TDGA อัดหลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรรัฐ ผ่าน e-Learning ปูทางสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล | Techsauce

TDGA อัดหลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรรัฐ ผ่าน e-Learning ปูทางสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

โลกแห่งเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศตั้งแต่รากฐาน แน่นอนว่าต้องเกิดขึ้นจากผู้เป็นศูนย์กลางอย่างภาครัฐ ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายและส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มุ่งสู่สังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของหน่วยงานภาครัฐทุกส่วน ในการที่จะก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลผ่านกระบวนการ Digital Transformation 

หัวใจสำคัญที่สุดของการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านจึงหนีไม่พ้น ข้าราชการและบุคลากรทั้งหมด ที่จะต้องเริ่มติดตามทักษะด้านดิจิทัลและความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของภาครัฐและการให้บริการประชาชนไปสู่ยุคใหม่ได้

วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ที่พร้อมจะพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรภาครัฐ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านภาครัฐครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ

3 มิติใหม่ของบุคลากรภาครัฐ

ในการทำ Digital Transformation ให้กับหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่อย่างภาครัฐ ย่อมไม่ใช่แค่การเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่เข้ามาเป็นรูปแบบดิจิทัลเท่านั้น แต่สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์กระบวนงาน กฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการนำหลักการของ citizen-centric เข้ามาใช้ 

ซึ่งทำให้ TDGA ได้มุ่งปรับเปลี่ยนบุคลากรภาครัฐใน 3 มิติด้วยกัน คือ วิธีคิด (Mindset) วัฒนธรรม (Culture) และ พฤติกรรม (Behavior) ในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชนให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

จึงเป็นที่มาของการจัดหลักสูตรอบรมด้าน Digital Transformation โดยเฉพาะ เพื่อเปิดให้บุคลากรภาครัฐทุกระดับ ทุกประเภทและสายงาน ได้เข้ามาเรียนรู้หลักการ แนวคิด และฝึกปฏิบัติได้จริง ๆ เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานและให้บริการด้วยระบบดิจิทัล 

หลักสูตรพัฒนาบุคลากร โดย TDGA

หลักสูตรหลากหลายที่ถูกออกแบบมา มีทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมแบบ Offline และการฝึกอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) 

โดยหลักสูตรฝึกอบรมของสถาบันฯ จะมีเนื้อหาตั้งแต่ ระดับ Digital Literacy Skill ไปจนถึงระดับ High Level Skill ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน เช่น หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (e-GCEO) หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) หลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล (DTP) ไปจนถึงหลักสูตร สำหรับผู้ปฏิบัติงาน เช่น หลักสูตรการวิเคราะห์และเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภาครัฐ หลักสูตรการนำ AI มาใช้กับงานบริการภาครัฐ เป็นต้น

นอกจากการฝึกอบรมแบบในชั้นเรียน และการอบรมออนไลน์แบบ Virtual Classroom ข้างต้นแล้ว สถาบัน TDGA ยังส่งเสริมและสนับการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study)ของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนสามารถจัดเวลาเข้าเรียนได้เอง เข้าถึงง่าย ประหยัดเวลา และที่สำคัญคือ สามารถเรียนได้ฟรี พร้อมมีประกาศนียบัตรให้ด้วย 

ในรูปแบบ e-Learning  ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 22 บทเรียน ให้สามารถเลือกเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา แบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด ได้แก่

• Digital Literacy 4 บทเรียน

  1. ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ (Understanding and using digital technology)
  2. Digital Literacy
  3. การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทํางานภาครัฐ (Essential Digital Tools for Workplace)
  4. การสร้างความตระหนักรู้ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Awareness)

• Digital Governance, Standard, and Compliance 7 บทเรียน

  1. การสร้างความเข้าใจกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework Awareness)
  2. มาตรฐานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework Standard)
  3. ธรรมาภิบาลข้อมูลสําหรับผูบริหารองค์กรรัฐ (Data Governance Mindset for the Executive)
  4. Introduction to Data Governance Framework and Open Data
  5. พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (Digital Government Act.)
  6. แนวทางและแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data Guideline)
  7. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสําหรับผูปฏิบัติงานภาครัฐ (PDPA for Government Officer)

• Digital Technology 9 บทเรียน

  1. ความรู้พื้นฐานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสําหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
  2. Uses of Hadoop in Big Data
  3. เทคนิคการสร้างและการนําเสนอข้อมูล (Data Visualization) เพื่อการทํางานภาครัฐ
  4. การประยุกต์ใช้ความรู้ปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เพื่อการบริการภาครัฐ
  5. การสร้างความรู้ความเข้าใจภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อการนําไปประยุกต์ใช้กับปัญญาประดิษฐ์
  6. แนวทางในการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้สําหรับบริการภาครัฐ (AI for Government Services)
  7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สําหรับบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
  8. การฝึกปฏิบัติการใช้งาน AI บนแพลตฟอร์ม AI for Thai
  9. การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสําหรับบริการภาครัฐ (Blockchain for Government Services)

• Digital Transformation 1 บทเรียน

การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation)

• Strategic and Project Management 1 บทเรียน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโครงการ (Introduction to Project Management)

โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning นี้ ไม่เพียงเปิดรับเฉพาะบุคลากรภาครัฐเท่านั้น แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ ก็สามารถเข้าเรียนกับ TDGA ผ่านเว็บไซต์ tdga.dga.or.th ได้แบบฟรีๆ เพื่อ Upskill/Reskill ตัวเองในหัวข้อที่สนใจ พร้อมกับรับประกาศนียบัตรได้อีกด้วย  

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าอบรมหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร สามารถติดตามได้ที่ tdga.dga.or.th หรือโทร 02-612-6060

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...