ถอดบทเรียน พาธุรกิจไทย ไประดับโลก จากนักธุรกิจชั้นนำ | Techsauce

ถอดบทเรียน พาธุรกิจไทย ไประดับโลก จากนักธุรกิจชั้นนำ

บทความฉบับนี้ ถือเป็นบทสรุปของการสัมมนาในงาน “SelectUSA: Helping Thai Companies Go Global” โดยภายในการสัมมนานี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการขยับขยายการทำธุรกิจของประเทศไทย สู่ประเทศสหรัฐอเมริกา เคล็ดลับ และข้อกฎหมาย ที่เหล่านักธุรกิจควรเรียนรู้ เพื่อการขยายการทำธุรกิจในอนาคต

Select USA conference

ในการสัมมนาส่วนแรก ภายใต้หัวข้อ “Case Studies of Global Expansion - Lessons Learned” ทางสถานฑูตสหรัฐฯ ได้ทำการเชิญนักธุรกิจมากประสบการณ์ มาร่วมในการหารือจำนวน ห้าท่าน และผู้ดำเนินรายการ หนึ่งท่าน มีรายชื่อดังนี้

  • คุณ ชาติศิริ โสภณพนิช, President, Bangkok Bank PCL

  • คุณ ชนินท์ ว่องกุศลกิจ, Chairman, Banpu PCL

  • คุณ บุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต, U.S. Business Chairman, Charoen Pokphand Group

  • คุณ ธีรพงศ์ จันศิริ, President & CEO, Thai Union Group PCL

  • คุณ Aloke Lohia, Group Chief Executive Officer, Indorama Ventures PCL

  • คุณ Michael George DeSombre, United States Ambassador to Thailand (ผู้ดำเนินรายการ)

สำหรับประเด็นแรก ได้มีการกล่าวถึงมาตราการและกฎระเบียบที่เคร่งครัด ด้านการทำธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งทางผู้ดำเนินรายการได้เสนอให้แต่ละท่าน เล่าถึงประสบการณ์ธุรกิจของตน กับการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ

เริ่มจากคุณ ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพแห่ง ธนาคารกรุงเทพ ได้กล่าวถึงความสำคัญของตลาดสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำแห่งด้านการเงิน ตลาดทุน และการลงทุนจาก VC ซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ย่อมส่งผลต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกอีกด้วย การที่เรามีส่วนร่วมอยู่ในตลาด จะช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าการขยายตลาดอาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่มันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า และจะช่วยด้านการเติบโตต่อไป

ในฝั่งของธุรกิจพลังงาน ซึ่งคุณ ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการแห่ง Banpu ได้กล่าวถึงมาตราฐานที่เข้มงวดในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งไม่ต่างจากข้อบังคับในกลุ่มธุรกิจธนาคารแม้แต่น้อย ซึ่งเพื่อการบริหารองค์กร และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Banpu จึงทำการสอบถามกับชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ถึงเรื่องที่บริษัทจะสามารถทำได้ดีขึ้น เพื่อเป็นการร่วมพัฒนาพื้นที่ไปพร้อมกับชุมชน และยังมีเรื่องของข้อกฎหมายพลังงาน ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ซึ่งทาง Banpu ได้ให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ด้านธุรกิจประเภทกลุ่มบริษัทอย่าง CP คุณ บุญชัย ได้กล่าวถึงเรื่อง OFDI หรือ Outward Foreign Direct Investment หรือ การลงทุนในต่างประเทศโดยตรง ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการเติบโต ของธุรกิจและเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก คุณ บุญชัย ยังได้ให้คำแนะนำกับการลงทุน ซึ่งในการลงทุนแต่ละครั้ง ต้องมีการวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งก่อนและหลังทำการลงทุน ในขั้นต้น บริษัทต้องทำการพิจารณาว่า ธุรกิจที่กำลังจะไปลงทุนด้วยนั้น อยู่ในประเภทเดียวกันกับตนหรือไม่ ก่อนจะก้าวไปสู่การพิจารณาถึงเรื่องมุมมองและวัตถุประสงค์ของบริษัท สำหรับ CP แล้ว ตลาดที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของบริษัทมากที่สุด คือ ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งนอกจาก GDP ที่สูงที่สุดในโลกแล้ว สหรัฐฯ ยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งเทคโนโลยี แหล่งผลิตสำคัญสำหรับวัตถุดิบหลายประเภทในอุตสาหกรรมอาหาร และยังเป็นตลาดที่มีจำนวนผู้บริโภคสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

