Microsoft ประกาศ ปีแห่งการเดินหน้า (Empowerment) ผลักดันคนไทยอัดแน่นสกิลเทคโนโลยี รับมือกับยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบในอนาคต | Techsauce

Microsoft ประกาศ ปีแห่งการเดินหน้า (Empowerment) ผลักดันคนไทยอัดแน่นสกิลเทคโนโลยี รับมือกับยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบในอนาคต

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ ได้วางเป้าหมายให้รอบปีข้างหน้า ซึ่งเป็นปีที่ 4 ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ให้เป็น “ปีแห่งการเดินหน้า” เพื่อร่วมสร้างหนทางใหม่ๆ ให้คนไทย องค์กรไทย และสังคมไทยได้เดินหน้ากันต่อไปจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคของการใช้ชีวิตและทำงานในแบบรีโมท ที่แทบทุกอย่างต้องมีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยได้มุ่งเน้นในด้านหลักต่างๆ ดังนี้

Microsoft Year Empowerment 2022

สร้างมาตรฐานใหม่

ไมโครซอฟท์ได้ร่วมงานกับหลายภาคส่วนในประเทศไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานทางเทคโนโลยีสำหรับปัจจุบันและอนาคต ให้ทุกภาคส่วนได้เดินหน้าและเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง

Microsoft Security

  • Microsoft Teams และ Microsoft 365 ได้ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบควบคุมการประชุม โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ไปเมื่อปีที่ผ่านมา จึงรองรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องทั่วไปหรือเรื่องลับขององค์กร
  • ไมโครซอฟท์มีผลิตภัณฑ์ บริการ และมาตรการสนับสนุนครบครันสำหรับองค์กรไทยที่ต้องการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยเฉพาะกับการรองรับมาตรฐานใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย แม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีการเลื่อนบังคับใช้เต็มรูปแบบออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ก็ตาม
  • สำหรับการประยุกต์ใช้ AI ไมโครซอฟท์ก็ได้ร่วมมือกับนักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐในการให้คำปรึกษาเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์กับคนไทยอย่างแท้จริง จนเกิดเป็นแผนงาน Responsible AI Framework ที่ทางคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับรองเพื่อนำไปบังคับใช้ไปในปีนี้

สร้างทักษะใหม่

Microsoft Educationไมโครซอฟท์มีเป้าหมายที่จะสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยเกินกว่า 10 ล้านคนในทุกระดับ นับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงคณาจารย์และคนทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ

  • ในรอบปีที่ผ่านมา ความร่วมมือของบริษัทกับกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อให้เกิดการกระจายความรู้และทักษะเชิงดิจิทัลผ่านเครือข่ายบุคลากรครู 470,000 คน ซึ่งครอบคลุมนักเรียนกว่า 6,650,000 คน พร้อมด้วยนักเรียนอาชีวะอีก 1,000,000 คนทั่วประเทศไทย รวมเป็นกว่า 8,120,000 คน
  • อีกหนึ่งความร่วมมือกับทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ทำให้หลักสูตรด้านทักษะของไมโครซอฟท์จาก LinkedIn Learning และ Microsoft Learn for Educators ถูกผสานเข้ากับแผนการสอนในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครอบคลุมนักศึกษาและคณาจารย์รวมถึง 2,300,000 คน
  • ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน ช่วยให้แรงงานไทยกว่า 4 ล้านคนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนการสอนด้านทักษะดิจิทัลในหลายระดับ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • ไมโครซอฟท์เองได้เปิดหลักสูตรการสอนทักษะคลาวด์ ทั้ง Azure Cloud, Azure Data & AI และ Power BI พร้อมด้วยการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองทักษะสำหรับการทำงานต่อไป โดยปัจจุบันมีคนทำงานสายไอทีเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรดังกล่าวแล้วกว่า 30,000 คน
  • ไมโครซอฟท์ยังคงเปิดให้คนทำงานสายไอทีเข้ามาเรียนรู้และวัดระดับทักษะของตัวเองผ่านการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองทักษะในด้านต่างๆ โดยจากเดิมที่เปิดสอบในประเทศไทยอยู่แล้วใน 4 หลักสูตร จะเพิ่มมาอีกหนึ่งหลักสูตรในเดือนตุลาคมนี้ ได้แก่:
    • AZ-900 (Azure Fundamentals)
    • AI-900 (Azure AI Fundamentals)
    • DP-900 (Azure Data Fundamentals)
    • PL-900 (Power Platform Fundamentals)
    • และล่าสุด SC-900 (Security, Compliance, and Identity Fundamentals)

โดยขณะเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังจะนำโครงการ Enterprise Skills Initiative (ESI) เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยในปีนี้ เพื่อมุ่งยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีเชิงลึกของบุคลากรในองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย

8 วิถีใหม่ที่ขับเคลื่อนการสรรสร้างนวัตกรรม จากมุมมองของไมโครซอฟท์:

