ประกาศแล้วกฎหมายภาษี e-payment ทำธุรกรรมการเงินบ่อยเตรียมโดนเรียก

ประกาศแล้วกฎหมายภาษี e-payment ทำธุรกรรมการเงินบ่อยเตรียมโดนเรียก

กฎหมายภาษี e-payment (ภาษีอีเพย์เมนต์) หรือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค 2019 เป็นต้นไป โดยกฎหมายนี้จะกระทบกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีการรับเงินโอนวันละจำนวนมากๆ ซึ่งไม่นานนี้เพิ่งมีผ่านร่างกฎหมายไป

มีประกาศราชกิจจานุเบกษากฎหมาย e-payment โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค 2019 เป็นต้นไป  กฎหมายนี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยกำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษี

โดยมีการระบุว่าจากลักษณะการทำธุรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของภาคเอกชน ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากร ได้รับข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษีบางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไวในประมวลรัษฎากรได้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) ระบุว่าสถาบันการเงินต้องทำการรายงาน “ธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ” หากฝ่าฝืนมีการปรับจำนวนหนึ่งแสนบาท อีกทั้งยังกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้บริการทางการเงิน ทำหน้าที่รายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โดยธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะประกอบด้วย

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือ รับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตาม อธิบดีกรมสรรพากรสามารถปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดช่วงเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดูฉบับเต็ม คลิกที่นี่ 

อ้างอิง: Prachachat

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดตัว Take It Down แพลตฟอร์มช่วยลบภาพ-วิดีโอ โป๊ เปลือย อนาจารในโลกออนไลน์ ใช้งานในไทยได้ฟรีวันนี้

Facebook ประเทศไทยจาก Meta ประกาศขยายโครงการ Take It Down ในประเทศไทย เพื่อช่วยให้วัยรุ่น และเยาวชนสามารถเข้าถึง และยับยั้งการเผยแพร่รูปภาพส่วนตัวบนโลกออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเ...

Responsive image

โครงการลับ SpaceX กำลังสร้างดาวเทียมสอดแนม ให้หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ

SpaceX บริษัทผู้ผลิตจรวดและดาวเทียมของมหาเศรษฐี Elon Musk กำลังสร้างเครือข่ายดาวเทียมสอดแนมหลายร้อยดวง ให้กับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐ ภายใต้การทำสัญญาลับ...

Responsive image

CISCO เข้าซื้อ Splunk สำเร็จ พร้อมปกป้องและผลักดันการปฏิวัติ AI

ซิสโก้ (CISCO) ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งเป้ายกระดับโซลูชันด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า...