จากการรายงานข่าวของสื่อกับเหตุการณ์กราดยิงโคราชที่ผ่านมา สร้างการวิพากษ์วิจารณ์มากจนเกิด hashtag ต่างๆตามที่นำเสนอไปแล้ว ในบทความนี้เป็นข้อแนะนำการรายงานข่าวการกราดยิงในที่สาธารณะ ซึ่งแปลจาก reportingonmassshootings มีเนื้อหาในการแนะนำสื่อมวลชนในการรายงานข่าวเพื่อลดความเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ในอนาคต
เกี่ยวกับข้อแนะนำ
ข้อแนะนำนี้เกี่ยวข้องกับการที่สื่อจะรายงานสถานการณ์ที่มีคนหรือกลุ่มยิงไปยังผู้คนในที่สาธารณะ โศกนาฏกรรมเช่นที่โคมลัมบาย เวอร์จิเนียเทค ออโรล่า หรือ โอลันโด ต่างเห็นตัวอย่างของการกราดยิงในที่สาธารณะ
ข้อแนะนำนี้ไม่ได้มีเป้าประสงค์ที่จะแนะนำในเรื่องของความรุนแรงจากแก็ง หรือ การฆาตกรรม-ฆ่าตัวตาย (murder-suicide) (เช่น ความรุนแรงจากคู่ชีวิต)
ข้อมูลทั่วไปสำหรับการรายงานข่าว
- การรายงานข่าวความรุนแรง อาจมีอิทธิพลและส่งผลต่อผู้อื่น
- ลดการรายงานที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ก่อเหตุ เพราะอาจทำให้มีคนเทียบเคียงกับตนเองและเอาอย่าง
- หลีกเลี่ยงการนำภาพของผู้ก่อเหตุที่อยู่คู่กับเหยื่อ
- พยายามใช้ภาพของผู้ก่อเหตุให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในข่าวความคืบหน้าสถานการณ์ ยกเว้นคกรณีที่ตำรวจยังค้นหาผู้ก่อเหตุหรือสำหรับเหยื่ออื่นๆ
- หลีกเลี่ยงการรายงานที่ทำให้เกิดความเข้าเข้าใจผิดและอคติเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิต รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาหรือการป้องกัน เพราะการวินิจฉัยโรคทางจิตอาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุที่นำไปสู่ความรุนแรง
- อย่าเน้นสร้างความเร้าอารมณ์เกี่ยวกับสถานการณ์เพราะอาจนำไปสู่การกระตุ้นให้มีคนที่ต้องการทำให้ตนเป็นที่รู้จักด้วยวิธีรุนแรงได้ (เช่น อย่ากล่าวว่า สถานการณ์ที่เสียชีวิตมากที่สุดตั้งแต่ครั้งโคลัมบาย)
- รายงานเกี่ยวกับเหยื่อ และการที่ชุมชนและประเทศสามารถจะขับเคลื่อนให้เกิดความช่วยเหลือต่อเหยื่อและป้องการการยิงกราดได้ในอนาคต
- หลีกเลี่ยงการสร้างความเจ็บปวดต่อชุมชนหรือผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้กระทำผิด
- ระลึกว่าครอบครัวของทั้งเหยื่อและผู้ก่อเหตุล้วนได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้ง และเจ็บปวดจากเหตุการณ์ จึงควรละเอียดอ่อนมีความเห็นอกเห็นใจในในการสัมภาษณ์
3 สิ่งที่เราอยากให้คุณรู้
งานวิจัยพบว่าแนวทางที่สื่อรายงานข่าวการกราดยิงในที่สาธารณะนั้นสามารถนำไปสู่การระบาดของสถานการณ์การเลียนแบบได้ การรายงานข่าวอย่างมีความรับผิดชอบสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้
ผู้ที่มีอาการทางจิตส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่ผู้ที่สร้างความรุนแรง ขณะที่ผู้ก่อเหตุที่ยิงกราดในที่สาธารณะนั้นมักจะไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการทางจิตมาก่อน
การรายงานข่าวอย่างมีความรับผิดชอบสามารถสร้างการเรียนรู้ของสังคมและลดความเสี่ยงที่เกิดความรุนแรงขึ้นได้ในอนาคต
การรายงานข่าวของสื่อที่สร้างความเสียหาย สามารถที่จะ….
- กระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบได้โดยผู้ที่มองผู้ก่อเหตุเป็นตัวอย่าง เป็นฮีโร่
- เพิ่มความเจ็บปวดให้กับผู้รอดชีวิต ครอบครัว และชุมชน
- ขยายอคติและการตีตราไปยังผู้ที่มีอาการทางจิต
- ทำให้ผู้มีอาการทางจิตหลีกเลี่ยงไม่กล้าไปรับความช่วยเหลือ
การรายงานข่าวที่เป็นประโยชน์ สามารถที่จะ….
- ทำให้สาธารณชนเรียนรู้ ช่วยสังเกตและตอบสนองอย่างถูกทางต่อผู้ที่อาจก่อความรุนแรง
- ปลอบประโลมใจผู้รอดชีวิต ครอบครัว และสังคม รวมทั้งครอบครัวผู้ก่อเหตุ
- ชี้ให้สาธารณชนรับรู้สัญญาณเตือนของพฤติกรรมที่อาจก่อความรุนแรง
- เอื้อให้ประชาชนช่วยมองหาความช่วยเหลือต่อตนเองหรือผู้อื่นที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินพฤติกรรมรุนแรง
อย่าแชร์/อย่ารายงาน
- ว่า อาการทางจิตประสาท ทำให้ก่อเหตุ
- ว่า เหตุเกิดเพราะเพียงปัญหาเดียว
- โดย พูดชื่อผู้ก่อเหตุบ่อยครั้ง
- โดย จัดวางภาพให้ผู้ก่อเหตุเหมือนฮีโร่ โดดเด่น เป็นเหยื่อ หรือ ผู้ชอกช้ำ
- โดย ใส่ถ้อยคำผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่เรียกผู้ก่อเหตุว่า “บ้า” “คลั่ง”
- การคาดเดา หรือ ให้แหล่งข่าวคาดเดา เกี่ยวกับสภาพทางจิตของผู้ก่อเหตุ
- ภาพสยดสยองจากการก่อเหตุ
- การคาดเดา แรงจูงใจต่อเจ้าหน้าที่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
- โดย ใช้ภาพผู้ก่อเหตุ ขณะถืออาวุธ หรือ แต่งตัวคล้ายทหาร
แต่จงแชร์/รายงาน
- ย้ำว่า ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตส่วนใหญ่ ไม่นิยมความรุนแรง
- อธิบายว่า มีหลายปัจจัยที่นำมาสู่การก่อเหตุ
- โดย นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ และอธิบายว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายและอันตราย
- โดย ใส่ถ้อยคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าสิ่งที่ผู้ก่อเหตุกระทำหรือแสดงออก
- ปรึกษาขอความเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตใจ
- อธิบายว่า การก่อความรุนแรงมีความซับซ้อนและมักจะมาจากหลายแรงขับ
- ละเอียดอ่อนและระมัดระวังในการเลือกภาพมานำเสนอ
- พูดถึง และ เล่าเรื่องของเหยื่อ
- เมื่อใช้ภาพของผู้ก่อเหตุ ให้ตัดมาเฉพาะใบหน้า และตัดอาวุธ ชุดเครื่องแบบ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจดลใจให้เกิดการเลียนแบบ
สัญญาณเตือนของการกราดยิงในที่สาธารณะ
- พฤติกรรมวนเวียนเฝ้าดูที่เกิดเหตุ
- การพูดหรือเขียนขู่อย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับแผนที่จะทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น
- แสดงความนิยมชมชอบหรือเปรียบเทียบตนกับผู้ก่อเหตุความรุนแรงรายอื่นๆ
- ค้นหาข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับอาวุธ และหลงไหลในการเก็บสะสมปืนและอาวุธ
- แสดงออกถึงจินตนาการหรือความคิดเกี่ยวกับการกราดยิงและพฤติกรรมความรุนแรง
การรายงานเรื่องจดหมายหรือคำประกาสของผู้ก่อเหตุ
- ตั้งคำถามว่าสิ่งนี้มีประโยชน์ต่อเรื่องราวหรือไม่อย่างไร
- ควรจะกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ต่อเมื่อมีข้อมูลสำคัญต่อเรื่องราวของข่าว
- ควรใช้ภาพวาดหรือภาพกราฟิคให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะภาพที่แสดงความชื่นชมความรุนแรง
บริการสาธารณะ
ควรใส่ข้อมูลศูนย์บริการที่ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับความเครียดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่าสามารถติดได้ที่ไหน เบอร์โทรศัพท์อะไร
อ้างอิง Thai Cofacts Consoritum แปลจาก https://www.reportingonmassshootings.org