เผยโฉม 7 Startup สัญชาติญี่ปุ่นจากโครงการ JETRO Innovation Program ยกทัพเข้าร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2019 | Techsauce

เผยโฉม 7 Startup สัญชาติญี่ปุ่นจากโครงการ JETRO Innovation Program ยกทัพเข้าร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2019

โครงการ JETRO Innovation Program เป็นโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลาง SME รวมถึง Startup ที่มีสินค้าหรือบริการที่เป็นนวัตกรรม เพื่อทำให้สินค้าและบริการด้านนวัตกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นจริงและสามารถเติบโต ประสบความสำเร็จใน ecosystem ระดับสากลได้ ซึ่งการสนับสนุนด้านการทำการตลาดนับได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ทาง JETRO ได้ทำความร่วมมือกับทาง Accelerator จากประเทศที่ร่วมเป็นพันธมิตรเข้าสนับสนุนผู้ประกอบการเหล่านี้ 

ด้วยความช่วยเหลือที่หลากหลายด้าน ตั้งแต่การสร้างแผนธุรกิจการ mentoring การจัดงาน Pitch event และงานเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการญี่ปุ่น รวมถึงสนับสนุนให้สามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อย่างมั่นคง สำหรับการจัดโครงการในประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดมาตั้งแต่ปี 2561 การจัดครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ซึ่งสำหรับปี 2562 นี้ นอกจากจะมีการจัดโครงการในประเทศไทยแล้ว ยังมีการจัดที่สหรัฐอเมริกา (ซานฟรานซิสโก, ซิลิคอนวัลเลย์) จีน (เซินเจิ้น, เซี่ยงไฮ้) รวม 3 ประเทศ


ทำไมประเทศไทยถึงน่าสนใจสำหรับ Startup จากญี่ปุ่น ?

JETRO มองว่าประเทศไทยมีตลาดดิจิทัลที่ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นที่น่าจับตามอง รวมถึงมีการเจริญเติบโตในด้าน FinTech เช่น การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังทุ่มเทกับนโยบายการเติบโตในระยะยาว ‘Thailand4.0’ ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลอีกด้วย ทั้งนี้ทาง JETRO กรุงเทพฯ มองเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำความร่วมมือกับ Accelerator ท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญในวงการ Startup ของไทย จัดทำโครงการสนับสนุนการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทยอย่างครบวงจร โดยได้มีการจัดงานเจรจาธุรกิจของโครงการโดยเฉพาะ ภายในงาน CEBIT ASEAN Thailand 2019 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการสนับสนุนของโครงการ

นอกจากการจัดงานเจรจาธุรกิจแล้ว ยังมีสนับสนุนอื่นๆ อาทิ โครงการ ‘Bootcamp’ บ่มเพาะความพร้อมล่วงหน้าก่อนมาที่ประเทศไทย และโครงการ Mentoring แบบส่วนตัวกับ Accelerator ท้องถิ่น โดยเน้นการติวเข้มในการปรับ Pitch ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไทย ให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงยังมีการสนับสนุนในรูปแบบอื่น ๆ อีกทั้งก่อนและหลังการจัดงาน

7 Startup จากประเทศญี่ปุ่นที่น่าจับตามอง

JETRO Bangkok ยกทัพเหล่า Startup จากโครงการ Jetro Innovation Program ที่น่าจับตามมองเข้าร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2019 โดยมีบริษัทเข้าร่วม 7 บริษัท ซึ่งแต่ละทีมมีโครงการที่น่าสนใจหลายด้าน อาทิ นวัตกรรมเซอร์วิสด้าน IT และนวัตกรรมด้านการแพทย์ ดังนี้

1. Spectee  

AI คัดกรองข้อมูลสถานการณ์ฉุกเฉิน อุบัติภัย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ จาก SNS โดยให้บริการแจ้งเตือนภัยรวมถึงรายงานข้อมูลอุบัติเหตุ และสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสื่อ Social Media เช่น Facebook, Instragram, Youtube มีบริการแบบรายเดือน ผู้ใช้บริการสามารถ เข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน dashboard ซึ่งมีการพัฒนาโดยใช้ SaaS ลูกค้าหลักที่ใช้บริการในปัจจุบันคือ หน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น สำนักข่าวสื่อมวลชน และบริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่ง 

2. Abeja, Inc. 

AI Platform สำหรับการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี Deep Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ของระบบ AI ทำการคิดค้นและพัฒนาระบบ Saas  ที่สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายในแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ABEJA ได้ให้บริการพัฒนา AI Platform ให้กว่า 150 องค์กรในหลากหลายธุรกิจ เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน นอกจากในประเทศญี่ปุ่นแล้ว บริษัทมีสาขาในประเทศสิงคโปร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

3. Studist Corporation  

Application สร้างคู่มือการทำงานที่มี interface ใช้งานง่ายบนสมาร์ทโฟน ให้บริการเครื่องมือ Cloud Manual Creator โดยสามารถให้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์แท็บเล็ต เพื่อสร้างและปรับปรุงคู่มือในการทำงาน ซึ่งทำให้ในองค์กรสามารถทำการแชร์ข้อมูลวิธีการทำงานและจุดที่ควรระมัดระวังได้แบบ Real time สร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับการสื่อสารและคุณภาพของผลงานในองค์กร 

4. Soramitsu

Platform ด้าน Blockchain ให้บริการการพัฒนา Open Source Blockchain เพื่อใช้สำหรับสกุลเงินดิจิทัลที่ปลอดภัย ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2019 บริษัทได้รับการรับรอง Linux Foundation ได้รับเลือกเป็นอยู่ในอันดับสี่ของผู้ให้บริการด้าน Blockchain ของโลก ที่ผ่านมาได้ให้บริการ Blockchain พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลและพัฒนาระบบการโอนเงินให้กับธนาคารแห่งชาติกัมพูชา

5. VisGene  

ชุดตรวจสอบไวรัสไข้เลือดออกจาก Genome ก่อตั้งโดยกลุ่มนักนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจโรคไข้เลือดออกจากชุดของ DNA ที่บรรจุอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ หรือ จีโนม เครื่องมือนี้สามารถตรวจสอบได้แม่นยำ โดยทำการเก็บข้อมูลจีโนมของเชื้อไข้เลือดออกในภูมิภาคต่าง ๆ จุดประสงค์เพื่อให้ทราบการติดเชื้อไข้เลือดออกได้อย่างทันท่วงที เพื่อทำการรักษาได้อย่างแม่นยำ ด้วยค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ไม่สูงมากเข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย

6. AIVS 

Mimamori System ระบบโมชั่นเซนเซอร์เพื่อดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุให้บริการเซนเซอร์ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุทั้งที่อยู่ที่บ้านและโรงพยาบาล จุดเด่นอยู่ที่เซนเซอร์รับแรงกด และแรงสั่นสะเทือนของเตียงที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ และช่วยลดอุบัติเหตุจากการตกเตียง เซนเซอร์ที่ให้ส่งสัญญาณไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟมีการส่งข้อมูลให้กับกล่องรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อทำการแจ้งเตือนได้เลย

7. Xcoo (เท็นคู)

โปรแกรม AI วิเคราะห์มะเร็งจาก Genome ใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์หรือ จีโนม เพื่อวิเคราะห์ประเภทของโรคมะเร็งนำไปสู่การกำหนดแนวทางการรักษาที่แม่นยำโดยมีการทำการวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว จุดเด่นของบริษัท Xcoo คือมีการใช้ Chrovis ซึ่งเป็นโปรแกรม AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมที่มีปริมาณมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...