Tesla ประกาศผลประกอบการไตรมาสสองของปี 2022 โดยมีรายรับรวมอยู่ที่ 16.93 พันล้านดอลลาร์ กำไรจากการดำเนินงานซึ่งสูงที่สุดในอุตสาหกรรมถึง 14.6% พันล้านเหรียญ มีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกที่ 621 ล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิ (GAAP) เหนือความคาดหมายอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเหนือความคาดหมายจากที่คาดการณ์ไว้ จากการส่งมอบรถได้ 254,695 คันในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นเกือบ 27% จากปีที่เเล้ว และสิ้นสุดไตรมาสด้วยเดือนที่ผลิตรถยนต์สูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยล่าสุดหลังรายงานหุ้นบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณ 1%
สำหรับไตรมาสสองของปีนี้ แม้ Tesla ยังคงได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำกำไร การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกที่สองส่งผลต่อภาคการผลิตและการบริหารในจีน ผลกระทบจากการปิดและหยุดการดำเนินการผลิตทั้งหมดของโรงงานในเซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้นในเซี่ยงไฮ้ รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการปิดโรงงาน เเละเปิดโรงงานใหม่ที่จีน นอกจากนี้ยังได้รับผลจากภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การแข่งขันการผลิตเซลล์แบตเตอรี่และส่วนประกอบอื่น ๆ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
อัตรากำไรขั้นต้นของรถยนต์อยู่ที่ 27.9% ลดลงจาก 32.9% ในไตรมาสก่อนและ 28.4% ในปีที่แล้ว รายรับรถยนต์คิดเป็น 14.6 พันล้านดอลลาร์จากทั้งหมดของบริษัท อัตราการส่งมอบรถยนต์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 27% แต่โตไม่ถึง 50% ตามเป้าหมายการเติบโตทั้งปีของบริษัท เนื่องจากปัจจัยการระบาดของโควิดในจีน ทำให้ต้องยุติสายการผลิตรถยนต์ในเซี่ยงไฮ้ชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม หลังจากโรงงานในเซี่ยงไฮ้กลับมาดำเนินการในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อัตราการดังกล่าวก็ปรับตัวขึ้นในระดับการผลิตที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยในเดือนมิถุนายนสามารถจำหน่ายรถยนต์ Tesla ที่ผลิตในจีนได้ประมาณ 78,000 คัน มากกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ที่ 32,165 คันในเดือนพฤษภาคมมากกว่าสองเท่า ตามการประมาณการของ China Passenger Car Association มากกว่านั้นยอดการส่งมอบรถทั่วโลกของบริษัทเติบโตขึ้น 68% เมื่อเทียบปีต่อปี ในไตรมาสแรก และคาดว่าจะสามารถขายได้มากกว่า 50% หรือเกิน 1.3 ล้านคันภายในสิ้นปี 2022
ผลสำรวจ EV ทั่วโลก ยอดจัดส่งเพิ่ม 79% Tesla ยังคงเป็น “เบอร์ 1”
อีลอน มัสก์ ยอมรับว่าตนไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าสภาวะผันผวนของเศรษฐกิจในตอนนี้มีผลต่อความต้องการซื้อของลูกค้าหรือไม่ เพราะในช่วงที่ผ่านมาอัตราการจองรถยนต์ Tesla ทุกรุ่นอยู่มีปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก อีกทั้งยอดจัดส่งเพิ่มขึ้นทั่วโลกจนไม่สามารถผลิตและส่งมอบทันในรอบจัดส่งตั้งแต่ปี 2021 บางรุ่นใช้เวลาหนึ่งปีในการส่งมอบ ทำให้ปัญหาในขณะนี้ของบริษัทคือการผลิตและส่งมอบให้ทันอย่างเร็วที่สุด ทำให้วางแผนที่จะเพิ่มอัตราการผลิตให้ได้ 5,000 คันต่อสัปดาห์ใน GigaBerli และ 10,000-40,000 คันต่อสัปดาห์ภายในปลายปีหน้า
แม้ว่าไตรมาสองจะมีความท้าทายแต่ก็เป็นหนึ่งในไตรมาสที่มีความแข็งแกร่งที่สุดของบริษัท แม้ยังเผชิญปัญหาเรื่อง Supply Chain เเต่คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เช่นเดียวกับการคาดการณ์เงินว่าที่อาจมีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งปีหลัง นั่นอาจทำให้ Tesla อาจจะปรับราคารถลงมาให้สอดคล้องกับค่าเงินเฟ้อที่ลดลง และยังยืนยันการทำงานใน Tesla จนกว่าจะบรรลุผลในการพัฒนา เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับสำเร็จ ระบบ FSD (Full-Self Driving) และจนกว่าโลกจะสามารถเปลี่ยนเเปลงไปสู่หนทางในการใช้พลังงานที่ยั่งยืน อีลอน มัสก์ CEO,Tesla กล่าว
อีกหนึ่งปัจจัยที่กระทบต่อเทสลาในไตรมาสนี้ คือผลกระทบจากการสูญเสียมูลค่าของบิทคอยน์ที่ได้ถือครองไว้ ทำให้บริษัทรายงานว่าได้ ขาย Bitcoin ที่ถือครองไว้ประมาณ 75% หรือมูลค่าประมาณ 936 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการรักษากระแสเงินสด (Cash Flow) ให้ได้มากที่สุด เพื่อผ่านสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและข้อกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องโดยรวมของบริษัทในปัจจุบันมากกว่าการโฟกัสเรื่องจุดยืนของบริษัทเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในตอนนี้ โดยอีลอน มัสก์ยังคงเชื่อมั่นในบิทคอยน์และยังคงมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะซื้อเพิ่มในอนาคต และไม่ได้ขาย Dogecoin ออกแม้แต่เหรียญเดียว ยังคงถือไว้ตามเดิม สามารถคาดการณ์ได้ว่าในช่วงปลายไตรมาส บริษัทอาจเหลือบิทคอยน์ประมาณ 10,500 เหรียญหรือจำนวน 218 ล้านดอลลาร์ จากการเปิดเผยล่าสุดว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมูลค่าทั้งหมดที่ถืออยู่ในช่วงก่อนหน้านี้
ที่มาประกอบข้อมูล
Tesla's Q2 profit dented by Shanghai shutdowns, still beats estimates
Tesla grows revenue 42%, but automotive margins decline
Tesla profit tops target; Musk sees no demand problem
Tesla dumped 75% of its Bitcoin holdings
Tesla Financial Results & Webcast for Second Quarter 2022
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด