ด้านสำนักข่าว Techcrunch รายงานว่า Meta กำลังจัดตั้งทีมใหม่ภายในแผนก Reality Labs ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านฮาร์ดแวร์ของบริษัท โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา Meta หุ่นยนต์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สามารถช่วยทำงานทางกายภาพ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน ตามรายงานของ Bloomberg
ทีมใหม่นี้จะนำโดย Marc Whitten อดีตซีอีโอของ Cruise สตาร์ทอัปด้านรถยนต์ไร้คนขับ และยังเคยทำงานกับบริษัทใหญ่อย่าง Amazon, Microsoft และ Sonos มาก่อน โดยนอกจากฮาร์ดแวร์หุ่นยนต์แล้ว ทีมนี้ยังมุ่งพัฒนาซอฟต์แวร์และ AI สำหรับหุ่นยนต์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Meta ยังไม่มีแผนเปิดตัวหุ่นยนต์ที่ใช้แบรนด์ของตัวเองในตอนนี้ แต่ผู้บริหารของบริษัท เช่น Andrew Bosworth (CTO ของ Meta) มองว่า Meta มีโอกาสสร้าง พื้นฐานฮาร์ดแวร์สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เหมือนที่ Google เคยประสบความสำเร็จในการพัฒนา Android สำหรับสมาร์ทโฟน
รายงานยังระบุว่า Meta กำลังเจรจากับบริษัทด้านหุ่นยนต์ เช่น Unitree Robotics และ Figure AI เพื่อร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบ Meta หุ่นยนต์ ในอนาคต
การเข้าสู่ตลาด หุ่นยนต์ AI ของ Meta ครั้งนี้ อาจเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมต่อ AI Robotics เข้ากับชีวิตประจำวันมากขึ้น และอาจนำไปสู่การแข่งขันที่เข้มข้นในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระดับโลก
ก่อนหน้านี้ Meta ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ PARTNR ซึ่งเป็นโปรแกรมวิจัยใหม่ที่มุ่งศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (HRI – Human-Robot Interaction) โดยเน้นไปที่การทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น การทำความสะอาด การทำอาหาร และการรับ-ส่งอาหาร
ด้าน Meta จึงมองว่า ทางออกที่แท้จริงของหุ่นยนต์บ้านไม่ใช่การให้มันทำทุกอย่างเอง แต่ให้มันทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Meta กำลังพยายามทำให้มันเป็นจริงผ่านโครงการ PARTNR ซึ่งเป็นโปรแกรมวิจัยเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่าง หุ่นยนต์และมนุษย์ในบ้าน
โครงการ PARTNR ของ Meta จะทำหน้าที่เป็น เกณฑ์วัดมาตรฐาน (Benchmark) และชุดข้อมูล (Dataset) สำหรับศึกษาว่ามนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันอย่างไร
โดย Meta ใช้ การจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อช่วยทดสอบแนวคิดได้รวดเร็วขึ้น แทนที่จะต้องทดลองจริงในโลกจริงที่ใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม PARTNR ยังถูกนำไปใช้ทดลองในหุ่นยนต์จริงด้วย เช่น Spot ของ Boston Dynamics ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สี่ขาที่สามารถเดินสำรวจพื้นที่และทำภารกิจบางอย่างได้
และที่น่าสนใจมากๆ คือ Meta ยังพัฒนา อินเทอร์เฟซ Mixed Reality เพื่อแสดงกระบวนการคิดของหุ่นยนต์ให้มนุษย์เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะปกติแล้ว หุ่นยนต์ตัดสินใจเองว่าควรทำอะไร เช่น จะหยิบของตรงไหน จะเลี่ยงสิ่งกีดขวางยังไง แต่คนทั่วไป มองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจว่าหุ่นยนต์กำลังใช้เหตุผลอะไรในการทำแบบนั้น
พูดง่ายๆ ก็คือ Meta สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจว่าหุ่นยนต์คิดยังไง เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราอาจจะยังไม่เข้าใกล้หุ่นยนต์ช่วยงานบ้านในอุดมคติขนาดนั้น แต่หุ่นยนต์ที่มีอยู่ในตอนนี้ก็เข้าข่ายมากๆ แล้ว เช่น Labrador Robot – รถเข็นอัจฉริยะที่ช่วยผู้สูงอายุหยิบของ, Humanoid Robots – หุ่นยนต์เดินสองขาแบบมนุษย์ที่อาจทำงานบ้านได้ในอนาคต
อ้างอิง: techcrunch
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด