กฟน. และ CP ALL ทดลองตั้งสถานีชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่ 7-Eleven 2 สาขา

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จับมือ CP ALL ผู้ก่อตั้งร้าน 7-Eleven ในประเทศไทย ทำโครงการทดลองตั้งสถานีชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Normal Charge จำนวน 4 เครื่อง ที่ 7-Eleven 2 สาขา ได้แก่ สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และสาขาจรัญสนิทวงศ์ 11 ระบุเตรียมกำหนดหลักเกณฑ์ในการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจต่อไป

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL ต่างเล็งเห็นถึงศักยภาพในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ จึงร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (สถานีชาร์จ) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของ กฟน. เพื่อทดลองในโครงการนำร่องบริเวณร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven ในสาขาที่มีความพร้อม

โดยในระยะแรก กฟน. จะดำเนินการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จปกติ (Normal Charge) จำนวน 4 เครื่อง ที่ 7-Eleven 2 สาขา ได้แก่ สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และสาขาจรัญสนิทวงศ์ 11

ซึ่งทั้ง 2 สาขานี้ มีศักยภาพตรงตามความต้องการของโครงการ เช่น พื้นที่จอดรถหน้าร้าน อยู่ในแหล่งชุมชน ที่พักอาศัย สำนักงาน สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยจะมีการติดตามผลการทดลองทุกๆ 6 เดือนเพื่อประเมินผลความสำเร็จ

นอกจากนี้ ในอนาคต กฟน. พร้อมลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าและการบำรุงรักษา โดยมีแผนขยายสถานีอย่างต่อเนื่องไปยังร้าน 7-Eleven สาขาในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป

กฟน. ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2555 กฟน. เป็นหน่วยงานแรกที่ริเริ่มนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในกิจการตลอดจนวิจัยและพัฒนารวมทั้งผลักดันให้เกิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าขึ้นเป็นที่แรกในการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ จำนวนถึง 11 สถานี และจะครอบคลุมทุกที่ทำการเร็วๆ นี้

รวมถึงได้ทำแอป MEA EV Application สำหรับการค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้า การจองหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า หรือการคำนวณอัตราการประหยัดพลังงาน รวมถึงฟังก์ชันอื่นๆ ในอนาคต

โครงการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าหน้าร้าน 7-Eleven พร้อมทั้งพัฒนาอุปกรณ์การชาร์จและระบบในการใช้งานที่เหมาะสม รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ไฟฟ้าระหว่างกันต่อไป

ซึ่งก่อนหน้านี้ CP ALL ได้ติดตั้ง สถานีชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ระบบไฟฟ้า (EV Parking) ที่ร้าน 7-Eleven สาขาสาธิต PIM อีกด้วย

"ไม่ว่าเป็นโครงการของภาครัฐหรือเอกชนต่างเริ่มทยอยเปิดตัวสถานีชาร์จอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีทางยนตกรรม เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้า และในอนาคตเองสถานีอัดประจุไฟฟ้าจะมีให้เห็นทั่วไปมากขึ้น ไม่ว่าจะตามร้านสะดวกซื้อที่มีพื้นที่หน้าร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวพื้นที่สาธารณะ หรือแม้แต่ตามบ้านเรือนทั่วไป" คุณวิเชียร จึงวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

โดย กฟน. เตรียมกำหนดหลักเกณฑ์ในการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจส่งเสริมให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการจ่ายไฟฟ้าให้กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าทุกประเภทให้มีความเพียงพอ มั่งคง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพต่อไป

ซึ่งการดำเนินการของ กฟน. ก็เป็นไปตามแผนที่รัฐบาลยังตั้งเป้าว่าภายในปี 2579 ตั้งเป้าให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภทปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) และประเภทแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,200,000 คันอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมดุสิตธานีขาดทุน 5 ปี เปิดเบื้องหลังที่คนไม่รู้ กับแผนยอมเจ็บเพื่อ Reset ธุรกิจ

เปิดเบื้องหลัง 5 ปีที่ดุสิตธานีขาดทุนและไม่จ่ายปันผล กับแผนรีเซตองค์กรครั้งใหญ่ สู่การเติบโตระยะยาวผ่านโครงการ Dusit Central Park และกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง...

Responsive image

เทคโนโลยีใหม่! แค่ตรวจเลือดก็รู้ผลอัลไซเมอร์ได้แบบไม่ต้องสแกน

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อาจไม่ต้องพึ่ง PET scan หรือการเจาะน้ำไขสันหลังอีกต่อไป! เพราะตอนนี้มีการตรวจเลือดแบบใหม่ ที่ใช้วัดสัดส่วนของโปรตีนในเลือด ที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้...

Responsive image

งานเข้า! งานวิจัย Stanford ชี้ Chatbot 'นักบำบัด' ไม่ได้ฮีลใจ แต่กำลังพาไปสู่หายนะ

ผู้คนหันมาใช้ Chatbot เป็น 'นักบำบัด' มากขึ้น แต่เทคโนโลยีพร้อมสำหรับบทบาทนี้แล้วหรือยัง? งานวิจัยล่าสุดจาก Stanford ฟันธงว่า 'ยังไม่พร้อมอย่างสิ้นเชิง' สำหรับความรับผิดชอบนี้...