Shopee ปลดพนักงาน รัดเข็มขัดหวังกำไร ชี้ ปรับเพื่อไปต่อได้ในระยะยาว | Techsauce

Shopee ปลดพนักงาน รัดเข็มขัดหวังกำไร ชี้ ปรับเพื่อไปต่อได้ในระยะยาว

Shopee ประเทศไทย ประกาศปรับลดเพื่อปรับโครงสร้าง โดยแหล่งข่าวภายในเผยกับ Techsauce ว่า ในขณะนี้ธุรกิจมุ่งการทำกำไรในระยะยาว พร้อมปรับปรุงให้บริษัทเดินหน้าไปต่อได้อย่างมั่นคง โดยการปรับลดพนักงานในครั้งนี้จะไม่กระทบกับการดำเนินงานหลักและไม่มีการยุบหน่วยบริการใดๆ

Shopee รัดเข็มขัด ประกาศปลดพนักงานในไทยอีกครั้งกว่า 300 ราย

ความเคลื่อนไหวก่อนปรับโครงสร้างของ Shopee ทั้งหมดในปี 2022

Shopee เผยกับ Techsauce ว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 26 กันยายน ได้มีการประกาศ Townhall ครั้งใหญ่กับพนักงานในบริษัท โดยเนื้อหาของการประกาศครั้งนี้มีเนื้อหาสำคัญ คือ การปรับโครงสร้างและรัดเข็มขัด ซึ่งที่ผ่านมาได้มีข่าวเกี่ยวกับการปรับลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่ในแผนของการปรับโครงสร้าง รวมทั้งการใช้จ่ายในบริษัท ที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

 โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา Shopee มีความเคลื่อนไหวดังนี้

  • เดือนมิถุนายน ประกาศเลิกจ้างครั้งใหญ่ ในส่วน ShopeePay และ ShopeeFood ซึ่งทีมที่ได้รับผลกระทบบางทีมมีพนักงานโดนเลิกจ้างมากกว่า 50% โดยการเลิกจ้างครั้งนี้มีผลในอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย 
  • เดือนกันยายน ประกาศยุติการดำเนินงานธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Shopee  ใน 4 ประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกา  ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และย้ายออกจากอาร์เจนตินาโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ถึงแนวโน้มโดยรวมของแผนการตลาดและการดำเนินกิจการในภูมิภาคละตินอเมริกาที่กำลังประสบปัญหาอยู่ก่อนหน้านี้ 
    • ธุรกิจเกมภายใต้ Garena ก็ถูกยุติการดำเนินงานแพลตฟอร์มสตรีมเกมไปส่วนหนึ่ง ซึ่งสูญเสียรายได้ในไตรมาสไปเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ ถึงแม้ในปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผลกำไรจากการดำเนินกิจการในฝั่งเกมส์ Garena แต่รายไตรมาสนี้กลับลดลงไปถึง 39% นอกจากนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้ง Sea Labs หน่วยงานด้านการพัฒนาของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ก็ทยอยเลิกจ้างพนักงานและปิดตัวโครงการทดลองบางโครงการ เช่น Blockchain และ Public Cloud
    • ประกาศเลิกจ้างพนักงานในประเทศจีนและอินโดนีเซียไม่เกิน 10% 
    • ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ปรับลดพนักงานในประเทศไทย

ทางด้านผู้บริหาร ระบุ “เป็นการตัดสินใจที่ยากแต่จำเป็น เพราะ Shopee ต้องรัดเข็มขัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มีความแข็งแกร่งในระยะยาว ทำให้ Shopee ไปอยู่ในจุดที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ การปรับลดพนักงานดังกล่าวอยู่ในแผนงานของ Shopee ในภูมิภาคนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการปรับลดพนักงานในภูมิภาค SEA  โดยการปรับครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโดยภาพรวมของบริษัท ทุกอย่างยังคงเดินหน้าต่อ โดยปัจจุบัน Shopee มีพนักงานในไทยประมาณ 1,000 คน”

ก่อนหน้านี้ทาง Sea Group ได้ระบุถึงความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอนในระดับมหภาค มุ่งเน้นกลยุทธ์ในเชิงรุกเพื่อมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแกร่งและความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 

RECAP การดำเนินธุรกิจของ Shopee  

Shopee เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่อยู่ภายใต้ Sea Group โดยมีธุรกิจอื่นๆ ในเครือ ทั้งธุรกิจสื่อบันเทิงดิจิทัล (Digital Entertainment) อย่าง Garena ที่ผลิตเกมออนไลน์ชื่อดังทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์ชื่อดังจำนวนมาก อาทิ ROV, Free Fire, PUBG, League of Legends และธุรกิจให้บริการทางการเงิน Digital อาทิ AirPay, ShopeePay, SPayLater  ต่อมาในปี 2017 Sea Group ได้ขายหุ้น IPO เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ธุรกิจหลักอย่างอีคอมเมิร์ซมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 

ตลอดช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซต้องเผชิญกับการปรับตัวทางธุรกิจต่อค้นหากลยุทธ์เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ Shopee เองมีความพยายามที่จะก้าวกระโดดไปเป็น Super App ไม่ต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นในอุตสาหกรรม ทั้งการขยายบริการสู่ภูมิภาคอื่นๆ หรือขยายการให้บริการเพิ่มขึ้น 

สำหรับการเข้ามาดำเนินการในประเทศไทย  Shopee เปิดตัวบริการใหม่เรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Shopee Pay ที่รีแบรนด์จาก Airpay ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจภายใต้ SeaMoney ของ SEA Group บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ Shopee Express บริการจัดส่งสินค้า และที่พึ่งเปิดตัวล่าสุดอย่าง ShopeeFood บริการรับส่งอาหาร 

จุดเฟื่องฟูของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเกิดใหม่ในปัจจุบันนั้น ต่างต้องเผชิญกับการเผาเงินจำนวนมาก เพื่อเพิ่มยอดการเข้าใช้ในขณะเดียวกันกับแบกต้นทุนที่สูง Shopee มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเพื่อแข่งขันในตลาดอย่างดุเดือด จนกระปัจจุบันที่ราคาหุ้นของ Sea ลดลงจากจุดสูงสุดถึง 80% จากมูลค่าในตลาดที่ลดลง และอัตราการใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ลดลงหลังจากผ่านสถานการณ์โรคระบาด ไม่ใช่แค่ Shopee แต่ทั้งอุตสาหกรรมยังถูกท้าทายอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ถดถอย นอกจากนี้ Shopee ยังต้องเผชิญกับความยากลำบากในการขยายตลาดในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีกฎระเบียบรองรับที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่บริษัทต้องถอนการดำเนินการออกมา ก่อนหน้านี้ เช่น ในอินเดียและฝรั่งเศส 

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จึงต้องติดตามกันต่อไปว่าสนามอีคอมเมิร์ซจะมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทิศทางใดบ้าง เพราะในช่วงที่ผ่านมา ผู้เล่นรายอื่นๆ เริ่มพลิกกลับมามีกำไรแล้วพร้อมติดตามว่า Sea Group และ Shopee ที่ระบุว่ายังคงมีความเชื่อมั่นในการสร้างโอกาสสำหรับการเติบโตในระยะยาวในตลาดได้ดีขึ้นนั้นจะมีทิศทางอย่างไรเพื่อเตรียมการทำกำไรในช่วงหลังจากนี้ 

อ้างอิงข้อมูลจาก 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB EIC เผยผลกระทบจาก Trump 2.0 ฉุดเศรษฐกิจไทยปี 2568 เผชิญความท้าทายด้านการค้า การผลิต และการลงทุน

ในปี 2568 โลกจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายจากผลของนโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งถือเป็นการกลับมาใหม่ในเวอร์ชันที่มีอำนาจบริหารที่แข...

Responsive image

“Betagro Ventures” ร่วมลงทุน “Plantible” รอบ Series B มุ่งสร้างระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม Rubi Protein® ตอบโจทย์อาหารแห่งอนาคต

“BETAGRO Ventures” หน่วยงานด้านการลงทุนและพัฒนานวัตกรรม ภายใต้ “บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” ประกาศความสำเร็จในการร่วมลงทุน “Plantible” รอบ Series B มูลค่า 30 ล้านเหรีย...

Responsive image

ยกเลิกแบน iPhone 16 ไม่ง่าย อินโดฯ ยังไม่พอใจข้อเสนอลงทุน Apple ชี้ยังไม่เป็นธรรมสำหรับประเทศ

เรื่องราวระหว่าง Apple และอินโดนีเซียดูเหมือนจะยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบน iPhone 16 ห้ามวางจำหน่ายในประเทศ ใครใช้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย...