ครม. เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ. Digital ID แล้ว | Techsauce

ครม. เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ. Digital ID แล้ว

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่าง พ.ร.บ.การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. Digital ID) แล้ว ระบุกำหนดแนวทางการคุ้มครองประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลและผู้ใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่าง พ.ร.บ.การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. Digital ID) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตลอดจนการกำหนดแนวทางการคุ้มครองประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลและผู้ใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

พร้อมกันนี้ ได้กำหนดให้ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตน โดยมี รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นการทั่วไป, ออกประกาศ คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้, กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับการจัดตั้งในรูปแบบบริษัท และได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี นอกจากนี้บริษัทผู้ให้บริการจะต้องกำหนดมาตรฐานในการรักษาความลับ และความปลอดภัยของข้อมูลในโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีมาตรฐานการเข้ารหัสหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด ข

ณะเดียวกันได้กำหนดบทลงโทษแก่บริษัทผู้ให้บริการที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูล บริษัทผู้ให้บริการจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นด้วย

รายละเอียดเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. Digital ID

ด้านคุณกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. Digital ID) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่

  1. พัฒนาโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (โครงข่ายฯ) ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
  2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งกำกับดูแลผู้ให้บริการ และ
  3. ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายฯ ได้

ร่าง พ.ร.บ. Digital ID เป็นกฎหมายเชิงกำกับดูแล โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลโครงข่ายฯ เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน และผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม

Photo: methodshop, Pixabay

ทั้งนี้ อำนาจการกำกับดูแลของคณะกรรมการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Platform) ซึ่งให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งการจัดตั้งบริษัทยังต้องได้รับความเห็นชอบ รวมถึงใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  2. ระบบทำการแทน (Proxy Server) ซึ่งเป็นการให้บริการระบบทำการแทนแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ Platform ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ไม่มีมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพียงพอ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Platform ผ่าน Proxy Server ได้ โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลผู้ให้บริการ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการพิจารณาอนุญาตการเชื่อมต่อระหว่าง Platform และ Proxy Server หรือสั่งให้หยุดการเชื่อมต่อดังกล่าว
  3. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยคณะกรรมการมีอำนาจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล หลักเกณฑ์การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Platform และ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล นอกจากนี้ ยังมีอำนาจกำหนดมาตรฐานในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานในโครงข่ายฯ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมให้ส่งข้อมูลในโครงข่ายฯ

อ้างอิงข้อมูลจาก Infoquest และ Thaigov

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปภาพรวมงาน The Secret Sauce Summit 2024 เคล็ดลับขับเคลื่อนธุรกิจในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ภาพรวมของงาน THE SECRET SAUCE SUMMIT 2024: Winning the New Wave ทั้งสองวัน รวมผู้ประกอบการและนักธุรกิจรุ่นใหม่ในวันที่ 1 และ 2 เพื่อแบ่งปันแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจในโลกที่เปลี่...

Responsive image

Time เปิดรายชื่อ 100 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน AI ปี 2024: Sundar Pichai และ Scarlett Johansson ติดโผ

นิตยสาร Time ได้เปิดเผยรายชื่อ TIME100 AI ประจำปี 2024 ซึ่งเป็นการรวบรวมบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุด 100 คนในโลกของปัญญาประดิษฐ์ รายชื่อนี้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของสาขา AI ที่กำล...

Responsive image

Apple Intelligence ทำอะไรได้บ้าง บน iPhone, iPad และ Mac

Apple Intelligence ซึ่งเป็น AI บนอุปกรณ์ Apple จะพร้อมใช้งานบน iPhone, iPad และ Mac เริ่มตั้งแต่เดือนหน้านี้ จะมีเครื่องมืออะไรที่ให้เราได้ใช้กันบ้าง?...