PDPA Hackathon 2024 ต่อยอดไอเดีย ผลักดันเยาวชน สร้างนวัตกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | Techsauce

PDPA Hackathon 2024 ต่อยอดไอเดีย ผลักดันเยาวชน สร้างนวัตกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ธนาคารกรุงไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) จัดกิจกรรม “PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC: Trust and Sustainability” ครั้งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มเยาวชนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและกฎหมาย เพื่อรับมือกับความท้าทายของข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล ในรอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้ายที่ได้นำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชน ผลการแข่งขัน ทีม RightTrack จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะได้รับรางวัลเงินสด 100,000 บาท และถ้วยรางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี


ครั้งแรกในประเทศไทย PDPA Hackathon 2024 สคส. และธนาคารกรุงไทย จับมือผลักดันเยาวชนสร้างนวัตกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส./PDPC) ร่วมมือดำเนินโครงการแข่งขัน “PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC : Trust and Sustainability” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ สำหรับนิสิต/นักศึกษาที่มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ทีมจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมกับทีมกฎหมายที่ผ่านการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจาก PDPA Challenge 2024  (ทีมละ 4 คน)  ได้มีโอกาสระดมความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โครงการ “PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC : Trust and Sustainability” เริ่มขึ้นอย่างเข้มข้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยการคัดเลือกทีมผู้เข้าแข่งขันจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 40 ทีม สู่ 10 ทีมสุดท้ายที่ผ่าน เข้ารอบชิงชนะเลิศได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ ไอเดีย ต่อยอดนวัตกรรม โซลูชันกับหลากหลายผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น ก่อนเดินทางเข้าสู่โค้งสุดท้ายในวันที่ 23 - 25 ธันวาคม 2567 ในรอบชิงชนะเลิศ Hackathon & Pitching Day ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารกรุงไทย เขาใหญ่ 

ผู้ชนะ 3 อันดับแรกจะได้รับโล่รางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี และเงินรางวัลจากธนาคารกรุงไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับรางวัลเงินสด 100,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับรางวัลเงินสด 60,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับรางวัลเงินสด 40,000 บาท

ชิงชนะเลิศ Hackathon & Pitching Day อัดแน่นความรู้และไอเดียโค้งสุดท้ายก่อนชิงชัย

ในรอบชิงชนะเลิศ Hackathon & Pitching Day ได้รับการกล่าวต้อนรับ จาก ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คุณณัฐวุฒิ พันธุ์ภักดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่มกลยุทธ์และการบริหารจัดการควบคุมดูแล สายงานเทคโนโลยี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ คุณเทอดศักดิ์ ตันติวัฒนวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่าย Cluster : Legal Compliance & Financial Crime และมี Mini Masterclass ให้เรียนรู้จริงจาก คุณอภิรักษ์ ปนาทกูล UX Evangelist, ODDS ในเรื่องของการออกแบบนวัตกรรม คุณไผท ผดุงถิ่น CEO & Co-Founder, BUILK ONE GROUP การนำเสนอและ Pitching ให้ตรงใจกรรมการ คุณสุวรรณโชติ ศิริมหาศาล Director of Cyber Security Department and Data Protection Officer, PDPC ในเรื่องของ Insight ข้อมูลรั่วไหล ที่เป็นข้อมูลสำคัญต่อเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ในการออกแบบนวัตกรรม


คุณพชร จันทรรวงทอง กรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร และที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนความร่วมมือทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมเยาวชนให้มีโอกาสได้พัฒนาทักษะ ต้นแบบนวัตกรรม ตอบโจทย์ความท้าทายในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนบุคคล เพราะเทคโนโลยีนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก โครงการนี้จะทำให้น้องๆ เยาวชน จะได้เรียนรู้ และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ และนับเป็นเรื่องที่ดีที่นักศึกษาด้านกฎหมายและเทคโนโลยีเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะเทคโนโลยีต้องไปคู่กับกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”

ม.เกษตร จับมือ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี คว้าชัย PDPA Hackathon 2024

Pitching Day ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 10 ทีม ได้แก่ ทีม

1.LawEnDa จากมหาวิทยาขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.ไม่หล่อแต่ก่อกวน จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3.RightTrack จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4.PDPA ตัวร้ายกับ Hackathon ตัวแสบ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล
5.คิดออกแล้วบอกอีกที จาก มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร
6.Hackatang จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา
7.หมูเด้ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
8.3PG จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
9.Dynamic Energy จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
10.I Have Know Idea จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ได้แสดงศักยภาพในการนำเสนอและตอบคำถามเกี่ยวกับ นวัตกรรม โซลูชัน ระบบหรือแอปพลิเคชันต่อเหล่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชน

  • ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • คุณณัฐวุฒิ พันธุ์ภักดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่มกลยุทธ์และการบริหารจัดการควบคุมดูแล สายงานเทคโนโลยี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 
  • ผศ. ศุภวัชร์ มาลานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
  • ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยาคลีนิกและชีวสถิติ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณ อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด


รางวัลชนะเลิศ ทีม RightTrack จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอระบบ AI ช่วยประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจาก RoPA ด้วยการทำระบบที่มาช่วยรวบรวมคำขอและพิจารณาได้อย่างอัตโนมัติ เป็นฟีเจอร์ที่จะเข้าไปเกาะกับแอปต่าง ๆ ขององค์กรที่มีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

ไอเดียที่จะเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้งาน หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจัดการความยินยอม หรือสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างสะดวกสบาย ดำเนินการได้ด้วยตนเอง และมี AI ที่ช่วย DPO ในการพิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้ในการอนุมัติการใช้สิทธิ และปฏิเสธได้แบบอัตโนมัติหากข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือเข้าเงื่อนไขที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธ รวมถึง Multiagent เป็นผู้ช่วยในการตอบคำถามและตัดสินใจของ DPO อีกด้วย

รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Dynamic Energy จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นำเสนอ Vaultify แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบประกันชนิดต่างๆ โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นใจของผู้ใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยี AI Chatbot แนะนำประกันภัยที่เหมาะสม อธิบายข้อกฎหมายและเงื่อนไขอย่างเข้าใจง่าย บนพื้นฐานของ PDPA ที่ครอบคลุมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม I Have Know Idea จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นำเสนอ Know 2 Pay เป็น Multi-Segment แอปพลิเคชัน ที่ช่วยแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงด้านการทำธุรกรรมดิจิทัล ตรวจเช็คและกำหนดการทำธุรกรรมทางการเงินของผู้เยาว์โดยผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้ จากการเก็บข้อมูล KYC และมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มที่เป็นผู้เยาว์

“โครงการ PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC : Trust and Sustainability จะยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ส่งเสริมให้เยาวชนสามารถสร้างนวัตกรรม โซลูชัน ระบบหรือแอปพลิเคชันที่มี Potential ที่คำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอบโจทย์ความท้าทายของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยทีมที่ได้รับรางวัลทุกทีม เป็นตัวอย่างเยาวชนที่เก่งมากรวมถึงน้องๆ นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการที่มีความสามารถ จะนำสิ่งที่ได้จากโครงการ ไปต่อยอดสามารถต่อยอดโซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชัน และร่วมสร้าง Impact ให้เกิดขึ้นในระยะยาวกับสังคมไทย ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คุณณัฐวุฒิ พันธุ์ภักดี กล่าวทิ้งท้าย”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Future Trends เปิดตัวหนังสือ Future Trends Ahead 2025 by SCBX เจาะลึก 62 เทรนด์ พร้อมประกาศจัดงาน Summit 18 ก.พ. นี้

จากความสำเร็จของหนังสือ “Future Trends Ahead 2024” ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 18,000 เล่ม Future Trends ได้ต่อยอดความสำเร็จนี้ด้วยการสนับสนุนจาก SCBX จัดทำหนังสือ "Future Trends Ahead 2...

Responsive image

AWS Thailand Region เปิดให้บริการในไทยแล้ววันนี้ ! คาดช่วยจ้างงานเพิ่ม 11,000 ตำแหน่ง ดัน GDP ไทยโตขึ้นอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากยักษ์ใหญ่ AWS ได้ประกาศผ่านงาน AWS Summit Bangkok เมื่อช่วงกลางปี 2024 ที่ผ่านมาว่าจะมีการจัดตั้ง AWS Region ในประเทศไทย หรือโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AWS Cloud พร้อมตั้งเป้าเป...

Responsive image

อัปเดต 2025 มัดรวม 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ขอใบขับขี่สากลผ่าน ‘เป๋าตัง’

ขอใบขับขี่สากลง่าย ๆ ปี 2025 แค่ 4 ขั้นตอนผ่านแอป ‘เป๋าตัง’ ไม่ต้องไปขนส่ง พร้อมเลือกอนุสัญญาและรอรับเอกสารถึงบ้าน สะดวก รวดเร็ว ใช้ขับรถต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง!...