ก่อนจะเริ่มวางแผนทำการลงทุนในต่างแดน คุณ บุญชัย ได้ให้คำแนะนำถึงการเตรียมตัวในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่การมองถึงทรัพยากร และขีดจำกัดที่เรามีในธุรกิจของตนเองเสียก่อน ว่ายังขาดตกบกพร่องเรื่องไหนไปหรือไม่ โดยเฉพาะกับด้านกฎหมาย และแรงงาน ซึ่งการติดต่อกับบริษัทที่ปรึกษาจะช่วยให้คุณเข้าใจในธุรกิจของตนเองได้ดีขึ้น และในการเริ่มต้นลงทุน เจ้าของธุรกิจต้องทำการพิจารณาถึงวิธีการที่จะนำไปใช้ ว่าจะสร้างธุรกิจใหม่ หรือเข้าซื้อบริษัทที่มีอยู่เดิมในตลาด (Buy or Build) เพื่อให้เข้ากับแนวทางการทำธุรกิจของตน

สำหรับ คุณ Aloke Lohia แห่ง Indorama Ventures PCL จุดเริ่มต้นของการลงทุนในต่างประเทศของเขา เริ่มต้นจากการเดินทางสู่ประเทศไทย ในช่วงปี 1980 เพื่อการเรียนรู้ถึง Diversification ในช่วงการทำธุรกิจในประเทศไทยของเขา เขาได้พบเจอกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ซึ่งทำให้นักธุรกิจในไทยหลายท่าน รู้สึกไม่สบายใจกับการทำธุรกิจในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว เขาจึงได้เริ่มต้นหาธุรกิจในสหรัฐฯ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ก่อนจะเข้าซื้อธุรกิจ ด้วยราคา 48 ล้านดอลลาร์ ในปี 2003 ซึ่งในปัจจุบัน เงินลงทุนของเขา ได้งอกเงยขึ้นเป็น 6 พันล้านดอลลาร์ และนอกจากการลงทุนในประเทศสหรัฐฯ แล้ว Indorama Ventures ยังได้มองไปถึงการลงทุนในระดับทวีป และได้ขยายขอบเขตการทำธุรกิจไปสู่ประเทศเม็กซิโก และประเทศแคนาดาอีกด้วย การสร้างอาณาจักรของ Indorama นั้น มีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากการขยายอาณาจักรของพวกเขา เกิดจากการเข้าซื้อธุรกิจ (Merger & Acquisition) ซึ่ง คุณ Aloke Lohia ได้มองการเข้าซื้อธุรกิจว่า เป็นการซื้อพนักงานมากความสามารถไปพร้อม ๆ กัน และยังได้ลูกค้าในกิจการนั้น ๆ เพิ่มอีกด้วย

ด้านธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารอย่าง Thai Union Group คุณ ธีรพงศ์ ได้เริ่มต้นธุรกิจของเขา ในปี 1977 จากการเป็นเจ้าของโรงงานผลิตปลาทูน่ากระป๋องขนาดเล็ก ในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยเน้นการทำธุรกิจเพื่อส่งออก และตลาดสหรัฐฯ ก็ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก เส้นทางการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ของ Thai Union Group ได้เริ่มขึ้นในปี 1996 ซึ่งบริษัทตัดสินใจถึงการขยับขยายใต้ 2 วัตถุประสงค์ นั่นคือ เพื่อการเติบโตในธุรกิจ และเพื่อการสร้างแบรนด์ของตนเอง คุณ ธีรพงศ์ ได้กล่าวว่า “ในฐานะผู้ผลิต OEM นั้น การได้สร้างแบรนด์สินค้าของตนเองถือว่าเป็นความฝัน” การบริโภคทูน่ากระป๋อง อาจจะไม่ได้รับความนิยมในไทย เท่ากับประเทศในฝั่งตะวันตก การตัดสินใจเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ จึงถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในสายตาของ คุณ ธีรพงศ์ ในช่วงเวลานั้น

การเริ่มต้นเส้นทางธุรกิจในสหรัฐฯ ของคุณ ธีรพงศ์ เริ่มจากการเข้าซื้อบริษัท ร่วมกับพารธ์เนอร์ในท้องถิ่น ก่อนที่จะรวบรวมทรัพย์สิน เพื่อทำการเข้าซื้อบริษัทของคู่ค้าที่กำลังจะล้มละลายอย่าง Chicken of The Sea ซึ่งได้กลายเป็นแบรนด์สินค้าหลักของ Thai Union และถือเป็นฝันที่กลายเป็นจริงของ คุณ ธีรพงศ์ กับการเป็นเจ้าของแบรนด์ ในฐานะผู้ผลิตสินค้า OEM อีกด้วย หลังจากการสร้างแบรนด์สินค้าแล้ว Thai Union ยังคงเดินหน้าเข้าซื้อกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่ง คุณ ธีรพงศ์ ได้กล่าวว่า “การทำธุรกิจในสหรัฐฯ ถือว่าเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็มีความแข่งขันที่สูงมาก ซึ่งถ้าคุณสามารถเอาตัวรอดในสหรัฐฯ ได้ คุณก็จะสามารถเติบโตต่อไปได้”

นอกจากการเล่าถึงประสบการณ์และวิธีการที่ นักธุรกิจทั้งห้าท่าน ได้ใช้เพื่อการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ แล้ว พวกเขายังร่วมสนทนาถึงหลักการต่าง ๆ ที่นักธุรกิจยุคใหม่ควรเรียนรู้ ทาง Techsauce ได้ทำการสรุปมาเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

  • การขยายธุรกิจ ต้องเริ่มจากการศึกษาตลาด โดยใช้หลักการ Scale - การทำให้สินค้าหรือบริการของเรามีจำนวนมากพอที่จะตอบสนองความต้องการของตลาด , Speed - การเข้าถึงการแข่งขัน ต้องทำให้เร็ว เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน และ Scope - การวางแผนอย่างถี่ถ้วน และรัดกุม เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

  • การขยายธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ประเทศในฝั่งตะวันตกเสมอไป อาจจะเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านก่อน เพื่อการทำความเข้าใจในเบื้องต้น

  • ข้อกฎหมาย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับในสหรัฐฯ ซึ่งแต่ละรัฐ มีข้อกฎหมายของตนเอง การขอใบอนุญาตยังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐอีกด้วย

  • การทำการบ้าน ก่อนจะเริ่มลงมือในธุรกิจ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะกับทรัพยากรเพื่อการศึกษาที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน อาทิเช่น SelectUSA เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การขยายธุรกิจ ยังคงต้องมีการคำนึงถึงความเสี่ยงอยู่เสมอ

  • การมีที่ปรึกษา หรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ดี จะสามารถช่วยให้หลาย ๆ สถานการณ์สามารถผ่านไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะในด้านกฎหมายและการบัญชี

  • วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะกับค่านิยมและจริยธรรมของคนในองค์กร ซึ่งสามารถดัดแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรต่อไปได้

  • การจ้างงานบุคคลากรท้องถิ่น นอกจากบริษัทจะได้รับผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว พวกเขายังมีความสัมพันธ์ในท้องถิ่นที่บริษัทหรือบุคคลากรจากต่างถิ่นอาจจะเข้าไม่ถึงอีกด้วย

  • การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้บริษัทของคุณมีฐานลูกค้าที่แน่นแฟ้นขึ้น และอาจจะเปิดโอกาสในการก้าวสู่ประเทศอื่น ๆ ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...

Responsive image

LINE MAN Wongnai จับมือททท. ดันเชียงใหม่ ศูนย์กลางเทศกาลอาหาร ดึง 70 ร้านดังทั่วไทย ร่วมงาน "ฟู้ดเฟสติเว่อร์"

LINE MAN Wongnai เผยอินไซต์ ‘เชียงใหม่’ เป็นเมืองที่มีศักยภาพเติบโตสูงเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนร้านอาหารกว่า 76,000 ร้าน และไลน์แมนไรเดอร์กว่า 4,100 ราย ทำให้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการผล...