นักศึกษาในสหรัฐฯ ขอคืนค่าเรียน หลังพบอาจารย์ใช้ ChatGPT ทำสไลด์

การใช้ AI ในการศึกษากำลังกลายเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงอย่างร้อนแรงในแวดวงการศึกษา ล่าสุดเกิดกรณีที่ Ella Stapleton นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น ยื่นเรื่องร้องเรียนขอคืนค่าเล่าเรียน หลังพบว่าอาจารย์ใช้ ChatGPT สร้างเนื้อหาการสอน 

อาจารย์ใช้ ChatGPT

นักศึกษาขอคืนค่าเรียน หลังพบอาจารย์ใช้ ChatGPT 

เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นเมื่อ Stapleton ซึ่งเรียนวิชาพฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) สังเกตเห็นความผิดปกติในเอกสารการสอน เช่น ข้อความที่ดูเหมือนเป็นคำสั่งที่ป้อนให้ AI อย่าง “expand on all areas. Be more detailed and specific.” รวมถึงสไลด์ประกอบที่มีภาพคนผิดรูป เช่น มีแขนขาเกินมา หรือมีข้อความสะกดผิด

สิ่งที่ทำให้เธอไม่พอใจอย่างยิ่งคือ ใน Course Syllabus อาจารย์ Rick Arrowood ระบุชัดว่า “ห้ามนักศึกษาใช้ AI” แต่อาจารย์ใช้ ChatGPT เอง เธอจึงยื่นร้องเรียนต่อคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัย พร้อมเรียกร้องขอคืนค่าเรียนรายวิชานี้เป็นเงินกว่า 8,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 260,000 บาท แต่คำร้องถูกปฏิเสธหนึ่งวันหลังจากเธอสำเร็จการศึกษา

อาจารย์ชี้แจง ใช้ ChatGPT เพื่อปรับแต่งเนื้อหาการสอน

Rick Arrowood ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ว่าเขาใช้ ChatGPT เพื่อปรับแต่งเอกสาร ไม่ได้มีเจตนาไม่เหมาะสม และภายหลังจากเหตุการณ์นี้ เขาจะใช้ AI อย่างระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแจ้งให้นักศึกษาทราบหากมีการใช้งานในอนาคต

การใช้ AI ในมหาวิทยาลัยกำลังพุ่งสูงขึ้น

กรณีนี้สะท้อนแนวโน้มการใช้ AI ในวงการการศึกษากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยผลสำรวจของ Tyton Partners พบว่า:

  • ปี 2023 มีอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย 22% ใช้ AI ในการสอนเป็นประจำ
  • ปี 2024 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเกือบ 40% ภายในเวลาเพียง 1 ปี

ในขณะที่ฝั่งนักศึกษาเองก็ใช้ AI อย่างแพร่หลายเช่นกันรายงานของ OpenAI ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 เผยว่า: 

  • มากกว่า 1 ใน 3ของวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี ในสหรัฐฯ ใช้ ChatGPT
  • โดย 25% ใช้งานเกี่ยวกับการเรียน เช่น การติว และการช่วยเขียนงาน

มหาวิทยาลัยออกนโยบายควบคุมการใช้ AI

เพื่อรับมือกับกระแสการใช้ AI ที่เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ออกแนวปฏิบัติ:

  • Harvard University แนะนำให้นักศึกษาปกป้องข้อมูลลับ และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจาก AI
  • New York University (NYU) บังคับให้นักศึกษาต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ก่อนใช้ AI

นอกจากนี้ยังมีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อตรวจสอบงานเขียนที่อาจมาจาก AI แต่ New York Magazine รายงานว่านักศึกษาบางคนพยายามเลี่ยงระบบตรวจจับเหล่านี้ด้วยการ เจตนาใส่คำผิดลงในงานเขียนที่สร้างโดย ChatGPT

การใช้ AI มากเกินไป เสี่ยงกระทบทักษะการคิดวิเคราะห์

แม้ AI จะช่วยให้ทำงานเร็วขึ้น แต่ผลวิจัยจาก Microsoft และมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ระบุว่า ผู้ที่ใช้ AI และเชื่อมั่นในความสามารถของมันมากเกินไป มีแนวโน้มที่จะใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์น้อยลง 

นักวิจัยเตือนว่า “การใช้เทคโนโลยีผิดวิธี อาจทำให้ทักษะการคิดของมนุษย์เสื่อมถอย”

อ้างอิง:  Entrepreneur 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Virtual Bank ไทยประกาศอย่างเป็นทางการ เจาะลึก 3 กลุ่มทุนผู้คว้าใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา

ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรายชื่อ 3 กลุ่มธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต Virtual Bank อย่างเป็นทางการเมื่อ 19 มิ.ย. 2568 ชี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของระบบธนาคารไทย พร้อมเผยเกณฑ์คัดเลือกและเ...

Responsive image

Adobe ดึงตัวพ่อผู้สร้าง Computational Camera เปิดตัว Project Indigo เขย่าสมรภูมิกล้อง iPhone

Project Indigo แอปกล้องฟรีจาก Adobe ที่มี Marc Levoy ตำนานกล้อง Pixel อยู่เบื้องหลัง นี่คือกลยุทธ์เขย่าตลาดกล้อง iPhone และการสร้าง Ecosystem ครั้งสำคัญ...

Responsive image

Midjourney เปิดตัว V1 โมเดลสร้างวิดีโอด้วย AI รุ่นแรก

Midjourney ประกาศเปิดตัวโมเดลสร้างวิดีโอด้วย AI ครั้งแรกในชื่อ “V1” โมเดลนี้ให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนภาพนิ่ง ให้กลายเป็นวิดีโอความยาว 5 วินาทีได้ทันที...