สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลวิกฤตชิปขาดแคลนต่อเนื่อง | Techsauce

สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลวิกฤตชิปขาดแคลนต่อเนื่อง

ความขัดแย้งยาวนานต่อเนื่องระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้ส่งผลกระทบที่หนักหน่วงต่อประเทศคู่ขัดแย้งและขยายวงกว้างสู่ประเทศใกล้เคียง แรงกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจนำไปสู่ปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมพื้นฐานที่จำเป็นของภาคการผลิตในประเทศต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สถานการณ์ความขัดแย้งซ้ำเติมให้วิกฤตชิปขาดแคลนกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง จากผลของสงครามการค้าในปี 2018 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ต่อด้วยการแพร่ระบาดของโรค COVID19 ทั่วโลกในปี 2019 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ชิปขาดตลาด ทางออกปัญหาวิกฤตสินค้าไอทีทั่วโลก

เซมิคอนดักเตอร์

ชิปเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ถือเป็นส่วนประกอบจำเป็นในการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม อุปกรณ์สินค้าด้านไอทีที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันไปจนถึงระบบความมั่นคงทางการทหารของประเทศ สามารถกล่าวได้ว่าเซมิคอนดักเตอร์มีความเกี่ยวข้องกับหลายอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศนั้น ๆ 

ทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศผู้ผลิต 

กล่าวได้ว่า เป็นทรัพยากรที่มีนัยสำคัญและมีความซับซ้อนในห่วงโซ่การผลิตทั่วโลก รัสเซียและยูเครน สองประเทศคู่ขัดแย้งมีบทบาทในการเป็นทั้งซัพพลายเออร์และผู้ครอบครองแหล่งทรัพยากรหลักของอุตสาหกรรมก๊าซ น้ำมัน เหล็กกล้า รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญในการผลิตชิปเซมิคอนดัคเตอร์อย่างพาลาเดียมและก๊าซนีออน ถึงแม้ว่ารัสเซียจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ แต่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรหลักซึ่งจำเป็นในการผลิตประกอบชิ้นส่วน รวมถึงมีส่วนในการออกแบบชิปให้กับหลายประเทศ

บทบาทรัสเซียต่อตลาดชิปเซท

รัสเซียเป็นครอบครองแร่สำคัญๆในตลาดโลก ได้แก่ พาลาเดียม 42.8% แพลตตินัม 14.2% นิกเกิล อะลูมิเนียม และเหล็กกล้าดิบอยู่ที่ 5.4%, 9.3% และ 4% ตามลำดับ ข้อมูลจาก Techcet บริษัทที่ปรึกษาด้านวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้คำแนะนำผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกบางรายรวมถึง Intel และ Samsung ระบุว่า รัสเซียเป็นซัพพลายเออร์พาลาเดียมรายสำคัญร่วมกับแอฟริกาใต้ และมีอุปทานถึง 33% ของความต้องการทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมียูเครนเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่จัดหา Semiconductor-Grade Neon ให้ถึง 90% และพาลาเดียมอยู่ที่ 35% จากรายงานล่าสุด London Metal Exchange ระบุถึง ผลพวงของวิกฤตความขัดแย้งรัสเซียยูเครนทำให้มูลค่าของโลหะประเภทต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะ ทองแดงมีราคาเพิ่มขึ้นและสร้างสถิติสูงสุดใหม่ในรอบหลายเดือน พาลาเดียมเพิ่มขึ้นถึง 15%  นิกเกิลที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีราคาเพิ่มขึ้นกว่า 70% หรือประมาณ 25,000 ดอลลาร์ต่อตัน อะลูมิเนียมพุ่งขึ้นมากกว่า 3% ทำสถิติสูงสุด 3,450 ดอลลาร์ต่อตัน

ด้านของ Joe Pasetti รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะระดับโลกของกลุ่มผู้ผลิตชิปและอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกา (SEMI) ระบุถึงการประเมินความเสี่ยงต่อกระบวนการผลิตชิปต่อสมาชิกในสมาคม และกล่าวถึงความช่วยเหลือและการหาทางออกร่วมกันในฝั่งตะวันตก โดยยืนยันจะไม่หยุดการผลิต นอกจากนี้ทำเนียบขาวได้ออกรายงานเตือนให้ซัพพลายเออร์ชิปเซมิคอนดัคเตอร์ กระจายการกักตุนวัตถุดิบและการส่งออกใหม่ เพื่อตอบโต้กับมาตราการปิดกั้นการเข้าถึงวัสดุ เพื่อให้แน่ใจว่าหากรัสเซียดำเนินการขัดขวาง Supply Chain บริษัทเทคโนโลยีและภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐจะสามารถปรับตัวรองรับการหยุดชะงักได้โดยอาศัยการทำงานร่วมกับบริษัทผู้ผลิตและจัดหารายอื่น ๆ

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่มีการปรับแผนรองรับวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา อาจไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่ากับตัวกลางที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบชิ้นส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์ หากรัสเซียเคลื่อนไหวตอบโต้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ อาจนำไปสู่ความชะงักงันของระบบโลจิสติกส์ ทำให้บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากรัสเซียต้องหยุดการผลิตหรือกำหนดราคาที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อของประเทศผู้นำเข้า เป็นเหตุให้ซัพพลายเออร์ทั่วโลกต้องปรับนโยบายการดำเนินการ และมองหาทางเลือกอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาต่อไป

ที่มา Reuters,  Nikkei Asia ,  CNBC

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NVIDIA เปิดตัว Jetson Orin Nano Super Developer Kit ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI จิ๋ว เตรียมใช้ในหุ่นยนต์ AI

NVIDIA กำลังก้าวไปในสู่โลกของหุ่นยนต์อย่างเต็ม หลังเมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวของสำคัญหลายอย่างทั้ง Blackwell ชิปกราฟิกประสิทธิภาพสูงสำหรับประมวลผล AI โดยเฉพาะ ไปจนถึง Pro...

Responsive image

Openspace กองทุนแห่ง SEA ตั้งเป้า 2 ปี ลงทุนสตาร์ทอัพไทยไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

โอเพ่นสเปซ (Openspace) กองทุนที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ SEA ประกาศแผนลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ทอัพไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ในช่วงปี พ.ศ. 2568 - 2569...

Responsive image

ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือ! Honda-Nissan เตรียมควบรวมกิจการ

รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณารวมตัวกันภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงในเร็วๆ นี้ โดยมีแผนจะดึงมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่นิสสันถือหุ้น 24% เข้ามาร่วมด้วย เพื...