หลังจากเปิดบริการมาเพียงแค่ปีกว่า SHIPPOP สตาร์ตอัพสัญชาติไทย ผู้ให้บริการด้านรวบรวมบริษัทขนส่ง หรือ Shipping Gateway เผยปี 2017 ที่ผ่านมามียอดเติบโตสูงถึง 635% ขยายตลาดสู่มาเลเซีย-สิงค์โปร์ได้สำเร็จ และมีรายได้อยู่ที่ 70 ล้านบาท กำไรต่อเนื่อง 8 เดือน ตั้งเป้าเป็นอันดับหนึ่งในการเชื่อมต่อระบบขนส่งใน ASEAN เดินหน้าขยายแผนธุรกิจสู่ตลาดโลก
คุณสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ CEO SHIPPOP (ชิปป๊อป) กล่าวว่า เป็นบริษัทสตาร์อัพด้าน Shipping Gateway สัญชาติไทยรายแรก ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2015 และเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2016 ภายใต้แนวคิดที่มุ่งแก้ปัญหาด้านการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ประกอบการที่ต้องใช้งานระบบ Logistics 6 ข้อ ได้แก่
โดย SHIPPOP ได้รับการสนับสนุนหลักจาก บริษัท Efrastructure ประเทศไทย และบริษัท อีโลจิส ประเทศญี่ปุ่น เปิดให้บริการด้านระบบโลจิสติกส์ครบวงจรบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เราทำหน้าที่เป็น Shipping Gateway ที่มี API (Application Programming Interface) สามารถเชื่อมโยงทุกระบบขนส่งมาไว้ในระบบเดียว พร้อมเชื่อมต่อกับ Marketplace หรือเว็บไซต์ต่างๆ ได้ทันที โดยผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลยังสามารถทำรายการบนเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง โดย SHIPPOP ชูข้อดีของระบบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่
ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้ระบบขนส่งที่เหมาะกับสินค้าและบริการแต่ละประเภทได้อย่างลงตัวมากขึ้น ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการค่าขนส่งได้ดียิ่งขึ้น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีระบบที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าประเภทนิติบุคคลสามารถเลือกที่จะวางบิล (Billing Payment) เป็นรายเดือนได้อีกด้วย
คุณสุทธิเกียรติ ยังได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลประกอบการเมื่อปี 2017 ออกมาดังนี้
SHIPPOP ยังเผยถึงรางวัลที่ได้รับจากการประกวดในเวที Startup ต่าง ๆ มากมาย โดย 3 รางวัลสำคัญ ได้แก่
เป้าหมายในปี 2018 วางแผนเตรียมขยายตลาดไปสู่ประเทศกัมพูชา, เวียดนาม, พม่า, ลาว, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมถึงตั้งเป้าหมายว่าปีนี้รายได้ปีนี้จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 70 ล้านบาท สู่ 140 ล้านบาท
โดย 3 ปีข้างหน้า วางแผนเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจร (One-Stop-Service) ด้าน E-Logistics ในภูมิภาค ASEAN โดยหวังให้การขนส่งสินค้าจากต้นทางไปปลายทางไร้รอยต่อ นอกจากนี้เตรียมขยายไปนอก ASEAN อีกด้วย
คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมลงทุนของ SHIPPOP เป็นผลผลิตของคนรุ่นใหม่อายุ 24-25 ปี สามารถทำรายได้ให้ถึง 70 ล้านต่อปี เป็นข้อพิสูจน์ว่าที่ภาครัฐผลักดันได้ผล เราถือเป็น Vertical Market ในด้าน Logistics มันมีโอกาสสูงมากและเราเป็น First Mover ของ Market นี้อีกด้วย
คุณภาวุธ กล่าวว่า
เราทำกำไรได้เรียบร้อยแล้ว Startup หลายที่สะกดคำว่ากำไรไม่เป็น พูดกำไรได้ไม่เต็มปากเต็มคำ เราอยากให้เห็นว่าคนอื่นเห็นว่าเราคือ Rising Star ดูได้จากการเติบโตของ SHIPPOP ตอนแรกเรามีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท ตอนนี้มูลค่าบริษัทเราอยู่ที่ 300 ล้านบาทแล้ว ถือว่าโตเร็วมาก
คุณภาวุธระบุว่าในปี 2018 ตลาด E-Commerce จะมีการแข่งขันสูงขึ้น ดังจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้ว่า ในปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจ Marketplace ที่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมีการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งแคมเปญ ส่งเสริมการขาย รวมถึงโปรโมชั่นการจัดส่งสินค้าฟรี อีกทั้งเมื่อต้นปี 2018 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ได้อนุญาตให้ธนาคารต่างๆ สามารถให้บริการ E-Commerce ได้ ซึ่งจะทำให้ตลาดนี้แข่งขันกันรุนแรงยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีผู้เล่นในตลาดมากขึ้น
ทำให้ธนาคารต้องกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพราะไม่มีทางเลือกแล้ว ต้องทำเพื่อปกป้องฐานลูกค้า และเรียนรู้ฐานลูกค้าของตัวเองว่าเป็นอย่างไร
ส่งผลให้เกิด Logistics ขึ้นมามากตามไปด้วย ซึ่งมี Logistics อีกหลายรายจากต่างประเทศก็เข้ามาแข่งขันในไทย รวมไปถึงมีธุรกิจ Shipping Gateway เข้ามาแข่งอีกเช่นกัน แต่คุณภาวุธก็แสดงความมั่นใจว่า SHIPPOP เป็น Partner กับ Logistics ทุกราย และการเป็นผู้เล่นรายแรกในตลาดที่ยังวิ่งไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้บริการนี้ยังก้าวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
Techsauce ได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับคุณธีรวุฒิ จันทดิษฐ์ COO ของ SHIPPOP โดยระบุว่า จากการที่ภาครัฐมีนโยบาย Thailand 4.0 รวมไปถึง National e-Payment อย่างพร้อมเพย์ (PromptPay) เป็นระบบการชำระเงิน (Payment) ที่ช่วยให้ E-Logistics และ E-Commerce เติบโตไปพร้อมกันทั้งระบบได้อย่างดี โดยคุณธีรวุฒิ เสนอว่าควรพัฒนาระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ให้มีลักษณะแบบ Billing Payment โดยมี API จะช่วยให้การส่งข้อมูลการชำระเงินทำได้สะดวกมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาระบบของ SHIPPOP และระบบของธุรกิจอื่นๆ สามารถใช้พร้อมเพย์ได้อย่างเต็มระบบ เพื่อช่วยลดค่าธรรมเนียมจาก Billing Payment และช่วยกระตุ้นให้คนไทยใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์มากขึ้นทั้งฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด