SEEQC สตาร์ทอัพด้าน Quantum เปิดตัวชิปประมวลผลที่สามารถทำงานในอุณหภูมิต่ำกว่าในอวกาศได้ | Techsauce

SEEQC สตาร์ทอัพด้าน Quantum เปิดตัวชิปประมวลผลที่สามารถทำงานในอุณหภูมิต่ำกว่าในอวกาศได้

SEEQC สตาร์ทอัพ Quantum Computer ในนิวยอร์ก ประกาศกับสื่อมวลชนว่าสามารถ พัฒนาชิปดิจิทัลที่สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิที่เย็นกว่าในอวกาศ(โดยปกติแล้วอุณหภูมิในอวกาศจะอยู่ที่ -270 องศาเซลเซียส) และสามารถใช้กับโปรเซสเซอร์ควอนตัมซึ่งโดยปกติแล้ว จะอยู่ในห้องแช่แข็ง(Cryogenic chamber)เนื่องจากมีอุณหภูมิที่สูงมากเวลาที่โปรเซสเซอร์ทำงาน 

ชิปดิจิทัลของ SEEQC นี้ถูกผลิตขึ้นในโรงงานผลิตของ SEEQC ในเมืองเอล์มสฟอร์ด โดยใช้แผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน แต่ไม่ได้ใช้ทรานซิสเตอร์ John Levy ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ SEEQC กล่าว 

ทำความรู้จัก SEEQC 

SEEQC เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี2561โดยทำในด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมมีหลักการพื้นฐานคือส่งมอบโซลูชันการประมวลผลแบบควอนตัมที่สามารถปรับขนาดได้ในเชิงพาณิชย์และคุ้มค่าและยังสามารถระดมทุนไปได้ รวม 30 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุน รวมถึง M Ventures ของ Merck และ LG Tech Ventures

ความท้าทายครั้งสำคัญ

ความท้าทายที่สำคัญประการแรกในการสร้างชิปนี้ คือ ตัวประมวลผลควอนตัมที่มีควอนตัมบิต หรือที่เรียกกันว่า Qubits (คิวบิต) ส่วนใหญ่จะต้องเก็บในอุณหภูมิที่เย็นจัดใกล้กับ 0 เคลวินหรือ

 -273.15 องศาเซลเซียส ถ้าหากเป็นคอมพิวเตอร์ปกติจะไม่ต้องเก็บในอุณหภูมิที่เย็นเฉียบแบบนั้น

ทุกวันนี้สายไฟเชื่อมต่อโปรเซสเซอร์ควอนตัมในห้องแช่แข็งกับคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกในอุณหภูมิห้อง แต่การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจส่งผลทำให้ความเร็วในการทำงานของเครื่องนั้นช้าลง และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ SEEQC ได้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมด้วยวิธีนี้อีกทั้งกำลัง แก้ปัญหาด้วยชิปประมวลผลแบบใหม่ 

"หากคุณกำลังพยายามสร้างศูนย์ข้อมูลและหากนั่นคือเป้าหมายของคุณ มันยังไม่เพียงพอ ที่จะใช้การออกแบบจากต้นแบบในยุคแรกและพยายามปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น" 

John Levy กล่าวให้สัมภาษณ์กับ Reuter 

โดยตัวชิปประมวลผลชิ้นแรกที่เปิดตัวเมื่อวานนี้ติดตั้งอยู่ใต้โปรเซสเซอร์ควอนตัมโดยตรงและควบคุม qubits พร้อมกับอ่านผลลัพธ์ไปด้วย

ในทำนองเดียวกันยังมีชิปประมวลอีกสองชิ้นที่อยู่ระหว่างการพัฒนาซึ่งจะทำให้อยู่ในอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเพียงเล็กน้อยในห้องแช่แข็งทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นต่อการคำนวณควอนตัม 

เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้จะเป็นอีกก้าวที่ช่วยให้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ง่ายขึ้นอีกทั้งยังมีประสิทธิภาพเนื่องจากห้องแช่แข็งแต่ละห้องจะสามารถรองรับคิวบิตในจำนวนที่มากขึ้นได้ 

ปัจจุบันตัวนำยิ่งยวดของควอนตัมคอมพิวเตอร์ (superconducting quantum computer) มีอยู่หลายร้อยคิวบิตแต่บางคนก็ประมาณการว่าอาจต้องใช้จำนวนมากถึงหลายพันคิวบิตหรือไปถึงล้านคิวบิตเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัม เพื่อเรียกใช้อัลกอริทึมที่เป็นเป็นประโยชน์ได้ 

อ้างอิง

Reuters

SEEQC




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...