Microsoft Innovation

  1. Anywhere, Everywhere: การที่เราจะทำอะไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การเล่น การติดต่อสื่อสาร หรือการใช้ชีวิต
  2. Digital First World: การที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล ทำให้ระบบทุกอย่างจะถูกออกแบบมาเพื่อการนี้ รวมไปถึงโมเดลธุรกิจที่ต้องมีดิจิทัลเป็นหัวใจ
  3. Cloud Economy: การมาอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์
  4. New Gen of Business & Intelligence: ก้าวต่อไปของการยกระดับธุรกิจด้วยข้อมูล
  5. Strategic Economy Partnership: สร้างความร่วมมือด้วยจุดมุ่งหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน มุ่งสู่ความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
  6. Citizen Developers: พลเมืองนักพัฒนา เมื่อทุกคนสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนางานของตัวเองได้
  7. Economy of Trust: เมื่อความไว้วางใจต้องมาก่อน เป็นรากฐานในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ไปด้วยกัน
  8. Sustainable Development Goal: ตั้งเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

ในปีนี้ ไมโครซอฟท์จะมีผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ มากมายเข้ามาตอบสนองต่อความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ให้สอดรับกับทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

  • ผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม Power Platform ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการจุดประกายให้คนทำงานนอกสายไอทีโดยตรง ผันตัวเองมาเป็นนักพัฒนาประเภท “Citizen Developers” ได้ลงมือสร้างสรรค์เครื่องมือหรือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเองให้ตอบโจทย์กับเนื้องานที่ทำอยู่
  • บริการใหม่ Windows 365 มอบประสบการณ์ Windows ที่คุ้นเคยแบบส่งตรงจากคลาวด์ ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอป ข้อมูล คอนเทนต์ และการตั้งค่าทุกอย่างของเครื่องพีซีในองค์กรได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้ จึงทำให้สามารถทำงานได้จากทุกที่อย่างมั่นใจ และที่สำคัญคือมีเครื่องมือพร้อมความปลอดภัยครบครันครอบคลุมทุกดีไวซ์ 
  • ส่วนแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure ก็มีโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เฉพาะตัวของแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งในด้านของการทำงานและการตอบรับกับมาตรฐานต่างๆในแต่ละอุตสาหกรรม โดยมีทั้งคลาวด์ อาซัวร์เพื่อสถาบันการเงิน เพื่อการแพทย์ เพื่อภาคการผลิต เพื่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเพื่อกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะ

สร้างการเติบโต

Microsoft Growthไมโครซอฟท์ยังคงทำงานกับเครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวาง ครอบคลุมทุกภาคส่วนและหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างทั่วถึง

สำหรับอุตสาหกรรมไอทีไทยในปีนี้ คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นราว 4.9% ขณะที่การใช้จ่ายกับบริการคลาวด์สาธารณะ (public cloud) มีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นถึง 31.7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 23.1%

สำหรับไมโครซอฟท์เอง เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม Power Platform, Intelligent Endpoint, Data & AI, Microsoft Teams, Azure, Dynamics และโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย มีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุด

สร้างความมั่นใจ

Microsoft Cyber Security

การเป็นแพลตฟอร์มที่ไว้ใจได้ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการของไมโครซอฟท์ ด้วยหลักการพื้นฐานที่ครอบคลุมทั้งการปกป้องทุกภาคส่วนจากภัยไซเบอร์ การรองรับมาตรฐานทั้งในเชิงกฎหมายและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และการเสริมสร้างความมั่นใจในเทคโนโลยีให้องค์กรเลือกใช้งานได้โดยไม่กังวล

ปัจจุบัน 5 โซลูชั่นด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ “Leader” หรือผู้นำตลาด ในรายงาน Gartner Magic Quadrant ในหลายมิติด้วยกัน

สร้างความยั่งยืน

Microsoft Cloud for Sustainablity

เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Cloud for Sustainability กลุ่มโซลูชั่นคลาวด์ใหม่ล่าสุดที่มุ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ผ่านทางการติดตามข้อมูล ทำรายงานสรุป และวัดประสิทธิภาพการทำงานในด้านการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้องค์กรที่ใช้งานสามารถรับรู้ รายงาน ลด และชดเชยการปล่อยมลภาวะของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

ในระดับโลก ไมโครซอฟท์มี 4 เป้าหมายหลักด้านความยั่งยืน ได้แก่

  • มุ่งสู่สถานะ “Carbon Negative” (กำจัดมลภาวะคาร์บอนมากกว่าได้มากกว่าปริมาณที่ปล่อยออกสู่ภายนอก) ภายในปี 2030
  • มุ่งสู่สถานะ “Water Positive” (คืนน้ำสะอาดสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าที่นำมาใช้) ภายในปี 2030
  • มุ่งสู่สถานะ “Zero Waste” (ลดขยะให้เป็นศูนย์) ภายในปี 2030
  • พัฒนาระบบ “Planetary Computer” ด้วยคลาวด์ที่รวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก พร้อมให้นักวิจัยด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ค้นหาคำตอบของปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...