ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ดูแล real estate-backed ICO มีผลตั้งแต่ 1 มี.ค. 64 | Techsauce

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ดูแล real estate-backed ICO มีผลตั้งแต่ 1 มี.ค. 64

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงเกณฑ์กำกับดูแลการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (real estate-backed ICO) ให้เทียบเคียงได้กับกรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564

เนื่องจากการออกเสนอขาย real estate-backed ICO มีรูปแบบการระดมทุนและการให้ผลประโยชน์ที่คล้ายคลึงกับ REITs  แต่หลักเกณฑ์กำกับดูแล real estate-backed ICO เกี่ยวกับกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนยังแตกต่างจาก REITs เช่น ยังไม่มีกลไกติดตามดูแลการบริหารจัดการทรัพย์สินและคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เป็นต้น

ก.ล.ต. จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์กำกับดูแล real estate-backed ICO ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินการระยะสั้นเพื่อยกระดับการกำกับดูแลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และให้มีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยมีการรักษาสิทธิของผู้ลงทุนอย่างเป็นธรรมภายใต้กฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์การลงทุน รวมถึงให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจ (business model) ของเอกชน ซึ่งเป็นไปตามแผนงานระยะสั้นของสำนักงาน ดังนี้

     1. เพิ่มสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัพย์สินอ้างอิง จากเดิมที่มีเพียงอสังหาริมทรัพย์และหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของสิทธิออกเสียงของ SPV นั้น 

     2. ปรับปรุงจำนวนหรือมูลค่าการลงทุนให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยเพิ่มทางเลือกเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของทั้งโครงการ หรือไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จากเดิมที่กำหนดเฉพาะด้านสัดส่วนของการลงทุน 

     3. กำหนดให้ผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (issuer) มีหน้าที่เพิ่มเติมในการบริหารจัดการทรัพย์สิน และต้องมีกลไกคุ้มครองสิทธิของผู้ลงทุน เช่น มีความพร้อมด้านบุคลากรและระบบงานเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

     4. กำหนดให้ทรัสตีมีหน้าที่เพิ่มเติม เช่น ติดตามดูแลการบริหารจัดการทรัพย์สินของ issuer ให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยทรัสตีต้องมีความพร้อมและเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีมาตรการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป


แหล่งที่มา : SEC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...