PTTEP ประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ AI and Robotics Ventures อย่างเป็นทางการ

ปตท สผ PTTEP ประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ AI and Robotics Ventures อย่างเป็นทางการ

ปตท.สผ.หรือ PTTTEP ประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ AI and Robotics Ventures ชื่อย่อ ARV เพื่อให้บริการด้าน AI และ Robotics โดยตรง เป็นบริษัทย่อยภายใต้ บริษัท อีพี-เทค เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดโดย ปตท.สผ.

นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า

“ARV เป็นการเดินหน้ายุทธศาสตร์การลงทุนในธุรกิจใหม่ของ ปตท.สผ. เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยต่อยอดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ.  ARV ยังสามารถยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากด้านพลังงาน”

ภาพทีมงานคนรุ่นใหม่แห่ง ARV source: https://www.arv.co.th

กลยุทธ์การลงทุน

ARV จะมีการลงทุนในระยะแรก (2562 - 2564) ประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในระยะเวลา 3-5 ปี

ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป ARV กล่าวว่า “ARV มีเป้าหมายระยะยาวในการเป็นแพลทฟอร์มเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งจากภาคการศึกษา อุตสาหกรรม รวมถึง startup เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาบุคลากร ที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจในยุคนี้และในอนาคต”

โครงการด้าน Robotics

  • หนึ่งในเทคโนโลยีล่าสุดที่เป็นผลจากความร่วมมือของ ARV และพันธมิตรจากประเทศนอร์เวย์ คือ หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ (Subsea Flowline Control and Repair Robot – SFCR) ตัวแรกของโลก ที่สามารถตรวจสอบและซ่อมท่อส่งปิโตรเลียมใต้น้ำได้โดยอาศัยการควบคุมจากระยะไกล ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในงานซ่อมแซมได้กว่าครึ่งจากการทำงานรูปแบบเดิม และลดความเสี่ยงของทรัพยากรบุคคล
  • นอกจากนี้ ARV ยังให้บริการและอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับการปฏิบัติงานทั้งบนบก ในทะเล และทางอากาศ เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย (Inspection-class Autonomous Underwater Vehicle - IAUV) สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ใต้น้ำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ตรวจสอบท่อส่งปิโตรเลียมใต้น้ำและโครงสร้างของแท่นผลิตปิโตรเลียมใต้ทะเล เพื่อป้องกันการชำรุด โดยไม่ต้องอาศัยเรือสนับสนุนหรือเจ้าหน้าที่บังคับ หุ่นยนต์ตรวจสอบภายในท่อ (In-pipe Inspection Robot - IPIR) เพื่อใช้สำรวจสภาพภายในท่อปิโตรเลียมที่มีพื้นที่จำกัด สามารถประมวลผลเป็นภาพ 3 มิติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ และอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle - UAV) หรือโดรน สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ในที่สูง ถ่ายภาพทางอากาศ และยังสามารถใช้บินสำรวจพื้นที่เกษตรกรรม ช่วยวิเคราะห์พืชผลเพื่อเพิ่มผลผลิต “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ช่วยให้ธุรกิจก้าวข้ามข้อจำกัดของการทำงานในรูปแบบเดิม และสร้างข้อได้เปรียบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาและต้นทุนในการดำเนินงาน เพิ่มความแม่นยำ ความคล่องตัว ด้วยความสามารถประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์และตัดสินใจเองได้ และเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น การทำงานแทนมนุษย์ในพื้นที่เสี่ยง นอกจากนี้ การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้กับธุรกิจที่หลากหลาย” ดร.ธนา กล่าว
  • ตัวอย่างการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานด้านต่างๆ เช่น การริเริ่มวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในการเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับพันธมิตรในภาคการเกษตร และการพัฒนาโดรนแปรอักษร (Swarm Drones) ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกโดยคนไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...