ธนาคารในประเทศจีนก้าวสู่ยุค AI ลดต้นทุนและค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ | Techsauce

ธนาคารในประเทศจีนก้าวสู่ยุค AI ลดต้นทุนและค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

ธนาคารในประเทศจีนเริ่มนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าแรง ครอบคลุมการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่การบริการลูกค้า ไปจนถึงการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน 

ในปี 2023 ธนาคารในประเทศจีนหลายแห่งได้สำรวจความเป็นไปได้ของการใช้เครื่องมือ AI เพื่อให้บริการลูกค้า และมีหลายธนาคารเริ่มทดลองนำ AI มาประยุกต์ใช้ ยกตัวอย่างเช่น

  • Bank of Communications ได้สร้างทีมวิจัยเพื่อศึกษาการใช้ generative AI เพื่อตรวจจับการฟอกเงินและระบุความต้องการของลูกค้ารายย่อย
  • China Merchants Bank และ Ping An Bank และธนาคารอื่น ๆ ใช้พนักงานเสมือนจริงจาก AI ในการให้บริการลูกค้า
  • Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) สำรวจการใช้โมเดลภาษา AI ในการจัดการความมั่งคั่ง รวมถึงการให้บริการคำปรึกษาด้านการลงทุนที่แม่นยำยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ด้วยความนิยมของ ChatGPT ที่นำไปใช้ประยุกต์กับธุรกิจหลายประเภท ธนาคารในประเทศจีนหลายแห่งจึงมีการร่วมมือกับบริษัท AI ที่ผลิตในประเทศเพื่อนำมาใช้กับระบบธนาคาร ตัวอย่างเช่น

  • China Citic Bank และ Postal Savings Bank of China ร่วมมือกับ Ernie Bot ซึ่งพัฒนาโดย Baidu
  • ICBC ได้ร่วมพัฒนาโมเดล AI ที่ปรับแต่งสำหรับภาคการเงินร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsinghua, Huawei Technologies และสถาบันวิจัย Peng Cheng Laboratory และ Chinese Academy of Sciences โดยใช้ Ascend AI ของ Huawei ในด้านธุรกิจ รวมถึงการบริการลูกค้า การควบคุมความเสี่ยง และการจัดการการดำเนินงาน 
  • Ant Group บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Fintech ได้สร้างโมเดลภาษา AI ของตัวเองสำหรับการบริหารความมั่งคั่งและบริการประกันภัย ใช้ตอบคำถามของลูกค้าและช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

แม้ว่าการ AI ในระบบธนาคารจะเพิ่งเริ่มต้น แต่นักวิเคราะห์กลับมองในแง่ดีเกี่ยวกับศักยภาพของโมเดลนี้ คาดว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในแวดวงการเงินได้

ความท้าทายที่รออยู่

ถึงแม้การใช้ AI ในระบธนาคารจะมีแนวโน้มที่ดีในเบื้องต้น แต่ยังคงมีความท้าทายอีกมากได้แก่

  • ยังไม่สามารถใช้ในงานที่ซับซ้อนได้ เช่น การพูดคุยทางโทรศัพท์ 
  • การประมวลผลภาษาจีนยังขาดความเชี่ยวชาญ เนื่องจากมีข้อมูลภาษาจีนที่จำกัดและไม่สอดคล้องกับความต้องการในธุรกิจธนาคาร
  • ภาวะ "AI hallucination” หรือการปั้นนำเป็นตัวของ AI สร้างผลลัพธ์ที่ไม่มีจริงหรือไม่มีข้อมูลมารองรับ 

เพื่อปรับปรุงความน่าเชื่อถือของโมเดล AI ในระบบธนาคาร จำเป็นต้องมีระบบความรู้ที่ครอบคลุมมากขึ้น และทุ่มเทบุคลากรและเม็ดเงินเพื่อฝึกอบรม AI เกี่ยวกับระบบธนาคารโดยเฉพาะ รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลและข้อกังวลด้านจริยธรรม เช่น ความลำเอียงในข้อมูลที่ใช้ในการฝึก AI เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภค

โดยรวมแล้ว การนำ AI มาใช้ในระบบธนาคารของจีนถือว่ามีแนวโน้มที่ดี แต่ต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านเทคนิคและกฎระเบียบต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้สามารถใช้งานที่กว้างขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง: asia.nikkei



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

องค์กรไทยพร้อมแค่ไหนเรื่อง AI? ซิสโก้เผยไทยพร้อมเพียง 21% แม้ลงทุนสูง แต่ผลตอบแทนยังต่ำกว่าคาด

ซิสโก้เผยผลสำรวจ 'ดัชนีความพร้อมด้าน AI ประจำปี 2024' ชี้องค์กรไทยเผชิญความท้าทายในการใช้ AI แม้จะมีการตื่นตัวและลงทุน แต่ความพร้อมโดยรวมยังต่ำ โดยมีองค์กรเพียง 21% ที่พร้อมใช้งาน ...

Responsive image

ทุนจีนดันไทยเป็นฐานที่ตั้งการผลิตแห่งใหม่ ตั้งรับภัยสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ส่งให้ตลาดรถยนต์ EV-อิเล็กทรอนิกส์พุ่งแรง

ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้บริษัทจีนหลายแห่งทั้งในอุตสาหกรรม EV และอิเล็กทรอนิกส์ได้พร้อมใจเร่งขยายฐานธุรกิจในประเทศไทย เพื่อ...

Responsive image

Techsauce ร่วมกับ Brunei Startup Summit 2025 ยกระดับ Startup Ecosystem ในบรูไน

Techsauce ร่วมกับ Brunei Startup Summit 2025 ยกระดับ Startup Ecosystem ในบรูไน...