ส่อง SCG : The Next Chapter แผนสยายปีกทุกไลน์ธุรกิจ เพื่อร่วมพิชิตเป้าหมาย Net Zero | Techsauce

ส่อง SCG : The Next Chapter แผนสยายปีกทุกไลน์ธุรกิจ เพื่อร่วมพิชิตเป้าหมาย Net Zero

SCG : The Next Chapter เป็นงานแถลงข่าวที่เอสซีจีออกมาเผยเรื่องการขยายธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นโซลูชันที่หลากหลายเพื่อรับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโควิดระบาด สงครามการค้า สงครามรัสเซีย - ยูเครน ที่กระทบ Supply Chain ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน โดยมีผู้บริหารมานำเสนอโซลูชันต่างๆ ได้แก่ 

  • คุณรุ่งโรจน์  รังสิโยภาส  
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
  • คุณธรรมศักดิ์  เศรษฐอุดม  
    รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
  • คุณธนวงษ์  อารีรัชชกุล 
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
  • ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ 
    รองผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
  • คุณวิชาญ  จิตร์ภักดี  
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • คุณนิธิ ภัทรโชค 
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี
  • คุณบรรณ  เกษมทรัพย์ 
    Co-CEO SCGJWD
  • คุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา 
    Co-CEO SCGJWD 

ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่  SCG คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาสในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กล่าวถึงโลกหลังวิกฤตโควิด ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินชีวิต เดินหน้าธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งทางเอสซีจีเอง ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี 2573 และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือ การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 

เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า เราเผชิญเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงและต้องปรับตัวให้ทัน เช่น การสวมหน้ากาก การปรับบ้านให้อยู่สบายขึ้นเพื่อ Work from Home การใช้จ่ายออนไลน์ 

ขณะที่ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนพลังงานสูง จึงนำดิจิทัลเทคโนโลยี พลังงานสะอาดมาใช้ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลสังคม สิ่งแวดล้อมให้ดีเพื่อส่งต่อทรัพยากรให้คนรุ่นถัดไป 

ปัญหาของราคาพลังงานมีราคาสูงเชื่อมต่อกับเงินเฟ้อ เชื่อมกับ Supply Side และ Geopolitics ซึ่งจะยังไม่หายไปไหน แต่ก่อนเราทำเรื่อง 'การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า' ตอนนี้เรานำของเหลือจากการเกษตร มาทำเรื่อง 'ลดการปล่อยคาร์บอน' และพัฒนาการผลิตพลังงานจากโซลาร์ ลม ซึ่งนำมาใช้ในโรงงานแล้ว

"เอสซีจีจึงมุ่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชันแห่งอนาคตให้ตรงกับความต้องการใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตอย่างประหยัด ปลอดภัย สะดวก รักษ์โลก ประกอบด้วย พลังงานสะอาดครบวงจร สุขภาพและการแพทย์  ดิจิทัลโลจิสติกส์ นวัตกรรมกรีน สมาร์ทลิฟวิ่ง และ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตอบสนองความต้องการของตลาดอาเซียนและโลกในอนาคต มั่นใจเป็นธุรกิจศักยภาพสูง สร้างความเติบโตและแข็งแกร่งให้เอสซีจี พร้อมเดินหน้าขยายโครงการลงทุนทั่วโลก ด้วยงบลงทุน 100,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี" คุณรุ่งโรจน์กล่าว

เผยโฉมโซลูชันใหม่ที่จัดแสดงในงาน SCG : The Next Chapter

SCG เอสซีจี บางซื่อ

โซลูชันด้านพลังงานสะอาดครบวงจร 
(Energy Transition Solutions)

  • พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)

สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย SCG Solar Roof Solutions สำหรับโรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มอาคารขนาดใหญ่ กลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มโรงแรม และห้างสรรพสินค้า ด้วยโซลูชันพลังงานสะอาดครบวงจร ในรูปแบบ Smart Grid Smart Platform เครือข่ายอัจฉริยะจัดการซื้อ-ขายพลังงานสะอาดได้สะดวก และคุ้มค่า ปัจจุบันมีกำลังการผลิตกว่า 195 เมกะวัตต์ พร้อมตั้งเป้า 3,000 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี

  • นวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง (Heat Battery)

โดยพัฒนานวัตกรรม Heat Battery หรือ Thermal Energy Storage ประสิทธิภาพสูง สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ได้จาก solar เป็นพลังงานความร้อน กักเก็บความร้อนไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงแดด เพื่อให้โรงงานมีพลังงานไว้ใช้ ป้องกันปัญหาพลังงานขาดแคลน

คุณธรรมศักดิ์  เศรษฐอุดม  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGคุณธรรมศักดิ์  เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึง 'Thermal Energy Storage' ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ลงทุนต่ำกว่าลิเธียมไอออนและเก็บพลังงานได้สูงกว่า ช่วยทำ Energy Transition เพื่อไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้

  • มุ่งพัฒนาพลังงานชีวมวลคุณภาพสูง (Biomass และ Biocoal)

จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเชื้อเพลิงจากขยะ (Refused Derived Fuel : RDF) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในโรงงานซีเมนต์ มุ่งสู่ Net Zero นอกจากนี้ ยังพัฒนาเม็ดพลังงานชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) เพื่อสร้างโอกาสให้ไทยเป็นผู้ส่งออกเชื้อเพลิงสะอาดภายในปี 2027 

  • โซลูชันด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV Solution Platform) 

Smart Clean Mobility : ปีนี้เอสซีจีตั้งเป้าว่าการส่งมอบรถ EV จำนวน 492 คัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6,400 ตัน ส่วนในปีหน้า ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเป็น 9,600 ตันต่อปี

  • อะเซทิลีนแบล็ค (Acelylene Black) ใช้เป็นส่วนประกอบในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และเป็นวัสดุผลิตสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดย SCGC ร่วมทุนกับบริษัท Denka ประเทศญี่ปุ่น
  • EV Fleet Solution ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การจัดหายานยนต์ไฟฟ้า ประกันภัย ซ่อมบำรุง สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง ให้บริการรูปแบบการเช่า ขนส่งสินค้าและรับ-ส่งพนักงาน 

โซลูชันด้านสุขภาพและการแพทย์ 
(Health and Medical Solutions)

Medical Supplies หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์

  • ขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Supplies and Labware) กว่า 15,000 รายการ โดย SCGP เข้าถือหุ้น Deltalab ประเทศสเปน อาทิ Deltaswab ที่เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากร่างกาย และ Cryoinstant หลอดน้ำยาสำหรับเก็บรักษาตัวอย่างเชื้อด้วยความเย็น    
  • เม็ดพลาสติกเพื่อการแพทย์ SCGC™ PP และ PVC สำหรับผลิตอุปกรณ์การแพทย์และเภสัชกรรม อาทิ กระบอกเข็มฉีดยา สายและถุงน้ำเกลือ ถุงเลือด รวมถึงโซลูชันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย อาทิ รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ ถังทิ้งเข็มฉีดยา รถเข็นผู้ป่วย แคปซูลขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ และหน้ากากอนามัยภายใต้แบรนด์ VAROGARD

โซลูชันด้านดิจิทัลโลจิสติกส์ครบวงจร 
(Digital logistics) 

บริการขนส่งและซัพพลายเชนครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดย SCGJWD ธุรกิจที่เกิดจากการควบรวมระหว่าง SCG Logistic และ JWD ซึ่งสามารถให้บริการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ขนส่งสินค้าได้อย่างหลากหลายทั้งทางบก เรือ ราง อากาศ ทั้งยังรองรับสินค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษได้ อาทิ วัคซีน ยา งานศิลปะมูลค่าสูง รถยนต์ อาหารแช่แข็ง สินค้าอันตราย พร้อมด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วอาเซียนและจีน

คุณบรรณ  เกษมทรัพย์ คุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา Co-CEO SCGJWDคุณบรรณ  เกษมทรัพย์ และคุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา สองผู้บริหารร่วมจาก SCGJWD 

สำหรับประโยชน์ของ Green Logistics คุณบรรณ  เกษมทรัพย์ Co-CEO SCGJWD กล่าวเพิ่มว่า ช่วยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยมลพิษ โดยบริษัทไม่ปล่อยให้มีเที่ยวเดินรถเปล่าๆ

"เราควบคุมและติดตามรถด้วยระบบ Telematics ซึ่งมีรถขนส่งวิ่งอยู่ 12,000 คัน ตลอด 24 ชม. มีตัวจับสัญญาณการขับและช่วยเตือนได้ และเรายังลงทุนนวัตกรรมโรบอต กับลดต้นทุนการใช้พลังงานด้วยการติดตั้ง Solar Roof บนรถด้วย" 

โซลูชันด้านนวัตกรรมกรีน 
(Green Solutions) 

เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ของเอสซีจีที่อยู่ภายใต้ฉลาก SCG Green Choice จำนวน 232 รายการ และทางบริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขายจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 67 ภายในปี 2573

CPACนวัตกรรมการพิมพ์สามมิติ : CPAC 3D Printing 

  • เทคโนโลยีก่อสร้างครบวงจรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม CPAC Green Solution 

ยกระดับวงการก่อสร้าง ทำให้สร้างเสร็จไว ลดวัสดุเหลือทิ้ง และประหยัดต้นทุนแรงงาน อาทิ CPAC Drone Solution, CPAC BIM, CPAC 3D Printing และ CPAC Bridge Solution  โดยทางเอสซีจีตั้งเป้าว่าการเติบโต 30% ในปี 2023

  • นวัตกรรมพลาสติกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SCGC GREEN POLYMER 4 โซลูชัน 

ได้แก่ ลดการใช้ทรัพยากร โดยออกแบบให้รีไซเคิลได้ นำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ และย่อยสลายได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ของใช้ในบ้าน/เครื่องสำอาง แผ่นฟิล์มเคลือบบรรจุภัณฑ์อาหาร (LDPE Coating film) EcoBioPlas นวัตกรรมเร่งการย่อยสลายของพอลิโพรพิลีน หรือ PP ช่วยกระตุ้นการย่อยสลายทางชีวภาพ แก้ปัญหาพลาสติกที่หลุดรอดไปสู่ธรรมชาติ 

รวมโซลูชันใหม่จากงาน SCG : The Next Chapterดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ขณะกล่าวถึง EcoBioPlas

SCGC ยังลงทุนใน KRAS Group ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้ครบวงจรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล อีกทั้งลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพในไทย และเพื่อผลิตเม็ดพลาสติกประเภท ไบโอ-พอลิเอทิลีน (Bio-Based Polyethylene) หรือ Bio-PE

  • นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร Fest by SCGP และนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษสำหรับอาหารสดแช่เย็นที่นำไปรีไซเคิลได้ ช่วยรักษาความสด สะอาด ปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ OptiBreath® ที่เก็บและยืดอายุผักผลไม้ และลดปัญหาขยะอาหาร

โซลูชันด้านสมาร์ทลิฟวิ่ง 
(Smart Living Solutions)

เพื่อการใช้ชีวิตที่สะดวก สบาย สุขภาพดี เอสซีจีจึงพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกันผ่าน IoT 

  • โซลูชันเพื่ออากาศสะอาดและประหยัดพลังงาน 

สำหรับกลุ่มอาคาร (Smart Building) ได้แก่ SCG Bi-ion และ SCG HVAC Air Scrubber ติดตั้งแล้วที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จัดการประชุม APEC 2022 Thailand ห้างสรรพสินค้า อาทิ เทอร์มินอล 21 เซ็นทรัล อยุธยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ศิริราช ราชวิถี ราชพิพัฒน์ และสถาบันการศึกษา อาทิ วชิราวุธวิทยาลัย กลุ่มที่อยู่อาศัย บ้าน/คอนโดฯ (Smart Home Solution) ได้แก่ SCG Active Air Quality และ SCG Active AIRflow™ System โซลูชันการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อน โดยควบคุมผ่านเทคโนโลยีระบบ Trinity  

  • ระบบดูแลสุขภาพและความปลอดภัยด้วย DoCare 

เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อบ้านกับโรงพยาบาล ส่งข้อมูล ติดตามอาการ - ปรึกษาแพทย์แบบเรียลไทม์ พร้อมระบบขอความช่วยเหลือ แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ เช่น หกล้ม 

ระบบดูแลสุขภาพ DoCare ภายใต้ร่มเงาของเอสซีจี มีผู้ใช้งานจริงทั้งในบ้าน ในโรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลวิมุต

  • เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความเป็นอยู่ให้ง่ายและสบายยิ่งขึ้น 

เช่น COTTO X ONE ก๊อกน้ำอัจฉริยะพูดได้ มีระบบสั่งการเปิด-ปิดด้วยเสียง “Voice Interface” ประหยัดน้ำ และลดการสัมผัสที่เสี่ยงต่อเชื้อ และ BCI (brain-computer interface) สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสภาพการอยู่อาศัย ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง และติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้สะดวกขึ้น 

โซลูชันหุ่นยนต์อัจฉริยะ 
(Artificial Intelligence Solutions) 

ช่วยทั้งด้านการลดต้นทุน ลดการใช้เวลา แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตได้

  • Smart Farming ครบวงจร 

เป็นธุรกิจที่เติบโตในช่วงที่ผ่านมา 20% โดย สยามคูโบต้า ส่งเสริมเกษตรกร เพิ่มผลผลิต การเพาะปลูกแม่นยำ ช่วยให้ประหยัดต้นทุน ด้วยเทคโนโลยี IoT อาทิ รถปลูกผักอัตโนมัติ แทรกเตอร์ไร้คนขับ และยังมีแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาด ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

SCG : The Next Chapter'เครื่องคัดแยกกุ้ง' ด้วยเทคโนโลยี AI ก่อนส่งกุ้งไปเป็นวัตถุดิบในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 

  • เครื่องจักรกล-ออโตเมชั่น 

ให้บริการออกแบบ ผลิตเครื่องจักรกลให้โรงงานต่างๆ ที่มีความต้องการที่หลากหลาย ให้ใช้เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning ตั้งแต่กระบวนการผลิต ประกอบ บรรจุ ลำเลียงและระบบคลังสินค้า อาทิ เครื่องจักรกลช่วยไลน์ประกอบรถยนต์  หุ่นยนต์ช่วยจัดเรียงสินค้า เครื่องคัดแยกกุ้ง  

“ผมเชื่อมั่นว่า ทุกโซลูชันที่เอสซีจีพัฒนาขึ้น จะช่วยให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตอย่างประหยัด ปลอดภัย สะดวก และยังส่งต่อทรัพยากรให้คนรุ่นถัดไปตามแนวทาง ESG 4 Plus อีกทั้ง ยังคงมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโซลูชันใหม่ๆ อยู่เสมอ พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” คุณรุ่งโรจน์กล่าวปิดท้าย 

นวัตกรรมใหม่ Anura ที่ผู้ใช้งานสามารถตรวจเช็กสุขภาพในแต่ละวันด้วยการสแกนใบหน้า ซึ่งทาง SCG จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ 

จะเห็นว่าโซลูชันของเอสซีจีที่แยกเป็นไลน์ธุรกิจต่างๆ เข้ามาช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกรวนได้หลากหลายมิติ สอดคล้องและตอบโจทย์ทั้งด้าน BCG และ ESG ในการนำพาบริษัทเติบโตต่อไปโดยคำนึงถึง Sustainability ทุกการขยับก้าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...