จากตู้บุญเติม สู่เต่าบิน จนมาเป็นกิ้งก่า อีวี ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ตีตราความ Unique นวัตกรรมไทยภายใต้ฟอร์ท กรุ๊ป | Techsauce

จากตู้บุญเติม สู่เต่าบิน จนมาเป็นกิ้งก่า อีวี ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ตีตราความ Unique นวัตกรรมไทยภายใต้ฟอร์ท กรุ๊ป

ก่อนจะพาไปทำความรู้จักกับ "กิ้งก่า อีวี" เราขอเกริ่นถึงที่มาก่อนว่ากว่าจะมาเป็น กิ้งก่า อีวีในวันนี้ แรกเริ่มมีเส้นทางอย่างไร ?

กิ้งก่า อีวีนับจากวันแรกที่มีการเปิดตัวตู้เหล็กสีขาวที่มีหน้าจอเคลื่อนไหวไปมาในนาม 'เต่าบิน' ตู้ชงเครื่องดื่มอัตโนมัติ หรือ จะเรียกว่าคาเฟ่อัตโนมัติ ที่นิยามตัวเองเป็น Robotic Barista ก็คงไม่เกินความจริง ซึ่งคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทยอย่างกลุ่มฟอร์ท คอร์ปฯ โดยได้จดสิทธิบัตรไว้แล้วถึง 35 สิทธิบัตร ซึ่งยากที่เลียนแบบ โดยให้บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด เป็นผู้ดูแล 

" บมจ.ฟอร์ท คอร์ปฯ เป็นผู้ผลิตตู้ ทั้งเต่าบิน บุญเติม และกิ้งก่า อีวี แล้วให้ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท บริหารตู้บุญเติม และล่าสุดคือ กิ้งก่า อีวี" 

มาวันนี้ 'กองทัพเต่า' ได้เคลื่อนพลังอีกครั้ง โดยหันมาเจาะตลาด 'สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า' ภายใต้ชื่อที่แสนจะจำง่าย และดูเหมือนจะโดดเด่นไปในตัว อย่าง "กิ้งก่า อีวี" แต่ครั้งนี้บริษัทแม่อย่าง FORTH มอบหมายให้พี่ใหญ่อย่าง บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) "FSMART" ผู้ให้บริการตู้บุญเติมเป็นผู้ดูแล โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ปี 66 นี้ 

ดังนั้นในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกหาคำตอบของที่มา "กิ้งก่า EV" ว่าทำไมจึงเป็นชื่อนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร รวมทั้งจุดเด่น พื้นที่ให้บริการ และโอกาสในตลาด EV Charger ผู้พัฒนากิ้งก่า อีวี มองไว้อย่างไร ? กับบทสัมภาษณ์โดยคุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

คุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)กิ้งก่า อีวีคุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ที่มาของกิ้งก่า อีวี  และทำไมต้องเป็นสถานีชาร์จอีวี ?

ด้วยความที่ ฟอร์ท คอร์ปฯ (FORTH) บริษัทแม่ของ ฟอร์ท สมาร์ท (บุญเติม) มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โดยทำ R&D เริ่มต้นจากตู้บุญเติมจุดให้บริการรับชำระเงิน ฝากเงิน KYC ตู้ถอนเงิน ต่อยอดมาเป็นเต่าบิน  และเป็น EV Charger ที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่ด้วยจำนวนรถที่มีไม่มาก ทำให้ยังไม่ขยายการผลิตและการตลาด จึงได้พัฒนาต่อยอด ทั้งระบบและดีไซน์ให้ดูทันสมัย การใช้งานที่คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นสำคัญ ให้ใช้ง่าย สะดวก เหมือนโปรดักส์ในกลุ่มธุรกิจ เช่น ตู้บุญเติม ตู้เต่าบิน จนกลายมาเป็น "กิ้งก่า EV" ในปัจจุบัน

ทำไมจึงชื่อ กิ้งก่า อีวี ?

