SCBS จัดงานสัมมนาลงทุน หัวข้อ จับเทรนด์เทคโนโลยีแห่งโลกการเงิน เทคนิคการวางแผนการเงินในยุคดิจิทัล เผยเคล็ดลับตัวช่วยวางแผนทางการเงินผ่านกองทุนรวมในยุคดิจิทัล ลงทุนไม่หลงทางกับบริการ Robo Advisor ที่ช่วยออกแบบและบริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติผ่านแอป EASY INVEST ซึ่งเป็นรายแรกในไทย ที่นำเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ผนึกกำลังกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 3,000 บาท ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การลงทุนที่ง่ายในยุค 4.0 พร้อมด้วยเทคนิควิธีการวางแผนทางการเงิน เทรนด์เทคโนโลยี เทรนด์การตลาดที่ต้องจับตาในปี 2020 รวมถึงเทรนด์การบริหารเงิน-ลงทุน ของคนยุคปัจจุบัน ทั้งในและต่างประเทศ
โดยได้รับเกียรติจากคุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณเฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงาน Product and Platform บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด, ดร.ฉัตริน ลักษณบุญส่ง Head of SCB 10X#3 ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วยคุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ IT Influencer และ CEO & Founder Beartai ร่วมแลกเปลี่ยนความคิด โดยมีคุณศิรัถยา อิศรภักดี นักพูด นักเขียน เจ้าของแนวคิด ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน และผู้ก่อตั้งเพจ Wealth Me Up ดำเนินรายการ ซึ่งงานสัมมนาครั้งนี้ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดีโดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 400 คน ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในมุมของคุณพงศ์สุข ในปี 2020 เทรนด์ 5G กำลังจะมาเเละส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในด้านการพัฒนาที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้กว้างมากขึ้น การเข้ามาของ 5G สร้างความรวดเร็วของระบบเทคโนโลยีมากขึ้นจากเดิมผ่าน IOT ดังนั้น การใช้ชีวิตของผู้บริโภคจะเข้าสู่ความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ตอบโจทย์ยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด ประเทศจีนได้เริ่มนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมแล้ว
ภาพรวมของความปลอดภัยเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ในมุมมองของคุณพงศ์สุข มองว่า "ปัจจุบันความปลอดภัยถูกพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีซึ่งมีความทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้นเพราะถูกยกระดับตามวิวัฒนาการเทคโนโลยีที่ดีมากขึ้น เเต่ที่เราเห็นการถูก Hack จากที่ผมเห็นมักเกิดจากพฤติกรรมการเล่นโซเชียลที่ไม่ระวัง เช่น การกดเข้าไปดูลิ้งค์ที่ถูกส่งต่อกันมา หรือ ข่าวปลอมที่ล่อลวงข้อมูลจากผู้ใช้ "
สำหรับคุณธนา กล่าวว่า "ในตอนนี้เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นมากในมุมของการตลาดเเละการลงทุนเพราะเป็นช่วงที่การตลาดและการลงทุนมาบรรจบกัน หากใครเคยเล่นหุ้นจะรู้ว่าถ้าเราถือทรัพยากรหรือของที่หาได้ยากและมีอยู่อย่างจำกัดไว้หุ้นนั้นจะดีและมีผลตอบเเทนสูง ก็เหมือนกับการวิเคราะห์ว่าในยุคนี้ อะไรคือทรัพยากรที่หาได้ยากที่สุดเป็นสิ่งที่นักการตลาดและนักลงทุนต้องวิเคราะห์ ยกตัวอย่าง ในยุคอุตสาหกรรมอะไรสำคัญที่สุดเเละหากยาก คือ แรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ ต้นทุนต่ำ ประเทศใดมีเเรงงานที่ถูกนั้นก็จะชนะ เรียกได้ว่าในยุคของการผลิตที่ยังต้องใช้เเรงงานมนุษย์ สิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดและเป็นที่ต้องการ คือ มนุษย์ หากประเทศใดมีมากก็จะชนะในเกมส์การผลิตและส่งออกในยุคนั้น ดังนั้น หากถามว่าเทรนด์การตลาดในปี 2020 นี้มีอะไรที่น่าสนใจเราต้องหาว่ายุคนี้ คือ ยุคที่อะไรเป็นสิ่งสำคัญให้ได้ก่อน"
ในปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า ทรัพยากรที่สำคัญไม่ใช่สิ่งของแต่เป็น ข้อมูล (DATA) ที่ได้จากพฤติกรรมของคนไม่ว่าเราจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เทคโนโลยี หรือ โซเชียลก็ยังเป็นตัวเเปรหลักของการใช้ชีวิตที่สร้างเเหล่งข้อมูลมหาศาลที่เรียกว่า Big Data ซึ่งปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้นการนำ Big Data มาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มจึงเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เรียกได้ว่าใครมี ข้อมูลและองค์ความรู้มาก ก็เป็นมหาอำนาจได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดสร้างความเปลี่ยนเเปลงที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะทางมากขึ้น ดังนั้น ทรัพยากรที่หาได้ยาก อย่าง DATA จึงไม่ยากอีกต่อไป แต่สิ่ที่ยากคือ "การดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค"
ยุคปัจจุบันนี้ทั่วโลกต่างให้ความสนใจต่อ Attention Economy ยุคที่ตัวเเปรสำคัญของการตลาดคือความสนใจของผู้บริโภค ดังนั้น เทรนด์สำคัญที่กำลังมาของการทำการตลาดปี 2020 คือ "ความสนใจของผู้บริโภค" ใครสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจได้มากก็จะเป็นผู้ชนะในยุคนี้ นอกจากเป้าหมายของทรัพยากรที่เปลี่ยนไปยังมีอีกสิ่งหนึ่งสิ่งที่เปลี่ยนไปเช่นกันคือ บริบทของผู้บริโภคที่กลายเป็นโปรดักต์ควบคู่กันไปในอีกทางหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นผลพ่วงจากการเเข่งขันทางการตลาดที่พยายามวางกลยุทธ์ดึงดูดผู้บริโภคด้วยการเปิดให้ตัวผู้บริโภคเองสามารถเข้ามาใช้บริการหรือทำกิจกรรมในเเพลตฟอร์มนั้นตามความต้องการของผู้บริโภคจนเกิดสิ่งที่ตามมาคือ ข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้งาน ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้พัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมหรือพัฒนาเพิ่มเติมเป็นโปรดักต์ใหม่ๆ ได้
ความรู้สึก นึกคิด ต่างๆ ที่เรียกว่า อารมณ์ เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่สามารถสร้างการตัดสินใจของผู้บริโภค ดังนั้น การวางเเผนการตลาดอาจไม่ใช่เเค่ศาสตร์ด้านธุรกิจเเต่ต้องประยุกต์ร่วมกับวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ที่จะเป็นตัวเเปรบ่งบอกถึงสารเคมีในสมองของมนุษย์ต่อการตอบสนองสิ่งเร้าในสถานการณ์ที่เเตกต่างกัน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์ว่าอะไรจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และจะโน้มน้าวมนุษย์อย่างไรให้เกิดการตอบรับหรือสนใจในสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น การประยุกต์ความรู้ระหว่างการตลาดและวิทยาศาสตย์จึงเป็นอีกตัวเเปรของการวางกลยุทย์เชิงจิตวิทยาที่ต้องโน้มน้าวความสนใจของมนุษย์ สุดท้ายสิ่งที่น่าสนใจนอกจากการมองว่าเทรนด์การตลาดและเทคโนโลยีของโลกกำลังจะดำเนินไปในทิศทางใดเเล้วคุณธนา ได้กล่าวถึงความย้อนเเย้งที่เกิดขึ้นไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า
"ในอนาคตอันใกล้เราอาจไม่จ่ายเงินเพื่ออินเทอร์เน็ตแต่จะจ่ายเงินเพื่อไปในที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจยอมจ่ายเงินเพื่อหลีกหนีจากโลกภายนอกเพื่อใช้ชีวิตที่สงบ ไม่พึ่งเทคโนโลยี หรือผู้ปกครองยอมจ่ายเงินเพื่อเเลกกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการติดเกมของลูก"
ความย้อนเเย้งที่ต่างกันในโลกยุคปัจจุบันเราเห็นจากคนรอบตัวและสังคมได้ไม่ยากถึงพฤติกรรมนี้เเม้ปัจจุบันมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตในทุกวันหรือเเถบขาดจากสิ่งนี้ไม่ได้เเต่ในอีกมุมกลับอยากที่จะหลีกหนี
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด