ฟังวาทะ 'มาครง' กับทิศทางวิกฤติโลก บนเวที APEC CEO Summit 2022 | Techsauce

ฟังวาทะ 'มาครง' กับทิศทางวิกฤติโลก บนเวที APEC CEO Summit 2022

เข้าสู่วันสุดท้ายของการประชุม APEC CEO Summit 2022 หนึ่งในไฮไลท์ผู้นำที่ได้ร่วมงานวันนี้คือเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่มากล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Navigating a Turbulent world โดยมาครงได้พูดหลายประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิกฤติโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พร้อมทั้งยังกล่าวเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ กลับมาเคารพกฎระเบียบระหว่างประเทศ และสนับสนุนกลไกพหุภาคีเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก

คุณมาครงกล่าวว่า การมาเยือนครั้งนี้ได้รับการเชิญโดยนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ซึ่งเขาเป็นผู้นำจากฝรั่งเศสคนแรกในรอบ 16 ปี ที่มาเยือนประเทศไทย หลังจากประธานาธิปดีฌัก ชีรักเมื่อปี 2006

โดยมาครงเปรียบ APEC เหมือนกับ EU ที่มีความเคารพในกฏสากลร่วมกัน แต่ในขณะเดียวกัน โลกก็อยู่ในช่วงแห่งความท้าทาย และเผชิญกับจุดเปลี่ยน

จุดเปลี่ยนอันเนื่องจากวิกฤต 3 ประการ

  1. สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งปะทุขึ้นต่อเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19  ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางอาหารและพลังงาน นับเป็นการรุกรานที่ละเมิดกฎระเบียบระหว่างประเทศ 
  2. การเผชิญหน้ากันของประเทศมหาอำนาจที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อระเบียบโลก การค้า และการลงทุน
  3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับโลกและผู้นำธุรกิจ ที่จะร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลง  

คุณมาครงเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและความไร้เสถียรภาพ

โดยเขาเห็นว่า เพื่อป้องกันความขัดแย้งใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างเสถียรภาพ และความสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค และเสนอว่าความสมดุลอย่างมีพลวัต (dynamic balance) คือหนทางที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์บังคับให้ต้องเลือกข้างระหว่างมหาอำนาจแต่ละฝ่าย

เขากล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤตในภูมิภาคแต่เป็นวิกฤตระดับโลก แต่เป็นการรุกรานที่ละเมิดกฎระเบียบระหว่างประเทศ นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน ผลักให้หลายประเทศตกอยู่ในภาวะที่ต้องเลือกว่าจะอยู่ข้างในขณะที่เราต้องการระเบียบโลกที่เป็นหนึ่งเดียว 

ทั้งนี้เขายังเรียกร้องให้หยุดการทำสงคราม และเคารพระเบียบสากล และกลับมาเข้าสู่โต๊ะเจรจา และทำงานร่วมกันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งสันติภาพและเสถียรภาพ  พร้อมเผยว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ฝรั่งเศสจะสนับสนุนสันติภาพให้เกิดขึ้นในยูเครน ซึ่งจะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสทำงานร่วมกับหลายประเทศ

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของเราคือการสร้างความสมดุลอย่างมีพลวัต เราแข่งขันกันและต่างปรารถนาที่จะชนะ แต่เราจะต้องเคารพอธิปไตยของกันและกัน

ทั้งนี้เขายังเสนอว่า ควรต้องมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยม ที่จะทำให้ครอบคลุมและยั่งยืน

“ความท้าทายของเราก็คือ สร้างการเติบโต ขยายการลงทุน และการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผมมั่นใจว่า ความร่วมมือกันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ทุกฝ่ายชนะ” – เอมานูว์แอล มาครง กล่าวสรุป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...