมากกว่านี้) ดังนั้นช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ดีที่จะให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมนี้ก่อน และเป็นการทดสอบตลาดไปในตัว และไม่แน่บ้านเราก็อาจจะได้เห็นเช่นกันจากการจับมือร่วมกันระหว่าง JD และ Central 

ครั้งนี้เป็นเสมือนการแข่งขันของ 2 ค่ายนอกประเทศอีกแล้ว โดย JD ออกตัวก่อน ในขณะที่ Alibaba ก็ลงทุนใน Tokopedia ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซในอินโดฯ  และใช้ AntFinancial ลงทุนใน TrueMoney ของกลุ่ม CP (ที่มี Retail ขนาดใหญ่เช่นกันอย่าง 7-11) อย่างไรก็ตามการก้าวมาก่อนก็ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จกว่า งานนี้เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...

Responsive image

Tencent จับมือ Visa เปิดตัวระบบชำระเงินด้วยฝ่ามือ (Palm Payment) ในสิงคโปร์

Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อเปิดตัวระบบจ่ายเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำฝ่ามือ โดยเริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก...