อลังการงานสร้างสำหรับ Techsauce Global Summit 2023 อีเวนต์ระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นโดยคนไทยและมีผู้เข้าร่วมงานล้นหลามจากกว่า 50 ประเทศ โดยในบทความนี้ ทีมเทคซอสขอนำความร่วมมือด้าน Digital Gateway จากการเสวนาในหัวข้อ Pathway to the Digital Gateway: Pioneering Changes and Creating Opportunities มาสรุปให้อ่านกัน เพราะเป็นประตูบานใหญ่ที่สามารถพลิกโฉมประเทศไทยได้
การเซ็น MOU เพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล เส้นทางสู่ Digital Gateway ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนสิ่งต่างๆ และสร้างโอกาสให้เกิดขึ้น จากการเสวนาในหัวข้อ Pathway to the Digital Gateway: Pioneering Changes and Creating Opportunities โดยมี 4 ผู้ร่วมวงเสวนา และมีทีม Techsauce Global เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ได้แก่
ในฐานะที่ Techsauce เป็น Tech Ecosystem Builder จึงต้องการเชิญทุกฝ่ายมาร่วมกันทำให้ระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยแข็งแกร่ง แต่ต้องร่วมกันพัฒนาประเทศก่อนด้วยการ 'ส่งเสริมการลงทุน' โดยเริ่มจากหันกลับมามองว่า อะไรคือจุดแข็งประเทศไทย ต้องผลักดันทรัพยากรด้านไหน ซึ่งจากที่เห็นในงาน จะเห็นว่าเรามีความโดดเด่นด้าน Smart Living Solutions ทำได้ด้วยเทคโนโลยี IoT ที่องค์กรไทยมี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจในไทยยังเพิ่มมูลค่า (Value) ให้ตัวผลิตภัณฑ์ (Product) ได้ นอกเหนือจากนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างคุณค่า เช่น IoT, Sensors โดยผสมผสานความ Creative ของตัว product อย่างเช่น ให้ดีไซเนอร์ไทย ครีเอเตอร์ไทย มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดูน่าสนใจและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้มากขึ้น
แต่ประเด็นสำคัญที่ยังส่งเสริมและร่วมมือน้อย อย่างศักยภาพของ 'สตาร์ทอัพ' มีไอเดีย มีความยืดหยุ่น ขณะที่ 'องค์กรขนาดใหญ่' มีตลาด มีทรัพยากรในการสนับสนุนและพาสตาร์ทอัพเติบโตไปสู่ระดับโลกได้ ดังนั้น สตาร์ทอัพและองค์กรขนาดใหญ่สามารถทำงานและเติบโตร่วมกันได้ และ Techsauce ยังมีโครงการ Thailand Accelerator ที่จะมาร่วมผลักดันระบบนิเวศนี้ด้วย
"เราอยากเห็นไทยขึ้น Top 3 ของประเทศที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีของภูมิภาค SEA และช่วยทรานสฟอร์มธุรกิจขนาดเล็กให้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ โดยองค์กรขนาดใหญ่อาจเข้าไปสนับสนุนการลงทุน ให้โอกาส และเชื่อใจในสตาร์ทอัพ ขณะเดียวกัน องค์กรและภาครัฐก็ดึงดูด Tech Talents ดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ และร่วมพัฒนาทักษะความสามารถของคนไทย ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อใน Tech Talents ของเราได้สำเร็จ"
กล่าวถึงศักยภาพของประเทศไทยใน SEA กับการทำตลาดในประเทศ โดยเปรียบเทียบไทยกับอินโดนีเซีย ว่าขนาดตลาดเราเล็กกว่าเนื่องจากมีประชากร 70 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าอินโดนีเซียที่มีอยู่ 100 ล้านคน หรือหากเทียบกับสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ แต่กลายเป็นศูนย์กลางด้านการเงินในภูมิภาคเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีได้ด้วยการทำให้เป็น Digital Gateway ที่ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมยุทธศาสตร์ Outbound เพื่อไปบุกตลาดโลกได้ เพราะไทยเป็นประเทศที่เรียกได้ว่า Nice Country, Nice Food, Nice Hospitality มีสิ่งอำนวยความสะดวก มี Incentive จากภาครัฐ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ มีแรงดึงดูดหลายข้อ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีบางอย่างที่ไม่เพียงพอ
โควิดเปลี่ยนทุกอย่าง Digital Gateway นี่จะเป็นแพลตฟอร์มที่พาบริษัทไทยไปบุกตลาดโลก และเราต้องทำให้ไทยเป็น 'Maker Country' หรือ ประเทศผู้ผลิตเทคโนโลยี รวมทั้งมีความภาคภูมิใจที่จะส่งแบรนด์ไทยไปบุกตลาดโลก"
