เตรียมบอกลาการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน! รัฐและเอกชนเร่งพัฒนา Digital ID ระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ | Techsauce

เตรียมบอกลาการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน! รัฐและเอกชนเร่งพัฒนา Digital ID ระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์

เชื่อว่าทุกคนเคยเจอปัญหาเวลาที่จะต้องสมัครใช้บริการจากภาครัฐหรือเอกชน เมื่อเวลาที่ต้องยืนยันตัวตน มักจะต้องกรอกเลข 13 หลักบนบัตรประชาชน และถ่ายเอกสาร เซ็นสำเนาถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่ามีความยุ่งยากและตรวจสอบได้ยาก ขณะนี้ ถึงเวลาแล้ว สำหรับ National Digital ID หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบริการของรัฐและเอกชน ที่หลายฝ่ายมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นภายในปีหน้า

นายเกียรติชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมด้วย นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูลและ ผู้แทนสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าว การจัดสัมมนา National Digital ID Infrastructure ในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 – 17.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องแนวทาง ในการพัฒนาโครงสร้างนี้

โดย ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูล ได้อธิบายความหมายของ Digital ID ว่าคือ กระบวนการโครงสร้างที่ทำให้รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นบุคคลตัวจริง คือสามารถยืนยันตัวตนได้อย่างชัดเจน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือรู้จักผู้ใช้มาก่อนเลย อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญได้ โดยข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานที่ลงทะเบียนไว้จะต้องเป็นข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการแอบอ้าง และการฉ้อโกงทางออนไลน์

ทั้งนี้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบพิสูจน์ตัวตนอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในการเชื่อมต่อระบบของตัวเองเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศขึ้น

Photo: กระทรวงการคลัง

ดร. อนุชิต ยกตัวอย่างแนวคิดพื้นฐานของระบบ Digital ID นี้ไว้ว่า

เมื่อผู้ใช้ติดต่อเพื่อเข้าใช้บริการของ Relying Party หรือผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น ธนาคาร ที่ยังไม่เคยใช้บริการมาก่อน ผู้ให้บริการนั้นจะสามารถขอยืนยันตัวตนผู้ใช้จากผู้ให้บริการเจ้าเก่าที่เคยมีข้อมูลอยู่แล้ว โดยเจ้าเก่าสามารถเป็นผู้พิสูจน์ตัวตน หรือ Identity Provider เพื่อยืนยันให้กับเจ้าใหม่ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันและส่งต่อข้อมูลให้ได้

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดแบบ cross channel (เช่นการยืนยันผ่านมือถือ) หรือ แบบ Cross Off-line channel เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยมีข้อมูลบนดิจิทัลสามารถไปยืนยันตัวตนแบบออฟไลน์ก่อนในครั้งแรกได้ด้วย

ทั้งนี้ โครงสร้างพื้นฐานข้างต้นนี้ ยังไม่ได้กำหนดแน่ชัดว่าจะต้องใช้ “วิธีการ” ใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงสัมมนา National Digital ID Infrastructure ที่จะจัดขึ้นนี้ จะเป็นเวทีในการระดมความเห็น เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและกระบวนการทำธุรกรรมในปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคตได้

การสัมมนาจะประกอบด้วย การนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานของระบบ การเสวนา (Panel Discussion) ซึ่งจะแบ่งเป็นด้านเทคนิคและด้านกฎหมายและระเบียบปฎิบัติ ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ Facebook.com/nationaldigitalid ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 บ่ายโมงเป็นต้นไป

การพัฒนา Digital ID เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำ National E-payment เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ Digital Economy ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มให้บริการระบบ National Digital ID ได้ภายในปีหน้า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...