สตาร์ทอัพด้าน Mental health มีแนวโน้มได้รับความนิยม ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ

ถึงการระบาดของ COVID-19 จะคลี่คลายลง นักลงทุน และ Venture capital ต่างยังไม่กล้าทุ่มเงินลงทุนในหลายๆ กิจการ หลังจากช่วงที่ Valuation ของสตาร์ทอัพและบริษัทเทคฯ ต่างๆ สูงลิ่วในช่วงวิกฤตโควิด และได้รับอานิสงส์จากการล็อคดาวน์ อย่าง Zoom และแอปออกกำลังออนไลน์ Peloton ที่เคยได้รับความนิยม พอการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง ตอนนี้กลับประสบกับภาวะกำไรถดถอย แต่ขณะเดียวกันความต้องการในการบำบัดด้านสุขภาพจิตไม่ได้ลดลงตามไปด้วย

จากข้อมูลของ CB Insights ได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีการตกลงซื้อ-ขายดีลธุรกิจหลายกิจการใน Sector ด้าน Mental health tech มากขึ้น

ปัจจัยทางอารมณ์ของผู้คน

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) เหตุการณ์ของความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 25% ตั้งแต่ปีแรกที่ COVID-19 ระบาด และหลังจากภาวะโรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนรู้สึกดีขึ้นในทันทีทันใด นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้การระดมทุนรอบล่าสุดในหลายกิจการให้ความสนใจในแวดวงสตาร์ทอัพด้านสุขภาพจิต

ทั้งนี้ทาง Techcrunch ได้ตั้งข้อสังเกตโดยส่วนตัว ว่าถึงแม้จะมีดีลการระดมทุนด้าน Mental healt เยอะขึ้น เเต่ส่วนใหญ่เป็นในระยะ Early-stage จึงไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่าสตาร์ทอัพด้านนี้จะมีอนาคตไกลกว่าสตาร์ทอัพด้านอื่นแต่อย่างใด ตราบใดที่เรายังไม่ได้เห็นผลประกอบการใน Q2 ฉบับสมบูรณ์ก่อน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการที่บริษัทสตาร์ทอัพเหล่านี้บอกเป็นนัยๆ ถึงแนวทางที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านสุขภาพจิต ซึ่ง VC ยังคงยินดีที่จะลงทุน แสดงให้ทุกคนเห็นว่าแนวโน้มด้าน Mental health tech อาจกำลังจะได้รับความนิยมมากขึ้น

ตัวอย่างสตาร์ทอัพด้าน Mental health ที่เพิ่งได้รับการระดมทุน

สตาร์ทอัพด้าน Mental health เดิมที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น Headspace หรือ Calm ที่เป็นแอปช่วยทำสมาธิ สร้างความสงบ ช่วยเรื่องการนอนหลับ ซึ่งปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 100 ล้านครั้ง มีรูปแบบการหารายได้จากการสมัครสมาชิก นอกจากนี้ยังมีบรรดาสตาร์ทอัพด้าน Mental health อื่นๆ ที่เพิ่งได้รับการระดมทุนอยู่อีกมาก อย่างเช่น 

Aumio สตาร์ทอัพจากเบอร์ลินที่มุ่งเน้นการบำบัดสุขภาพจิตสำหรับเด็ก และการเลี้ยงดูบุตรหลานในครอบครัวโดยใช้ดนตรีบำบัด ได้รับความนิยมในการใช้งานมากกว่า 200,000 ครอบครัว โดย Jean Ochel นักจิตวิทยาที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ก็เป็นผู้ที่เคยมีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) มาก่อนในวัยเด็ก นอกจากนี้ Jean ยังได้รับข้อมูลมาว่า เด็กๆ ทุก 1 ใน 3 คนจะมีปัญหาสุขภาพจิตสะสมอันเป็นผลมาจากช่วงโควิดระบาด ทาง Jean และผู้ก่อตั้งคนอื่นๆ จึงได้จัดทำ Aumio ขึ้น ทั้งนี้ เมื่อราวกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Aumio ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนรอบ Seed round มาทั้งสิ้น 3 ล้านยูโร (ประมาณ 3.21 ล้านดอลลาร์) โดย Partech เป็นผู้ลงทุนหลัก

Nilo.health อีกหนึ่งสตาร์ทอัพจากเยอรมันที่รับฟังปัญหาจากคนวัยทำงาน พูดคุยเรื่องสุขภาพจิตในที่ทำงาน โดยมีหลักสูตร และสามารถนัดปรึกษากับนักจิตวิทยา เพื่อลดความเครียดและความรู้สึก Burnout ในการทำงานได้ เพิ่งได้รับการระดมทุนไป 7.49 ล้านยูโร (8.02 ล้านดอลลาร์) 

Parallel Learning จากนิวยอร์กเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพที่เชื่อมโยง Edtech กับ Mental health เข้าด้วยกัน โดยให้การศึกษาพิเศษทางไกล และการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่ไม่สามารถเรียนได้ในสถานศึกษาตามปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะสมาธิสั้น หรือภาวะการอ่านออกเขียนได้ลำบาก (Dyslexia) นอกจากการส่งเสริมการเรียนรู้แล้วยังมีการจัดหานักจิตวิทยาสำหรับเด็กด้วย 

โดย Diana Heldfond ซึ่งเป็น CEO และผู้ก่อตั้ง Parallel Learning มีแนวคิดว่า เด็กๆ มักจะรู้สึกสบายใจในการรับคำปรึกษากับนักจิตวิทยาในบ้านหรือห้องของตัวเอง มากกว่าที่จะต้องเดินทางไปหานักบำบัดถึงโรงพยาบาลจนเกิดความกลัว และรู้สึกแปลกแยกเวลาเพื่อนในห้องมองว่าเป็น “ตัวประหลาด” ล่าสุด Parallel Learning กำลังขยายไปยังรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา และได้รับเงินระดมทุนในรอบ Series A จากนักลงทุนไปมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

Kintsugi เป็นสตาร์ทอัพที่นำ AI มาผสานกับการรักษาด้านสุขภาพจิต จัดเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีแนวโน้มสร้างความหวังใหม่ให้กับผู้คน ด้วยวิธีการใช้อัลกอริทึมมาช่วยวิเคราะห์เสียงของบุคคลนั้นๆ ได้ว่ามีสภาวะซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการส่งต่อเพื่อการรักษาทางการแพทย์ต่อไป สามารถระดมทุน Series A มูลค่า 20 ล้านดอลลาร์เมื่อต้นปีนี้ 

ทั้งนี้ Finn Weise นักลงทุนจาก Partech ได้ให้ความเห็นว่า เทรนด์การลงทุนในด้านสุขภาพจิตจะมีความสำคัญพอๆ กับสุขภาพร่างกาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มบริบทความสำคัญในอนาคต และเป็นสาเหตุที่ VC ยังคงลงทุนในแวดวงเทคโนโลยีด้าน Mental health

อ้างอิงจาก Techcrunch, CB Insights

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...

Responsive image

สมาคมเฮลท์เทคไทยจัดงาน Health Tech Thailand Executive Dinner 2025 ยกระดับสาธารณสุขด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

สมาคมเฮลท์เทคไทย จัดงาน “Health Tech Thailand Executive Dinner 2025” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Tech) กับหน่วยงานภาครัฐแล...

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...