สรุปเนื้อหางาน Creative Talk#5: A year in (p)review ช่วง Startup | Techsauce

สรุปเนื้อหางาน Creative Talk#5: A year in (p)review ช่วง Startup

แค่เห็นรายชื่อแขกรับเชิญก็คงจะตาลุกวาวแล้ว เพราะในครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าของผู้นำจากสามโปรแกรมบ่มเพาะของ Telco ยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ดร.ศรีหทัย พราหมณี (คุณออน) จาก AIS The Startup คุณปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา (คุณเอก) จาก True Incube คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ (คุณเหมง) จาก DTAC Accelerate และคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ (คุณหมู) จาก Ookbee Venture Partner และ 500 Startups

งาน Creative Talk ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ประกอบไปด้วยเนื้อหาจากสี่วงการ รวมถึงวงการ Startup ด้วย ครั้งนี้มาในชื่อตอน A year in (p)review โดยเนื้อหาในงานจะเน้นการรีวิวบทเรียนและเรื่องราวที่ผ่านมาในปีก่อนหน้า รวมถึงการพรีวิว อัพเดตเทรนด์และแนวโน้มของวงการสตาร์ทอัพในปี 2016

รีวิวบทเรียนที่ผ่านมาของวงการสตาร์ทอัพ

  • Startups ขอต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะจากแถบภูมิภาค South-East Asia
  • สถานะของวงการในบ้านเราตอนนี้ คือยังโตได้อีก เรายังเล็กกว่าเพื่อนบ้านบางประเทศ อาทิ เวียดนาม
  • วัดผลการเติบโตของวงการ Startup ของบ้านเราในตอนนี้ เมื่อเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน ถือว่าดีกว่าค่ามาตรฐาน แต่ว่ายังขาดแคลน Startup ระดับ Top อยู่ (ตอนนี้ที่ระดมทุนได้เกิน 10 ล้านเหรียญ ยังมีไม่เกินสามเจ้า)
  • คุณภาพของ Startup ที่สมัครเข้าโครงการของทั้งสามค่ายเองสูงมากยิ่งขึ้น Mature มากขึ้นทุกปีๆ
  • นักศึกษาเข้ามามีบทบาทในวงการการแข่งขัน Startup มากขึ้น เริ่มพบนักศึกษาจำนวนมากที่มีความฝันหลังเรียนจบคือการทำ Startup
  • คุณภาพของนักศึกษาที่เข้ามาในวงการก็มีมากขึ้น จากเดิม 2-3 ปีที่แล้ว มักจะสมัครเข้าโครงการด้วยไอเดีย ปัจจุบันนักศึกษามาสมัครด้วย Business ที่เริ่มทำจริงแล้วมากขึ้น มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

อัพเดตแนวโน้มในปี 2016

  • สังคมจะเริ่มรู้จักและสนใจ Startup เพิ่มมากขึ้น
  • จะได้เห็นภาพของเด็กที่เรียนจบแล้วทำ Startup ทันทีเพิ่มมากขึ้น

ทิศทางการสนับสนุนของทั้งสี่เจ้า

  • คุณหมู ณัฐวุฒิ เปิดเผยถึงสไตล์การลงทุนของ 500 TukTuks ว่าลงทุนค่อนข้างกระจายความหลากหลาย ไม่ได้ลงเฉพาะอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ
  • โดยโมเดลธุรกิจไม่จำเป็นต้องเป็นต้องใหม่ ความจริงเป็นโมเดลที่เคยมีแล้วของต่างประเทศยิ่งดี เพราะได้รับการพิสูจน์จากตลาดที่ใหญ่กว่ามาแล้ว
  • ส่วนคุณเอกจาก True Incube ได้ระบุว่าแนวทางการสนับสนุนคือดูจากอุตสาหกรรมที่ทาง True Incube สามารถช่วยผลักดัน สร้าง Market ได้ ได้แก่ Fintech, E-commerce, การทำ Loyalty และ Cloud โดยเฉพาะ Cloud สำหรับ SME
  • สำหรับคุณเหมงจาก DTAC Accelerate ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่าโดยส่วนตัวตนมีความสนใจ Fintech, Education Tech, Healthcare และ Cloud โดยเฉพาะ Cloud สำหรับธุรกิจ SME
  • ดร.ออน กล่าวว่าแนวทางของ AIS The Startup เองก็จะเป็นการสนับสนุน Startup ที่ Singtel Group สามารถช่วยผลักดันได้ ไม่ว่าจะสนับสนุนเพื่อเข้าหาตลาด end-user หรือ ตลาด business
  • แนวทางการสนับสนุนของสามโครงการเหมือนกันคือช่วยสร้างตลาดให้ ช่วยบ่มเพาะสร้างทักษะการทำธุรกิจให้ และช่วยขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศให้
  • สิ่งที่แตกต่างคือ ของ AIS The Startup ไม่ใช่ Equity Funding กล่าวคือเป็นการให้เงินลงทุน ไม่ใช่การร่วมลงทุนในบริษัท
  • สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ทุกคนประกาศชัดเจนว่า ค่ายต่างๆไม่ได้มีเพดานต่อกันนะ Startup ที่เคยเข้าร่วมในโครงการของค่ายหนึ่ง สามารถมีโอกาสรับการสนับสนุนจากอีกค่ายหนึ่งได้ เพราะทุกคนมีเป้าหมายสำคัญคือการช่วยสนับสนุน Startup ไทย

สิ่งที่อยากฝากกับผู้ฟัง

  • ในขณะที่ต่างประเทศ มีการ M&A (ควบรวมกิจการ) บ่อยมาก บริษัทขนาดใหญ่ในไทยน่าจะหันมาสนใจเรื่อง M&A กับบริษัท Startup ให้มากขึ้น
  • ฝากเรื่องการทำ Marketing ของ Startup
    • โดยควรออกไปขายให้ได้เร็วที่สุด
    • และอย่าเพิ่งตัดสินใจว่า Product ไม่เวิร์ค ถ้าแท้จริงแล้วเป็นความผิดพลาดจากการทำการตลาด
  • นอกจากนี้คุณหมูยังฝากอีกสองเรื่องคือ
    • เวลา คือทรัพยากรที่ดีที่สุด จงใช้ให้คุ้มค่า
    • คิดทั้ง positive และ negative คิดว่ายังไงเราก็ต้องรอด ต้องมองตัวเองให้เป็นแมลงสาบ!
  • คุณเอกฝากข้อคิดไว้สี่ข้อ ได้แก่
    • ให้ Startup หา Problem Statement ที่ Scale ได้และสามารถป้องกันตัวเองจาก Startup ของเมืองนอก
    • อย่าลืมวัดผลตัวเองว่าตนมีอะไร และขาดอะไร อย่าลืมความเป็นจริง
    • ให้ความสำคัญเรื่อง Partnership
    • ย้ำอีกรอบว่า ถึง Startup กับ VC จะเคยอยู่ต่างโครงการกัน ก็สามารถลงทุนข้ามกันได้ อย่าแยกค่าย อย่าเกรงใจ ทำธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญกว่า
  • คุณเหมงฝากไว้ว่าอยากให้ Startup มี Passion กับสิ่งที่ตัวเองทำมากพอ เพราะอุปสรรคต่างๆจะเข้ามาเสมอ การจะอยู่กับปัญหาได้นานพอจนคิดวิธีแก้ปัญหาได้นั้น ต้องอาศัย Passion
  • คุณออนฝากไว้สามเรื่องหลักๆ ได้แก่
    • อยากให้ Startup บาลานซ์ระหว่าง Business และ Product ได้ เพราะส่วนใหญ่มักมุ่งแต่การพยายามพรีเซนต์ Product
    • Strategic Plan หรือ Tactic เป็นสิ่ง Startup ไทยมักหลงลืม ไม่ได้ให้ความใส่ใจมากพอ เป็นคำถามที่พี่ออนชอบถามอยู่บ่อยๆ
    • Ecosystem ของไทยเราพร้อมช่วยเหลือกัน ฝากให้รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์

สุดท้ายทุกคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันอีกครั้งว่า อยากให้มีการรวมพลังกันมากขึ้นของกลุ่ม Startup ในไทย เช่น แชร์ข้อมูลและแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น มีความร่วมมือทางธุรกิจกันให้มากขึ้น

ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ Creative Talk Live

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้าได้ หมดกังวลเรื่องหลงลืม

หมดกังวลเรื่องหลงลืม! OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้า บน ChatGPT...

Responsive image

BOI ปรับเกณฑ์ LTR Visa ใหม่ หวังดึง Talent ต่างชาติ-นักลงทุนเข้าไทย

ล่าสุด ครม. อนุมัติบีโอไอ (BOI) ปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษ LTR Visa (Long-Term Resident Visa) หวังดึงบุคคลากรชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่ไทย หวังผลักดันไทยเป็น...

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...