เป็นความเห็นพ้องต้องกันตามแนวคิดของ คุณตอง วทันยา อมตานนท์ ผู้บริหารของ บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ที่ต้องการให้เป็นชื่อเกี่ยวกับสัตว์ให้จดจำได้ง่าย แตกต่าง น่าสนใจ และเป็นชื่อที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในเครือเดียวกันอย่างเต่าบิน จึงตั้งชื่อแบรนด์ว่า “กิ้งก่า EV”  บวกกับกิ้งก่ามีเขียว สอดคล้องกับ Concept ของตู้ชาร์จ EV ที่มีความเป็น Green Energy สรุปคือ 

1. จำง่าย

2. ชื่อมีความเป็น unique ยังไม่มีใครใช้ 

3. ตู้จะสามารถเปลี่ยนสีได้ตามพื้นที่ที่ติดตั้ง (เหมือนกิ้งก่าที่สามารถเปลี่ยนสีได้)

4. สีเขียวซึ่งเป็นสีหลักของกิ้งก่า สื่อถึงความเป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อม Green Energy 

จุดเด่นของกิ้งก่า อีวี ? แม้ไร้แอปฯ ก็สามารถจ่าย-ใช้งาน-เก็บเครดิตได้

1. AC รายแรกและรายเดียวที่เป็นหน้าจอ Touch Screen

2. ไม่จำเป็นต้องติดต้ังแอปพลิเคชั่น ก็สามารถจ่ายและใช้งานได้เลย (ค่ายอื่นต้องโหลดแอปฯเฉพาะของตัวเอง ทำให้ผู้ใช้งานต้องมีหลายแอปฯในการใช้) 

3. ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน (เลือก-จ่าย-ชาร์จ) 

4. รองรับการชำระเงินได้หลายช่องทาง (วอลเล็ท-แอปฯธนาคาร-เครดิตในมือถือ และรองรับการจ่ายเงินด้วยการแตะบัตร RFID เช่นเดียวกับเต่าบิน) และมีสิทธิบัตรในการเก็บเครดิตในเบอร์อีกด้วย

5.ระบบการจัดการสายชาร์จด้วยสายเคเบิลอัจฉริยะ ระบบจัดการสายไฟที่มีประสิทธิภาพที่สายดึงกลับ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานหัวชาร์จ ได้รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย

6. ดูแลลูกค้าด้วย Call Center ตลอด 7 วัน ทั้ง 24 ชั่วโมง

กิ้งก่า อีวี

พื้นที่ให้บริการ / ตั้งเป้าติดตั้งจำนวนเท่าไร ?

โดยพื้นที่ในการติดตั้งจะเป็นตามที่พักอาศัย คอนโด อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้า ส่วนจำนวนนั้นในปีนี้ตั้งเป้าขยายเบื้องต้นประมาณ 500 – 1,000 เครื่อง (อยู่ในระหว่างการตั้งเป้าที่ชัดเจนอีกครั้ง)

อัตราค่าบริการ อยู่ที่เท่าไร ?

  • ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ ที่ FSMART กำหนดร่วมกันกับผู้ให้บริการพื้นที่

  • ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการ ซึ่งเจ้าของพื้นที่สามารถกำหนดราคาตลาดได้

ขั้นตอนการใช้บริการ กิ้งก่า อีวี ?

1. เสียบหัวชาร์จ 

2. กดเริ่มต้นที่หน้าจอเครื่อง 

3. เลือกวิธีการชำระเงิน มี 3แบบ Prompt-pay E-Wallet หรือ GINKA เครดิต

4. ระบุจำนวนเงินที่ต้องการชาร์จ 

5. หากเงินคงเหลือจากการชาร์จสามารถเก็บเป็นเครดิตในเบอร์โทรศัพท์ได้

6.สามารถนำหัวชาร์จออกได้ทันทีเมื่อชาร์จเต็มจำนวนเงินที่ระบุ (การชาร์จจะหยุดเมื่อแบตเตอรี่เต็ม หัวชาร์จหลุดจากรถ หรือ ครบตามจำนวนเงินที่ชาร์จ) 

แผนการตลาดที่วางไว้

เบื้องต้นจะเป็นแบบ B2B โดยเน้นให้กับกลุ่มที่ต้องการไว้อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น คอนโด สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยเน้นที่มีการใช้งานง่ายเป็นจุดขาย ต้นทุนไม่สูงมาก และบริษัทได้รายได้ต่อเนื่อง รวมทั้งเน้นการแก้ปัญหาให้ลูกค้า B2B เช่น นอกจากการชาร์จรถแล้ว เจ้าของสถานที่สามารถบริหารจัดการเรื่องอื่น ๆ เช่น การเก็บค่าที่จอดรถได้ด้วย เป็นต้น

สถานีชาร์จอีวีของกิ้งก่า อีวี เป็นรูปแบบใด (AC / DC) 

ทั้งนี้ กิ้งก่า EV จะเป็นระบบ AC หรือ Alternating Current สามารถใช้ฟ้าตามบ้านได้ ระยะเวลาในการชาร์จจะนานกว่า DC แต่ต้นทุนการติดตั้งถูกกว่าระบบ DC Direct Current ที่ใช้กันตามสถานีชาร์จรถยนต์ใหญ่ ๆ 

นวัตกรรมกิ้งก่า อีวี จะสร้างสัดส่วนรายได้กี่ % ให้กับธุรกิจ

ในช่วง 1-2 ปีสัดส่วนรายได้อาจจะไม่มีนัยยะสำคัญ แต่เรามองระยะยาวที่การใช้งานจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งรายได้และกำไรในกลุ่มนี้จะเข้าไปอยู่ในหมวดธุรกิจที่ 3 ของบริษัท

ตั้งเป้าวางตลาดเมื่อใด

คาดว่าจะวางตลาดประมาณไตรมาส 2 ปี 2566 นี้

ช่วยอธิบายนวัตกรรมกิ้งก่า อีวี ที่ผสมผสานระหว่างตู้บุญเติม กับตู้เต่าบิน ?

ด้วยความที่ กิ้งก่า EV ใช้ระบบการชำระเงิน หรือ payment ที่ต่อยอดมาจากตู้บุญเติม จ่ายได้หลายช่องทาง ทั้งวอลเล็ท-แอปธนาคาร-เครดิตในเบอร์โทรศัพท์ และมีระบบหน้าจอ Touch Screen แบบตู้เต่าบิน และระบบเก็บเครดิต

เห็นโอกาสอะไรในตลาด EV Charger 

ตลาด EV เป็นตลาดอนาคตที่มีขนาดใหญ่มาก เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวมากขึ้น ความต้องการสถานีชาร์จจะมีมากขึ้นด้วย บวกกับภาครัฐที่พยายามผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้น ประกอบกับรูปแบบธุรกิจของ FSMART เป็นลักษณะของการเป็นผู้ให้บริการ ดังนั้น กิ้งก่า EV จะมีรายได้จากการให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ และยังนำไปต่อยอดเรื่อง Payment มีที่ชาร์จ และสามารถขายของได้อีกด้วย

ความท้าทายในตลาด EV Charger เมื่อมีผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก

มองว่า กิ้งก่า EV เป็นรูปแบบ AC ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย เข้าถึงลูกค้าได้ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจับกลุ่มลูกค้า B2B และยังสามารถกระจายไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ต้องการติดตั้งที่บ้านได้ ทำให้เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มได้ตาม Concept ของ FSMART 

กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้

ส่วนกลุ่มเป้าหมายจะเน้นแบบ B2B ที่ผู้ประกอบการซื้อไปให้บริการกับลูกค้า ลูกบ้าน เช่น คอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า 

ทิศทาง และเป้าหมายที่วางไว้ 

ทั้งนี้ FSMART เป็นผู้ให้บริการตู้อัตโนมัติ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยมีบริการที่หลากหลายและครบวงจร และสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและต่อยอดต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งในปี 2566 มองว่ารายได้ของกิ้งก่า EV อาจจะยังไม่มาก แต่ในระยะยาวเมื่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ จะก่อให้มีรายได้ที่ต่อเนื่องในระยะยาวได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Soft Power และ Technology คือสิ่งที่ประเทศไทยจะเดินต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า สรุปแนวคิด ทักษิณ ชินวัตร

ดร.ทักษิณ ชินวัตรเผยวิสัยทัศน์ 5 ปีข้างหน้าของประเทศไทยในงาน Forbes Global CEO Conference เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซอฟต์พาวเวอร์ และการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเสริมสร้างความสามารถ...

Responsive image

เปิดบ้าน WHA สำรวจศักยภาพ นวัตกรรม และเทคโนโลยีล้ำสมัยทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ

WHA Open House 2024: Explore – Discover – Shape the Future เป็นการเปิดบ้านครั้งแรกของ WHA เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ WHA Group ในฐานะต้นแบบของธุรกิจที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช...

Responsive image

จีนบุกตลาด AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 ให้เหตุผลเหมือนมนุษย์ ท้าชน o1 จาก Open AI

AI จีนขอท้าชิงพื้นที่ตลาด เมื่อบริษัทวิจัย AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 โมเดล AI ให้เหตุผลใกล้เคียงกับมนุษย์ เปิดตัวมาท้าชิงความสามารถของโมเดล o1 จาก OpenAI...