กล่าวย้อนไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยหลายปีมาแล้ว จนถึงการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกำหนดให้มีการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) กลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (New S-Curve)
“การขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเก่าไม่สามารถช่วยให้ประเทศดีขึ้นได้ แต่ดิจิทัลช่วยได้ เราจึงต้องคิดเกี่ยวกับ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ และต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้”
ในขณะที่สตาร์ทอัพสิงคโปร์ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหลากหลายด้าน มีเทคโนโลยีขั้นสูง และเติบโตเป็นองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งที่เป็นประเทศเล็กๆ แต่ประสบความสำเร็จและโดดเด่นในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ต่างจากประเทศไทยที่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงคาดหวังให้องค์กรขนาดใหญ่ร่วมเป็นเกตเวย์ในการการลงทุน สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพร่วมกับการ พัฒนาทักษะดิจิทัลให้คนไทย แต่ที่สำคัญที่สุด คุณจรีพรกล่าวว่า
เราต้องทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลดิจิทัลก่อน มิฉะนั้น จะเป็นอุปสรรคของการทำทุกอย่าง เพราะรัฐบาลยังคิดแบบเก่า ดังนั้น ฝากรัฐบาลชุดต่อไป ช่วยคิดและสร้างความหวังให้ประเทศ
กล่าวถึงการดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศว่า BOI ร่วมลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และช่วยเพิ่มการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างทั่วถึง (Inclusive Growth) โดยเน้นการพัฒนา 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
อุตสาหกรรมหมุนเวียน (BCG : Bio-Circular-Green Economy)
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมดิจิทัล
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
รัฐบาลไทยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น Digital Gateway ของภูมิภาค SEA และเป็นศูนย์กลางธุรกิจของอาเซียน โดยมี BOI เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริมการลงทุน ด้วยการออกมาตรการเพื่อจูงใจผู้ลงทุน เช่น การงดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) ให้แก่องค์กรที่มีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงองค์กรที่เข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์ (Data Center and cloud service) เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล ตัวอย่างที่ BOI ดึงดูดการลงทุนจากผู้เล่นระดับโลกมาได้สำเร็จ อาทิ NTT GDC, STT GDC, Huawei Cloud, Alibaba Cloud และล่าสุด AWS ที่ประกาศการเข้ามาลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย ด้วยงบมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 15 ปี
BOI ยังมีเป้าหมายด้าน การสนับสนุนธุรกิจดิจิทัล เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม การสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล เช่นร่วมสนับสนุน ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ, ศูนย์กลางด้านนวัตกรรม, FabLab หรือพื้นที่สร้างสรรค์ชิ้นงานสำหรับนักคิด นักประดิษฐ์ และการจัดตั้งศูนย์ฝึกด้านดิจิทัล (Academy) เช่นที่มีการหัวเว่ยเข้ามาตั้ง Huawei Academy เพื่อเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย
สำหรับ BOI เราสร้างและดึงดูด Tech Talents ด้วยการ Build & Buy โดย Build คือ สร้างคน ส่งเสริมการฝึกพนักงาน ส่งเสริมการทำงานและเรียนไปด้วย ส่งเสริมการทำศูนย์วิชาการสำหรับการจ้างงาน และการฝึกทักษะโดยเฉพาะ ส่วน Buy คือ ลงทุนโดยดึง Global Talents เข้ามาพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว ด้วยการออกวีซ่าให้ 10 ปี เพื่อดึงดูด Remote Worker, Highly Skill Worker ลดจำนวนครั้งที่ต้องไปรายงานตัวให้เหลือเพียงปีละ 2 ครั้ง ฯลฯ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิด Talents Pool ในประเทศไทย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด