ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) หวังขยายฐานลูกค้า New to Bank หรือลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้บริการ SCB EASY ด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ที่ชื่อว่า "EASY E-KYC" บริการเปิดบัญชีฝากเงินออมทรัพย์แบบไม่ต้องไปสาขา โดยใช้การยืนยันตนด้วยเทคโนโลยี e-KYC (Electronic Know Your Customer) ผ่าน Biometric ในการเก็บอัตลักษณ์ใบหน้าผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และใช้เอกสารทางราชการ 2 อย่าง คือ บัตรประชาชน และพาสปอร์ต
ซึ่งพาสปอร์ตแบบใหม่ที่ภาครัฐออกให้นั้นมี NFC อยู่หลังเล่มพาสปอร์ต ทำให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากพาสปอร์ตเข้ากับมือถือได้ทันที
โดยในช่วงแรกแอป SCB EASY ที่รองรับ e-KYC จะใช้ได้บนโทรศัพท์มือถือ Android 5.1 ขึ้นไปและมีตัวรับ NFC เท่านั้นที่จะใช้สามารถใช้งานบริการนี้ได้ ส่วนแอปบน iOS ไม่สามารถใช้ E-KYC ได้เนื่องจากระบบของ iOS ยังไม่รองรับเชื่อมต่อผ่าน NFC นั่นเอง และการเปิดบัญชีผ่านช่องทางดังกล่าว 1 คน (ซึ่งมีสัญชาติไทยเท่านั้น) จะเปิดได้แค่ 1 บัญชีเท่านั้น
"EASY E-KYC" เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานบนแอป SCB EASY ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป
ซึ่งในช่วงนี้ ระบบ EASY E-KYC ของ SCB EASY ยังอยู่ใน Regulatory Sandbox ทำให้ในบัญชีรับเงินฝากได้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท (แต่สามารถมาขอเปลี่ยนประเภทบัญชีเพื่อให้ฝากเงินได้มากขึ้นที่ธนาคารทุกสาขาได้ในภายหลัง) หลังออกจาก Sandbox ข้อจำกัดตรงนี้อาจจะหมดไป
"เราใช้เวลาพัฒนามา 4 เดือน มีการคุยกับ ธปท. อยู่ตลอด เราเทสกับคนจำนวน 500 คน เพื่อดูว่าระบบแม่นแค่ไหน แน่นอนแม่นกว่าพนักงานสาขาอีก มีระบบเปรียบเทียบรูปตัวจริงกับพาสปอร์ตหรือบัตรประชาชนได้อีกด้วย" คุณธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสาย Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าว
ส่วนเรื่องที่มีการขอเลขหลังบัตรประชาชน ก็เพื่อให้สามารถตรวจสอบกับระบบทะเบียนราษฎร์แบบเรียลไทม์ได้นั่นเอง
โดยทาง SCB ก็ยอมรับว่าการเปิดปัญชี โดยมีการยืนยันตัวตนที่มีพาสปอร์ตเพิ่มขึ้นมา เป็น Use Case หรือลักษณะการใช้งานที่ยังไม่แพร่หลายมากนัก รวมถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่มีพาสปอร์ตก็มีอยู่ที่ 20 ล้านคน ส่วนคนที่ใช้ Android ก็มีอยู่ที่ 10 ล้านคนเท่านั้นเอง แต่ SCB อยากทำล่วงหน้าไว้ก่อนเพื่อทดสอบเทคโนโลยีตรวจสอบใบหน้านั่นเอง
ส่วนตัวเลขที่ SCB คาดการณ์จำนวนคนที่จะมาใช้ช่องทางนี้เปิดบัญชี จะอยู่ที่ประมาณ 10,000 คน แต่ SCB ก็ดูไม่กังวลที่ไม่ได้ตัวเลขผู้ใช้ที่เปิดบัญชีใหม่ไม่มากนัก เพราะต้องการดูว่าถ้ามาใช้ในตลาดกว้าง อยากดูว่าจะระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าจะใช้ได้ดีแค่ไหน
คุณธนายังคาดการณ์ว่าค่าความแม่นยำ (Accurate) ของระบบดังกล่าวมีไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ และค่า False Positive 0.01 เปอร์เซ็นต์ (ค่าการเปิดบัญชีไม่สำเร็จ แม้ยืนยันเอกสาร-ใบหน้าครบถ้วนแล้ว) โดยอาจมีสาเหตุมาจากหลายกรณี เช่น ใบหน้าปัจจุบันเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับใบหน้าบนพาสปอร์ต เป็นต้น
นอกจากนี้หาก National Digital ID มีความคืบหน้าและเปิดตัวได้ทันปลายปีนี้ โดยใช้การยืนยันรูปจากฐานข้อมูลที่เราเคยไปลงทะเบียนไว้ในบริษัทที่ได้รับการรับรองแล้ว ทำให้ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตในการยืนยันตัวตนอีกต่อไปก็ได้ และอาจทำธุรกรรมต่างๆ ได้มากกว่าเรื่องการเปิดบัญชี เช่น เปิดพอร์ตหุ้น ได้ในอนาคต
รวมถึงยังเปิดเผยด้วยว่าการขอรับบัตรเดบิตผ่านแอป SCB EASY อาจจะออกมาให้ใช้งานได้ในเดือนสิงหาคมนี้อีกด้วย
ส่วนตัวเลขหลังประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมธุ
คาดว่าการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด