foodpanda เปิดตัว เปาเปา (Pau-Pau) แบรนด์แอมบาสเดอร์รายใหม่ หวังสร้าง Brand Love | Techsauce

foodpanda เปิดตัว เปาเปา (Pau-Pau) แบรนด์แอมบาสเดอร์รายใหม่ หวังสร้าง Brand Love

foodpanda ผู้นำแพลตฟอร์มดิลิเวอรี่แบบออน-ดีมานด์ (on-demand delivery platform) เปิดตัว “Pau-Pau” แบรนด์แอมบาสเดอร์ใหม่ล่าสุดของ foodpanda พร้อมให้ผู้บริโภคได้กระทบไหล่กับน้องเปาเปา ขณะเดียวกันเตรียมรุกตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในประเทศไทยและทั่วเอเชียแปซิฟิกด้วยกลยุทธ์ใหม่

foodpanda เปิดตัว เปาเปา (Pau-Pau) แบรนด์แอมบาสเดอร์รายใหม่ หวังสร้าง Brand Love

ทำความรู้จัก 'เปาเปา' 

- “เปาเปา” มาพร้อมคาแรคเตอร์ที่น่ารัก สดใส สบายๆ พร้อมส่งต่อความสนุก ขี้เล่น และเอาใจใส่ เตรียมเอาใจสายกินทั่วประเทศ ทั้งยังพกดีกรีการเป็นกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารที่อร่อยเด็ด เตรียมเดินหน้าเขย่าวงการฟู้ดเดลิเวอรี่อย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเป็นสากลของฟู้ดแพนด้า รวมทั้งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

- เป้าหมายของการเปิดตัวเปาเปา เป็นที่มาจากการต้องการสร้างคาแรคเตอร์ที่สอดคล้องวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อไปอยู่ในทุกแคมเปญ และเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยจะแตกต่างกับแบรนด์อื่นๆ ที่ใช้ Celebrity เนื่องจากมองว่าการที่แบรนด์สร้างเปาเปาขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทน และมีชีวิต มีคาแรคเตอร์ที่เข้าถึงได้ง่าย สร้างความผูกพันธ์กับคอมมูนิตี้ เพื่อผลักดันแบรนด์ให้ก้าวไปสู่ การเป็น Brand Love ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง

- เปาเปา จะอยู่กับแบรนด์ได้ในระยะยาว โดยที่ไม่หยุดสัญญา ไม่ติดภาพลักษณ์แบรนด์อื่น  ข้อดีคือ มีในเรื่องของความยืดหยุ่นยุคดิจิทัล และทำกลยุทธ์ที่เป็นระยะยาวมากขึ้นแทนบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ถึงแม้ว่าจะมีเปาเปาแต่ก็ยังคงใช้อินฟลูเอนเซอร์ด้วยอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการผสมผสาน และเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างลงตัว

- สำหรับการโปรโมทมีกลยุทธ์ให้เข้าถึงผู้คนในวงกว้าง โดยวิธีการมีแผนที่จะโปรโมททั่วประเทศไทย และเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค จะเน้นสร้างการรับรู้แต่ด้วยในช่วงต้นจะเน้นทางออนไลน์ทั้งโซเชียลมีเดียต่างๆ อาทิ TikTok ส่วนพื้นที่จะเป็น Digital billbord ผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลาย

- เปาเปาจะพูดภาษาแพนด้า (Pandanese) เป็นภาษาหลัก ซึ่งภาษาที่ใหม่และแตกต่าง แต่ก็มีความสามารถพิเศษ คือ เข้าใจภาษาความอร่อยและของใช้สากลอย่างคำว่า “พิซซ่า”, “พาสต้า”, “ชานมไข่มุก” และ “แชมพู” ได้เป็นอย่างดี

- น้องเปาเปา เป็นผลงานครีเอทีพของดีไซน์เนอร์ทั่วเอเชียที่ช่วยกันวิจัยและลงรายละเอียดเชิงลึก เพื่อให้เหมาะกับความสดใส รวมทั้งได้วางสตอรี่ให้มาจากโลกแห่งจินตนาการเพื่อแสดงออกถึงความน่ารักสดใสและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน 

- ส่วนการเป็นสีชมพู เนื่องจากเป็นสีประจำแบรนด์ และน้องเปาเปาเป็นผู้ชาย แต่ในอนาคตอาจจะมีเพื่อนอื่นๆมาร่วมอีก

- พัฒนาเปาเปาไปสู่ขั้นระบบโต้ตอบที่เรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าด้วย AI หรือไม่นั้น อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาสู่ Metaverse เพิ่มขึ้นในอนาคต และการสั่งอาหารและเดลิเวอรี่อาจจะมีการพัฒนาสู่ระบบ AI 

อัดฉีดทุนซัพพอร์ตตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ไทย 

- สำหรับภาพรวมมูลค่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ทั่วโลกอยู่ที่ 100 billion USD 

- ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยในปีที่ผ่านมาเปลี่ยนไปอย่างมาก การใช้ฟู้ดเดลิเวอรี่พุ่งสูงขึ้น และที่เพิ่มขึ้นมาคือการจ่ายตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งเห็นฟีดแบ็กที่ดีทั้งการสั่งอาหารออนไลน์ และช้อปปิ้งออนไลน์ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดค่อนข้างเหมือนกัน 

- ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยปี 2021 ที่ผ่านมาเติบโตไม่สูงเท่ากับปี 2020 สำหรับการประเมินภาพการแข่งขันธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ปี 2022  โอกาสการเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ปีนี้มีผู้เล่น 5-6 ราย และเชื่อว่าการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ในระยะสั้นอาจจะมีผู้เล่นเข้ามาใหม่เพิ่มขึ้น แต่ระยะยาวมองว่าอาจจะมีผู้ที่ถอยออกไปจากสนามนี้

- ผู้เล่นในไทยในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เยอะมากที่สุดในอาเซียน และมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมุมบวกกับคู่แข่งจะเป็นการส่งผลที่ดีในการผลักดัน และมุมของลูกค้าจะได้โปรโมชั่น แคมเปญ และการบริการที่ดีขึ้น

- ปัจจุบันมีแอคทีพไรเดอร์ 120,000 ราย และสร้างรายได้เป็นอย่างมาก ส่วนการเพิ่มจำนวนจะต้องสอดคล้องกับดีมานด์ที่มีในตลาด เพราะหาก Users เพิ่มขึ้น การสั่งอาหารเพิ่มขึ้น จำนวนไรเดอร์ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

- กลยุทธ์ที่จะทำให้ทั้งไรเดอร์และผู้บริโภคอยู่กับฟู้ดแพนด้า คือ การมอบตัวเลือกให้กับลูกค้า คือในส่วนของร้านอาหาร และเมื่อมีตัวเลือกที่ดี การบริการที่ดี และค่าส่งที่ดีจะได้เซกเมนต์ลูกค้ามากขึ้น และกว้างขึ้น จึงจะมาพร้อมกับไรเดอรที่มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น foodpanda จึงต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาเซอร์วิสต่างๆ และนำ Use case มาพัฒนาด้วยเช่นกัน

- จากกรณี Delivery Hero บริษัทแม่ของ foodpanda ได้มีการประกาศลดขนาดการดำเนินงานของ foodpanda ในเยอรมนีเนื่องจากยากในการหาไรเดอร์ และขายกิจการในญี่ปุ่น เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลนแรงงาน เพราะการไปถึงใจของผู้คนยาก ดังนั้นหากมีเงินลงทุนจะเพิ่มการลงทุน Innovation Hub ในเยอรมันเพิ่มขึ้น

- และในปี 2022 จะอัดฉีดเพิ่มเติมเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในประเทศไทยเป็นตลาดที่เติบโตสูง รวมทั้งจะรุกด้านเซอร์วิสต่างๆเพิ่มมากขึ้น

- สำหรับที่ผ่านมา Delivery Hero ได้ให้บริการในกว่า 50 ประเทศ สำหรับประเทศไทย foodpanda มีร้านอาหารที่แอคทีฟบนแพลตฟอร์มมากกว่า 140,000 กว่าแห่งทั่ว 77 จังหวัด เเละมีจำนวนไรเดอร์มากกว่าเเสนราย 

- อย่างไรก็ตามในช่วงกลางปี 2021 ที่ผ่านมามีกระเเสทางการเมืองเกี่ยวกับ foodpanda  ซึ่งตรงจุดนี้นับเป็นเวลาที่ท้าทายอย่างมากในปี 2021 ที่ผ่านมามีการสะท้อนถึงเหตุการณ์และเรียนรู้ พร้อมกับพัฒนาต่อและหันมาโฟกัสในวิชชั่นคือ การซัพพอร์ตชุมชน ท้องถิ่น และคนไทย เพราะเป็นบริษัทเพื่อช่วยให้คนไทยมีประสบการณ์ที่ดีขึ้นผ่านการบริการ และทำให้หลายๆบริการสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นจึงตั้งใจให้เปาเปาเป็นส่วนช่วยกู้วิกฤติและตอบโจทย์ Generation X  และ Z สำหรับการไปตลาดใหม่ๆ จะให้เปาเปาไปเมืองต่างๆที่ยังไม่ได้ไปและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้คน

รอติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Techsauce

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับปลดล็อกความสุข ใช้เวลาพักผ่อนได้เต็มที่ แม้ต้องทำงานในวันหยุด

บทความนี้ขอเสนอเคล็ดลับ 5 ข้อในการจัดการงานและเวลา เพื่อให้คุณสามารถใช้เวลาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะต้องทำงานบ้างในช่วงวันหยุด ช่วยให้คุณสามารถสัมผัสประสบการณ์ความสุขและความส...

Responsive image

เปิดแล้ว ชั้น 3 สยามพารากอน Nintendo Authorized Store by SYNNEX

บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการนำเข้า จัดจำหน่าย และบริการไอทีครบวงจรในประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัท คอปเปอร์ ไวร์ด จำกัด (มหาชน) และ สยามพารากอน เปิด Nintendo A...

Responsive image

สภาพัฒน์ฯ เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 67 โตเกินคาด 3% แต่ยังรั้งท้ายในอาเซียน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2567 ส่งสัญญาณบวกด้วยการขยายตัว 3% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.4-2.7% สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแก...