อาเซียนร่วมใจ แสงแห่งความหวัง สู่พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในเวทีโลก | Techsauce

อาเซียนร่วมใจ แสงแห่งความหวัง สู่พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในเวทีโลก

ท่ามกลางกระแสโลกที่ผันผวน ภูมิภาคเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพลวัตและโอกาสอย่าง 'อาเซียน' กำลังฉายแสงเจิดจ้าบนเวทีโลก ในการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อไม่นานมานี้ การเสวนาหัวข้อ 'ASEAN: Even Stronger Together' หรือ อาเซียนยิ่งร่วมใจ ยิ่งก้าวไกลไปด้วยกัน ที่รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลก ร่วมกันเปิดประตูสำรวจอนาคตของภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและความท้าทายนี้

Session นี้ร่วมเสวนาโดย Julie Bishop ทูตพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติประจำเมียนมา Merit Janow ประธานกรรมการบริหาร Mastercard, Muhammad Yunus ผู้ก่อตั้ง Grameen Bank, Børge Brende ประธาน World Economic Forum, Pham Minh Chinh นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และ Anwar Ibrahim นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ร่วมสำรวจเชิงลึกถึงศักยภาพ ความท้าทาย และวิสัยทัศน์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในเวทีโลก

ASEAN: แสงแห่งความหวังและการเติบโต

ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและปัญหามากมาย เรามักจะรู้สึกว่า "ความหวัง" นั้นเลือนลาง แต่เมื่อคุณได้มาสัมผัสภูมิภาคอาเซียน คุณจะสัมผัสได้ถึง "บรรยากาศของการเติบโต" ที่มาพร้อมกับ "โอกาสในการลงทุน" และ "ความหวัง" ที่สดใส' นี่คือสิ่งที่ Børge Brende ประธาน World Economic Forum มองเห็นในภูมิภาคอาเซียน

โดยชี้ให้เห็นว่า อาเซียนซึ่งมีประชากรกว่า 700 ล้านคน กำลังกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดในโลก โดยมี 'การค้าดิจิทัลและการบริการ' เป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วแซงหน้าการขายสินค้าแบบเดิมๆ ถึงสามเท่า นอกจากนี้ Børge Brende ยังเน้นย้ำถึงการปรับตัวของอาเซียนเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความร่วมมือระหว่าง World Economic Forum กับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในด้านนี้

ASEAN ในมุมมองของผู้นำในภูมิภาค

ความไว้วางใจคือรากฐานของความสำเร็จ

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Anwar Ibrahim ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "ความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างผู้นำ" ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายกย่องและเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถทำงานร่วมกันได้แม้ในประเด็นที่ละเอียดอ่อน เช่น สถานการณ์ในเมียนมา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการให้ความสำคัญกับ พลังงาน เทคโนโลยีทางเลือก และดิจิทัล เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน “เราในอาเซียนรู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ เป็นสิ่งที่สำคัญต่ออนาคตของเรา" นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Anwar Ibrahim กล่าว

ASEAN ต้องทะเยอทะยานและก้าวข้ามอุปสรรค

นายกรัฐมนตรีเวียดนาม Pham Minh Chinh ได้เรียกร้องให้อาเซียน "มีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมากขึ้น และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น" โดยให้ความสำคัญกับ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างแท้จริง ในยุค AI เราไม่สามารถเติบโตในอัตราที่ปานกลางได้ เราต้องเผชิญกับความท้าทายที่แตกต่างกันมากมาย และนั่นต้องอาศัยการตอบสนองที่เหมาะสมมากขึ้น" เขายังเน้นถึงความสำคัญของความสามัคคีในความหลากหลาย เพื่อให้ภูมิภาคเติบโตไปด้วยกัน “เราต้องเชื่อมต่อกัน ไม่ใช่แค่ภายในเวียดนามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิภาคและโลกที่กว้างขึ้น" นายกรัฐมนตรีเวียดนาม Pham Minh Chinh กล่าว

โอกาสและความท้าทายของ ASEAN

ประธานกรรมการบริหาร Mastercard Merit Janow ได้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลของอาเซียนในด้าน  เศรษฐกิจดิจิทัล ในฐานะที่ภูมิภาคนี้เป็น "ตลาดอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก" โดยได้ชื่นชมความพยายามของอาเซียนในการสร้างกรอบแนวคิดสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาค ซึ่งมีศักยภาพที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนได้อีกเท่าตัว นับเป็นโอกาสที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

อย่างไรก็ตาม อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย Julie Bishop ทูตพิเศษของสหประชาชาติประจำประเทศเมียนมา ได้เน้นย้ำว่า สถานการณ์ในเมียนมาเป็นบททดสอบของ 'วิถีอาเซียน' ว่ารัฐสมาชิกจะสามารถช่วยเหลือสมาชิกที่อยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายได้อย่างไร นอกจากนี้ยังกล่าวว่า สิ่งที่อาเซียนทำก็คือความเป็นกลาง, การใช้บทบาทอิทธิพล, การพูดคุย และการทูต โดย Julie Bishop เชื่อว่า “หากร่วมแรงร่วมใจด้วยกันแล้ว  อาเซียนจะสามารถนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน”

สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันด้วยธุรกิจเพื่อสังคม

ศาสตราจารย์ Muhammad Yunus ได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันการเงินและการส่งเสริม แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Entrepreneurship เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้นในภูมิภาค เขากล่าวว่าเราควรสร้างแนวทางของเราเอง ไม่ใช่แค่ทำตามรอยเท้าเดิม ๆ ของตะวันตก และต้องออกแบบระบบการเงินให้เข้าถึงทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย โดยยังเน้นว่าการศึกษาควรเตรียมคนให้เป็นผู้ประกอบการ ไม่ใช่แค่การหางานและควรสร้างสังคมที่มุ่งเน้นการแบ่งปันความมั่งคั่งและสร้างสังคมที่ดีขึ้น

จากการเสวนาครั้งนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของภูมิภาคอาเซียนในเวทีโลก และความมุ่งมั่นของภูมิภาคในการเผชิญหน้ากับความท้าทายและสร้างอนาคตที่สดใสผ่านการรวมพลัง ความร่วมมือ และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก การเสวนาครั้งนี้ได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างอาเซียนที่เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของภูมิภาคและประชาชนทั่วอาเซียนทุกคน

*บทความนี้สรุปจาก Session ASEAN: Even Stronger Together หมวด Rebuilding Trust จากงาน World Economic Forum 2025

อ้างอิง: weforum.org

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปภารกิจนายกฯ บนเวทีโลก ในงานประชุม World Economic Forum 2025

นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในงาน World Economic Forum (WEF) 2025 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2025 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในร...

Responsive image

สรุป FTA ไทย-EFTA คืออะไร ? ส่งผลอย่างไรกับประเทศ ? และไทยจะได้จากข้อตกลงครั้งนี้ ?

ปี 2025 เป็นอีกปีที่ไทยได้เข้าร่วมงานประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส โดยในปีนี้ นายกฯ แพทองธาร ได้ไปปฏิบัติภารกิจสำคัญหลายอย่างทั้งการประชุมกับผู้นำโลก เผยแพร่ซอฟต์พาวเวอ...

Responsive image

เมืองไทยประกันชีวิต ชูกลยุทธ์ "Boost Your Happiness by Our People" เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ ตอกย้ำผู้นำแบรนด์ยั่งยืน

เมืองไทยประกันชีวิต เปิดตัวกลยุทธ์ปี 2568 "Boost Your Happiness by Our People" บูสท์ความสุขของคุณด้วยคนของเรา ผ่านความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ในทุกช่วงชีวิต และประสบการณ์การ...