Nature วารสารวิทยาศาสตร์ระดับโลกจากประเทศอังกฤษ รายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บริษัทไบโอเมดิคัล เคียวร์แวค (CureVac) จากเมืองทูร์บิงเกน เยอรมนี เผยถึงผลการทดสอบทางคลีนิกระยะสุดท้ายของวัคซีน CureVac ที่ผลิตโดย mRNA ระบุว่า ภายหลังจากที่อาสาสมัครกว่า 40,000 ราย ได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 โดส พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้เพียง 47% เท่านั้น ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
ในเบื้องต้นก่อนผลลัพธ์จะเผยแพร่สู่สาธารณะ หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ว่า วัคซีน CureVac ที่ผลิตโดย mRNA นั้นจะมีราคาที่เข้าถึงได้และเก็บรักษาในตู้เก็บความเย็นได้นานกว่าวัคซีนที่ผลิตโดย mRNA อย่าง Pfizer และ Moderna อีกทั้งหลายส่วนก็มองว่า CureVac จะเป็นวัคซีนทางเลือกให้กับประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ หลายประเทศในยุโรปเองก็หวังว่าจะสั่งซื้อวัคซีนตัวนี้จำนวนหลายร้อยล้านโดสเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดแล้ววัคซีน CureVac ไม่ประสบผลสำเร็จในการป้องกันไวรัสโควิด-19
ทางเจ้าหน้าที่ของ CureVac ได้ให้เหตุผลว่า ตนทำการทดสอบวัคซีน mRNA กับไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วส่วนใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงไวรัสสายพันธุ์ Lambda ที่ค้นพบในเปรู ที่ขณะนี้กำลังแพร่ระบาดใน 10 ประเทศทั่วยุโรปและอเมริกาใต้ ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่เข้าตามเกณฑ์ที่วางไว้ แต่ถึงกระนั้นเอง คำกล่าวของเจ้าหน้าที่ของ CureVac กลับไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ผลิตจาก mRNA เช่นเดียวกัน แต่กลับสามารถป้องกันอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสอัลฟ่า จากสหราชอาณาจักรได้ 92% และป้องกันอาการที่เกิดขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้าได้ถึง 83% ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์รายอื่นจึงมองว่าอุปสรรคจากไวรัสกลายพันธุ์อาจไม่มีน้ำหนักมากพอ และมองว่าปัญหาอยู่ที่การผลิตวัคซีนมากกว่า
อ้างอิง Nature
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด