เมื่อ AI อนุมัติเงินให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย SCB EASY Digital Lending | Techsauce

เมื่อ AI อนุมัติเงินให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย SCB EASY Digital Lending

Mobile Banking ยังคงเดินหน้าแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากธนาคารไทยพาณิชย์ได้ปรับโฉมแอปใหม่เมื่อปีที่แล้ว และยังริเริ่มฟีเจอร์ที่ไม่ต้องพกบัตร ATM อย่างการ ‘กดเงินไม่ใช้บัตร’ล่าสุดธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว SCB EASY Digital Lending ที่จะสามารถอนุมัติสินเชื่อผ่านมือถือให้กับผู้ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเบื้องหลังสำคัญ คือ AI และ Data Analytic

SCB EASY Digital Lending ฟีเจอร์ใหม่ภายใต้คอนเซป ‘เงินด่วนแค่ปลายนิ้ว’ โดยธนาคารจะสามารถอนุมัติสินเชื่อผ่านมือถือให้กับผู้ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY ด้วย 3 ขั้นตอน ภายใน 3 นาที และสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นก้าวสำคัญในการสร้างรูปแบบใหม่ของการขอสินเชื่อในประเทศไทย ทำให้ลูกค้าไม่ต้องตรงมายังสาขา และไม่ต้องยื่น

5 ประเภทสิ้นเชื่อ ที่สามารถยื่น ผ่าน SCB Easy Digital Lending

  • สินเชื่อบุคคล Speedy Loan
  • บัตรกดเงินสด Speedy Cash
  • บัตรเครดิต
  • สินเชื่อรถยนต์
  • สินเชื่อบ้าน

2 เทคโนโลยีสำคัญเบื้องหลัง SCB Easy Digital Lending

Data Analytic และ AI เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนา SCB EASY Digital Lending เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลลูกค้าแต่ละราย โดย Data Analytic จะช่วยให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และวงเงินสินเชื่อเบื้องต้นที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคลได้ (Personalized Offering) โดยจะเป็นไปตามกฎข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วน AI ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันที แม้ลูกค้าอาจจะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ เช่น ธนาคารรู้ว่าลูกค้าจะถูกตัดค่าใช้จ่ายประจำเดือนในอีก 3 วันข้างหน้า แต่ในวันนี้ลูกค้ามีเงินในบัญชีไม่พอชำระธนาคารก็จะนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า

ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ธนาคารสามารถออกแบบรูปแบบการให้บริการด้านสินเชื่อผ่านมือถือให้กับลูกค้า ในรูปแบบ Straight ThroughProcess (STP) ซึ่งสินเชื่อที่เหมาะสำหรับ STP คือ สินเชื่อบุคคล Speedy Loan บัตรกดเงินสด Speedy Cash บัตรเครดิต และรูปแบบ Hybrid (Online to Offline) สำหรับกรณีที่ลูกค้ายื่นสมัครขอสินเชื่อ และธนาคารต้องการเอกสารเพิ่มเติมจากลูกค้า โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับลูกค้าภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากลูกค้าส่งคำขอผ่านระบบ โดยสินเชื่อที่เหมาะสำหรับ Hybrid Online to Offline คือ สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อบ้านซึ่งการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้จะเป็นการมอบประสบการณ์การขอสินเชื่อดิจิทัลรูปแบบใหม่ (Digital Lending Experience) ครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

3 ขั้นตอนการขอสินเชื่อ

  1. ขั้นตอนการขอสินเชื่อผ่าน SCB Easy Digital Lending ให้เข้าไปที่สินเชื่อและบัตรเครดิต (Loan & Credit Card) จากนั้นเลือกประเภทสินเชื่อที่ต้องการ โดยระบบจะแสดงวงเงินสูงสุดที่จะได้รับที่มุมขวาล่าง
  2. เลือกความต้องการเกี่ยวกับบริการที่ขอ เช่น เลือกวงเงินที่ต้องการ วิธีการชำระเงิน บัญชีรับเงินกู้ เป็นต้น
  3. หลังจากตรวจสอบความถูกต้องและยอมรับเงื่อนไขต่างๆ แล้ว ระบบจะให้ยืนยันการสมัครด้วย PIN 6 หลัก หรือ สแกนลายนิ้วมือ กรณีตั้งไว้สำหรับใช้ยืนยันตัวตน และระบบจะอนุมัติบัตรหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชี (กรณีขอสินเชื่อบุคคล) ภายใน 3นาที

ความเห็นกองบรรณาธิการ

SCB Easy Digital Lending เป็นอีกก้าวของการนำเทคโนโลยี AI ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำมาแข่งขัน หลังตั้งบริษัท SCB ABACUS มาดูเรื่อง AI โดยตรง ซึ่งต้องดูว่าการใช้ AI ผนวกกับฐานข้อมูลลูกค้าของ SCB จะทำให้ยอดการขอสินเชื่อเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทหรือไม่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Soft Power และ Technology คือสิ่งที่ประเทศไทยจะเดินต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า สรุปแนวคิด ทักษิณ ชินวัตร

ดร.ทักษิณ ชินวัตรเผยวิสัยทัศน์ 5 ปีข้างหน้าของประเทศไทยในงาน Forbes Global CEO Conference เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซอฟต์พาวเวอร์ และการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเสริมสร้างความสามารถ...

Responsive image

เปิดบ้าน WHA สำรวจศักยภาพ นวัตกรรม และเทคโนโลยีล้ำสมัยทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ

WHA Open House 2024: Explore – Discover – Shape the Future เป็นการเปิดบ้านครั้งแรกของ WHA เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ WHA Group ในฐานะต้นแบบของธุรกิจที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช...

Responsive image

จีนบุกตลาด AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 ให้เหตุผลเหมือนมนุษย์ ท้าชน o1 จาก Open AI

AI จีนขอท้าชิงพื้นที่ตลาด เมื่อบริษัทวิจัย AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 โมเดล AI ให้เหตุผลใกล้เคียงกับมนุษย์ เปิดตัวมาท้าชิงความสามารถของโมเดล o1 จาก OpenAI...