SPACE-F สานฝันอาเซียนสู่ "Food Tech Silicon Valley" เปิดตัว 8 Startup รุ่น 3

ด้วยศักยภาพและภูมิปัญญาด้านอาหารที่เพียบพร้อมของอาเซียนที่เหมาะสมกับการนำไปต่อยอดเพื่อให้คนในวงกว้างได้รับรู้ โดยเฉพาะโอกาสการลงทุนต่อยอดด้านทรัพยากรอาหารในช่วง Food Crisis ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นนี้ ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด จึงได้จัดงาน "SPACE-F batch 3 Accelerator Demo Day" ซึ่งปีนี้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “NIA ยังคงเดินหน้าผลักดันสตาร์ทอัพด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเด่นของประเทศไทยในฐานะการเป็น "ครัวโลก" ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต และช่วยผลักดันสตาร์ทอัพนวัตกรรม Food Tech ให้มีคุณภาพและหลากหลาย โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมอาหารใน 9 เทรนด์หลัก ได้แก่ การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตโปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่ การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร"

สำหรับโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตให้ธุรกิจ Food Tech ระดับโลกแห่งแรกของไทย และภูมิภาคอาเซียน ในการแถลงข่าววันนี้ SPACE-F ได้นำสตาร์ทอัพทั้ง 8 ทีม ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพกลุ่ม Accelerator ได้ร่วมโชว์ผลงาน แสดงศักยภาพด้านการวางแผนธุรกิจ เพื่อให้สามารถขายได้และเป็นที่นิยมของตลาด รวมไปถึงการผลักดันได้โอกาสการลงทุนในอนาคต ประกอบด้วย

POTENT - สารสกัดจากเห็ดป่าเพื่อการปรุงในเครื่องดื่ม
EnerGaia - โปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพจากสไปรูลินา
WeavAir - การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และ IoT เพื่อควบคุมการเน่าเสียของอาหาร
Nabsolute - ไบโอโพลีเมอร์ดัดแปลงในระดับนาโน
Jamulogy - เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามสไตล์อินโดนีเซีย
More Meat - โปรตีนจากพืชทำจากเห็ดแครงและโปรตีนถั่วเหลือง
eniferBio - โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นที่เป็นผลพลอยได้ในกระบวนการผลิต
Mi Terro - บรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ย่อยสลายได้

ทั้งนี้ NIA จะมีบทบาทเป็น "Focal Facilitator" หรือผู้เชื่อมโยงเครือข่ายในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ โดยโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ทำให้มีจุดแข็งที่จะดึงดูดสตาร์ทอัพต่างชาติมาร่วมโครงการได้  SPACE-F ไม่ได้เน้นเพียง Startup platform เช่น food delivery แต่เน้น Deeptech เพื่อมุ่งต่อยอดงานวิจัยให้ใช้ได้จริง เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ประเทศ 

พบกับงาน Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
'Techsauce Global Summit 2022' ขนทัพความรู้จาก Speaker ระดับโลก พร้อมหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
อ่านรายละเอียดได้ที่ https://techsauce.co/news/techsauce-global-summit-2022
ซื้อบัตรได้ที่ : https://summit.techsauce.co/



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมดุสิตธานีขาดทุน 5 ปี เปิดเบื้องหลังที่คนไม่รู้ กับแผนยอมเจ็บเพื่อ Reset ธุรกิจ

เปิดเบื้องหลัง 5 ปีที่ดุสิตธานีขาดทุนและไม่จ่ายปันผล กับแผนรีเซตองค์กรครั้งใหญ่ สู่การเติบโตระยะยาวผ่านโครงการ Dusit Central Park และกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง...

Responsive image

เทคโนโลยีใหม่! แค่ตรวจเลือดก็รู้ผลอัลไซเมอร์ได้แบบไม่ต้องสแกน

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อาจไม่ต้องพึ่ง PET scan หรือการเจาะน้ำไขสันหลังอีกต่อไป! เพราะตอนนี้มีการตรวจเลือดแบบใหม่ ที่ใช้วัดสัดส่วนของโปรตีนในเลือด ที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้...

Responsive image

งานเข้า! งานวิจัย Stanford ชี้ Chatbot 'นักบำบัด' ไม่ได้ฮีลใจ แต่กำลังพาไปสู่หายนะ

ผู้คนหันมาใช้ Chatbot เป็น 'นักบำบัด' มากขึ้น แต่เทคโนโลยีพร้อมสำหรับบทบาทนี้แล้วหรือยัง? งานวิจัยล่าสุดจาก Stanford ฟันธงว่า 'ยังไม่พร้อมอย่างสิ้นเชิง' สำหรับความรับผิดชอบนี้...