บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดทางให้ TIS Inc ซึ่งเป็นบริษัทไอทีแห่งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าถือหุ้น เจ เวนเจอร์ส สัดส่วน 16.67% หลังมองว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก
บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2564ประชุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (“บริษัทย่อย”) โดยบริษัทและผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นในบริษัทย่อยตกลงจะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพื่อให้นักลงทุนคือ TIS Inc (“TIS”) เข้าถือหุ้นบริษัทย่อยในสัดส่วนร้อยละ 16.67 และการเข้าลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้น (Share Subscription Agreement: SSA) และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น(Shareholder Agreement: SHA และมีมติมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีอำนาจในการกำหนดหรือแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับข้องกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว
รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง (ก) การกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการ กำหนดระยะเวลาและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (ข) การเจรจา ทำความตกลง และลงนามในเอกสารคำขอที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นใด ที่จำเป็นและสมควรเกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร
ในการดำเนินการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังกล่าว บริษัทย่อยจะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน100,000,000 บาท เป็น 120,000,000 บาท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 2,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท ในราคาหุ้นละ 92 บาท มูลค่ารวม 184 ล้านบาท เพื่อออกและเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น และบริษัทและผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นของ
บริษัทย่อยจะสละสิทธิการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว เพื่อให้ TIS สามารถเข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวน 2,000,000 หุ้น ซึ่งเท่ากับร้อยละ 16.67% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ ภายหลังจากการเพิ่มทุน บริษัทจะมีสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 66.6 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อย ซึ่งมีสิทธิออกเสียงเท่ากับร้อยละ 66.6 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทย่อย
1. บริษัทย่อยจะมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีจากผู้ถือหุ้นที่มีความเชียวชาญทางด้าน IT ระดับโลก
2. บริษัทย่อยมีกระแสดเงินสดเพิ่มจากเงินเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นใหม่
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากพันธมิตรในการเข้าร่วมลงทุนมีความเชี่ยวชาญในด้านการดำเนินงานทางไอทีระดับโลก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด