ท่ามกลางการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของสิงคโปร์และฮ่องกง ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ของเอเชีย เป็นที่ทราบกันดีว่า Fintech เป็นภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกฏระเบียบภาครัฐมากที่สุด โดยเฉพาะบาง segment ที่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะทำได้เลย สิงคโปร์ดูเหมือนจะซื้อใจ startup ไปได้ดีกว่าฮ่องกงในแง่กฎระเบียบ ช่วง 2 ปีหลังมานี้ เราได้เห็น Fintech startup ไปจัดตั้งที่สิงคโปร์ เยอะขึ้นเป็นดอกเห็ด
แถมปีนี้มีกิจกรรมใหญ่ Fintech Festival ที่ Singapore ฟาก Monetary Authority of Singapore (MAS) หรือธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ เชิญชวน Fintech ทั่วโลกมาร่วมแก้ปัญหาในภาคธุรกิจนี้ภายใต้ชื่อ 100 "problem statements" กับงาน Global FinTech Hackcelerator
ซึ่งปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาเกิดจาก crowd sourced คือคนช่วยกันยกประเด็นขึ้นมา หลายกลุ่ม อันได้แก่
รายละเอียดแต่ละปัญหามีการทำออกมาเป็น infographic อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น
ดู Infographic สำหรับ 100 problem statements ทั้งหมดได้ที่นี่ ปัญหาไหนที่ตรงกับบ้านเรา เผื่อมีคนอยากกำลังแก้บ้าง :)
หลายปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่อง local อาทิเช่น กลุ่ม payment อยากได้ cashless school system ที่มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนตั้งแต่การเดินทางด้วยรถโรงเรียนไปจนถึงห้องเรียน
แม้อาจจะดูเป็นหนึ่งในแผนประชาสัมพันธ์ครั้งใหญ่ให้ประเทศ แต่อีกมุมก็เป็นโครงการที่เอาคนแก้ปัญหา มาเจอกับปัญหาจริงไปด้วย
นาทีนี้บ้านเราคงยังไม่ถึงเวลาที่จะไปแข่งกับเพื่อนบ้าน ไปทำประชาสัมพันธ์อะไรแบบนั้น แต่สิ่งสำคัญคือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและจะร่วมกันผลักดันแก้ปัญหาอย่างไร
อย่างไรก็ดี เร็วๆ นี้จะได้เห็นความเคลื่อนไหวสำคัญในบ้านเรา อันเกิดจากภาคเอกชนที่รวมตัวกันเปิด "ชมรม Fintech" เพื่อช่วยผลักดันให้ ecosystem แข็งแกร่งขึ้น และทำงานร่วมกับภาครัฐได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย รอดูความเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพราะแกนนำคนสำคัญคือ อดีต รมต.คลัง คุณกรณ์ จาติกวณิช นั่นเอง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด