SEAC ผนึกกำลังผู้บริหารและนักวิจัยจาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่ม Research University Network เสริมความแกร่งในศักยภาพด้วย Hyper-Relevant Skills มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ | Techsauce

SEAC ผนึกกำลังผู้บริหารและนักวิจัยจาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่ม Research University Network เสริมความแกร่งในศักยภาพด้วย Hyper-Relevant Skills มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

รู้หรือไม่ บนบริบทโลกที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเติบโตและร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วเด่นชัด เป็นเพราะการพัฒนาที่แฝงด้วยการวิจัยแทบทั้งสิ้น โดยงานวิจัยจะช่วยขับเคลื่อนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากสถิติของ UNESCO การวิจัยและพัฒนาของประเทศ ทั่วโลกมีมูลค่ารวมกันประมาณ 55 ล้านล้านบาท นำโดย ประเทศสหรัฐอเมริกา 15.6 ล้านล้านบาท จีน 12.2 ล้านล้านบาท และญี่ปุ่น 5.6 ล้านล้านบาท ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา กับการระดมความคิดของนักวิจัยเพื่อวางแนวทาง เรื่อง A Nation Makers การกำหนดโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งของประเทศ จีน กับการประกาศ Made in China 2025 ที่เร่งการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงาน  อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน อุปกรณ์และหุ่นยนต์ควบคุมด้วยตัวเลข  และอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ในอนาคต เป็นต้น

นอกจากนั้น จากข้อมูลสถิติโลกทั่วโลกพบว่าประเทศที่ลงทุนและให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและวิจัยสามารถผลักดันอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่เมื่อย้อนกลับมาในบริบทของประเทศไทยเรายังมีความเข้าใจเรื่องความสำคัญของงานวิจัยในวงแคบ ผลงานวิจัยกว่า 80 – 90% ของไทยยังคงมาจากสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว รวมถึงการทีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ มีแนวทางการทำงานที่แตกต่างทำให้ขอบเขตการพัฒนา และประสิทธิภาพของการทำวิจัยยังไม่รวดเร็วพอเพียงต่อการเปลี่ยนแปลง ผนวกกับการได้งบประมาณการลงทุนเพื่อการวิจัยที่จำกัดคือเพียง 1% ของ GDP ประเทศ การมีบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาที่ค่อนข้างจำกัดคือเพียง 11 คน ต่อประชากร 10,000 คน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้งานวิจัยของนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศที่จะตอบสนองต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นเป็นไปได้ช้า จึงนับเป็นความท้าทายของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาผลงานวิจัยจากนักวิจัยไทยให้มีคุณภาพ มีความทันยุคสมัย ประยุกต์ใช้งานได้จริง โดดเด่น ดึงดูดความสนใจในวงกว้างของตลาดได้ ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยขึ้นหิ้ง สามารถต่อยอดได้   และเพิ่มโอกาสในการได้รับเงินลงทุนมากขึ้น มุ่งสู่ปลายทางในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเงื่อนไขนี้จะเกิดได้นั้นต้องอาศัย ทั้งเรื่องความสามารถทางวิชาการของนักวิจัย รวมทั้งการเสริมสร้าง Hyper-relevant Skills หรือทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ด้วยพันธกิจของ SEAC เรื่อง Empower Lives Through Learning เราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีโอกาสบรรลุทุกๆ เป้าหมายของชีวิตได้หากมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การร่วมมือกับ Research University Network (RUN) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มนักวิจัยไทยจาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมทักษะ Reskill & Upskill ให้กับผู้บริหาร นักวิจัยและบุคลากรผ่านทาง YourNextU จึงถือเป็นก้าวสำคัญของ SEAC กับการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเติมเต็ม Hyper-relevant Skills ให้กลุ่มนักวิจัยชั้นนำซึ่งถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของประเทศในการขับเคลื่อนความยั่งยืน และความแข็งแรงในเชิงเศรษฐกิจ

จากประสบการณ์กว่า 28 ปีในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรมากว่า 1.5 ล้านคน SEAC เชื่อว่าด้วยความชำนาญในเรื่อง Hyper-relevant Skills เราจะช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยให้กับนักวิจัยไทย ซึ่งเมื่อประกอบกับความสามารถด้านวิชาการที่นักวิจัยจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ผลลัพธ์ที่ออกมา                       

จะเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของงานวิจัยที่ผลิตโดยนักวิจัยไทย สร้างสรรค์ให้ผลงานวิจัยกลายเป็นเรื่องราวที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือประชาชนให้ความสนใจ และเห็นความสำคัญว่าจะนำมาสู่นวัตกรรมของประเทศ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในทุกๆ มิติในระดับโลก”

รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) กล่าวว่า “เครือข่าย RUN มุ่งทำงานด้วยการรวบรวมองค์ความรู้ความสามารถจากนักวิจัยทุกมหาลัยในเครือข่าย เพื่อสร้างการแบ่งปันทางองค์ความรู้ เน้นทำงานร่วมกันเป็นทีมผ่านโจทย์วิจัยครอบคลุม 10 คลัสเตอร์ ได้แก่ คลัสเตอร์อาเซียน (ASEAN) คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร (Agriculture) คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร (Functional Food) คลัสเตอร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ (Climate change) คลัสเตอร์พลังงาน (Energy) คลัสเตอร์สุขภาพ (Health) คลัสเตอร์วัสดุ (Material Science) คลัสเตอร์หุ่นยนต์ (Robotics) คลัสเตอร์ดิจิทัล (Digital) และคลัสเตอร์โลจิสติกส์ (Logistics) 

โดยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) ให้ข้อมูลว่าเสริมว่า “RUN นับเป็นองค์กรความร่วมมือที่สร้างสรรค์งานวิจัยออกมามากมาย ภายใต้การสนับสนุนและสร้างงานวิจัยระดับชาติผ่านโจทย์วิจัยที่หลากหลาย อาทิ โครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน (Haze Free Thailand) เพื่อแก้ปัญหาหมอกควันที่เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) กับการค้นหา แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรูปแบบใหม่ที่แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยได้จำเพาะถึงรายบุคคล ระบบหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robots for Stroke Rehabilitation) เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) กับการสร้างระบบฐานข้อมูลเกษตรดิจิตอลเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม และอีกมากมาย ซึ่งทีมงาน RUN เล็งเห็นว่าความสามารถในเชิงวิชาการของนักวิจัยจะถูกยกระดับขึ้นไปได้ไกลกว่าเดิม     หากได้รับการ UPSKILL เสริมความพร้อมในมุม Hyper-relevant Skills เพื่อให้มีความเท่าทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในมุม mindset และ skillset RUN จึงได้ร่วมมือกับ SEAC ในโครงการนี้เพื่อต้องการสร้างกลไกที่ขับเคลื่อนศักยภาพนักวิจัยไทย มุ่งหวังทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณงานให้มีความเข้มแข็ง ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เท่าเทียมระดับสากล”


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...