EIC ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าต้องเตรียมรับมือ "สงครามการค้าจีน-สหรัฐ" | Techsauce

EIC ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าต้องเตรียมรับมือ "สงครามการค้าจีน-สหรัฐ"

Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 โต 4.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเศรษฐกิจในปี 2562 ระบุโตน้อยกว่าปีก่อน เนื่องจาก สงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ดีกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนภาคการท่องเที่ยวไทยเผชิญหน้ากับสนามบินที่เริ่มรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวได้ไม่พอ Photo: Pixabay

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 โดยประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2561 และปี 2562 โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

เศรษฐกิจโตน้อยกว่าปีก่อน แต่ดีกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2561 EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ YOY (เมื่อเทียบกับปี 2560) โดยได้รับแรงส่งจากอุปสงค์ด้านต่างประเทศอย่างต่อเนื่องทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มส่งผลดีต่อรายได้และการจ้างงานชัดเจนขึ้น

การเติบโตดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้จะชะลอลงบ้างตามปัจจัยอื่นๆ ในปีก่อนหน้า และการชะลอลงของภาวะการค้าโลก

สำหรับปี 2562 EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4 เปอร์เซ็นต์ YOY (เมื่อเทียบกับปี 2561) ชะลอลงจากปีก่อนหน้า แต่ยังถือว่าเป็นอัตราที่สูงสาหรับเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่เติบโตเฉลี่ยต่ากว่า 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

สงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัจจัยปรับค่าคาดการณ์ปีหน้า

ดร.ยรรยงระบุว่าสองสาเหตุสำคัญที่ทำให้การประมาณการณ์เศรษฐกิจในไทยช่วง 4 เดือนของปี 2561 และปี 2562 ลดลงมีสองปัจจัยสำคัญ คือ (1) สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และ (2) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

โดย EIC ระบุว่าปัจจัยแรก อย่างสงครามการค้า (Trade War) หลังจากนี้จะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จะไม่จบง่ายๆ และยังเจรจากันไม่ได้ แต่เหตุผลสำคัญอาจเป็นเพราะจีนคือผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ทำให้สหรัฐฯ มองว่าจีนคู่แข่งระยะยาวจึงดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อตอบโต้

โดยก่อนหน้านี้ ได้ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไป 2 รอบ มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเตรียมปรับขึ้นรอบ 3 มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจจะดำเนินการหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ กลางเทอมเพื่อเอาใจผู้ลงคะแนนก่อน

ส่วนปัจจัยที่สองอย่างสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจโลกจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงที่ 3.7 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากประมาณการรอบก่อนที่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในปีนี้และปีหน้า จากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสงครามการค้าตามที่กล่าวไปในข้อแรก และปริมาณการนำเข้ารวมของโลกที่ลดลงจากตลาดใหญ่ๆ ประกอบ

นักท่องเที่ยวจีนลดลง แต่ได้นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาแทนเล็กน้อย

ส่วนภาคการท่องเที่ยว EIC มองว่าเติบโตได้ดีในช่วง 8 เดือนแรกของปี แต่ในช่วง 4 เดือนข้างหน้าจะเติบโตจะช้าลง เนื่องจากได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ในภูเก็ต

เมื่อเจาะตัวเลขของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปดู โดยเปรียบเทียบข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2560 กับเดือนสิงหาคม 2561 มีอัตราการขยายตัวช้าลง โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงไป 6 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกัน

ดร.ยรรยง ระบุเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะเสียนักท่องเที่ยวจีนไป แต่ก็ได้นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเข้ามามากขึ้นเนื่องจากประเทศมาเลเซียเองก็มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับตรงกับวันหยุดประจำชาติของมาเลเซีย จึงมีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา

นอกจากนี้ EIC ยังระบุว่า ความหนาแน่นของสนามบินที่มีมากขึ้นจะกดดันการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะปริมาณการใช้งานรันเวย์ที่เริ่มตึงตัว ซึ่งโครงการพัฒนาสนามบินนั้นรัฐบาลก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ทันสำหรับการใช้งานในปี 2562 จึงถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลหลังจากนี้ด้วย

แรงงานทำงานน้อยลง ทำ OT ก็น้อยลง

EIC ยังเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับตลาดแรงงาน มีหลายตัวที่น่าสนใจ โดยตัวแรกสุดได้เปิดเผยว่า จำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในตลาดแรงงานไทยมีจำนวนลงลดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงสัดส่วนผู้ที่ทำงานล่วงเวลาหรือ OT จากเดิมมีจำนวน 1 ใน 3 ของผู้มีงานทั้งหมด ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ใน 5 ของผู้มีงานทั้งหมดเท่านั้น

รวมถึงยังมีสัดส่วนของผู้ที่ว่างงานนานกว่า 6 เดือนเพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง ซึ่งอาจเกิดมาจากทักษะที่ไม่สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่ (Skill Mismatch) ซึ่งมองว่าอาจจะทำให้เกิดการว่างงานในระยะยาว รวมทั้งบางส่วนอาจตัดสินใจออกจากตลาดแรงงานเพื่อไปทำอย่างอื่น เช่น ศึกษาต่อ หรือทำธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น

ประกอบกับมีเปอร์เซ็นต์ที่แรงงานของไทยกลับเข้าสู่ระบบลดน้อยลงต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มีอยู่ที่ 72.28 เปอร์เซ็นต์ แต่พอดูตัวเองในปี 2559 ลงลงเหลือ 69.79 เปอร์เซ็นต์ และปี 2560 มีอยู่ที่ 68.04 เปอร์เซ็นต์

รวมถึงยังพบว่าแรงงานอายุมากเริ่มมีสัดส่วนที่มากขึ้น จากกราฟจะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลยังระบุด้วยว่ากลุ่มแรงงานที่มีอายุมากจะมีอัตราการเติบโตของค่าจ้างที่น้อยกว่ากลุ่มอายุน้อยอีกด้วย

มุมมองและข้อเสนออื่นๆ จาก EIC

  • การใช้จ่ายด้านการลงทุนในประเทศจะมีการขยายตัวที่เร่งขึ้นนำโดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น และสนับสนุนการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว
  • เศรษฐกิจจำเป็นต้องขยายตัวได้ดีและต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งก่อนจะเห็นอุปสงค์ส่วนเกิน (Slack) ในตลาดแรงงานลดลง ซึ่งจะทำให้ค่าแรงเร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ ในระยะยาวต้องมีการยกระดับผลิตภาพของแรงงานไทยผ่านการเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนให้รายได้ขยายตัวได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
  • ประเมินว่า แม้เสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและสภาพคล่อง ที่ยังมีอยู่มากในระบบการเงินของไทยจะเป็นตัวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้นและความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่มีต่อเศรษฐกิจไทยได้ระดับหนึ่ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Outlook ไตรมาส 4/2018

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตลาดลักชูจีนวิกฤติหนัก แบรนด์หรูต้องปรับตัวอย่างไร เพราะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากพิษเศรษฐกิจจีน

ตลาดสินค้าหรูในจีนกำลังเผชิญกับภาวะตกต่ำอย่างหนังแม้พ้นโควิด โดยผู้บริโภคชาวจีนลดการใช้จ่ายไปกับสินค้าหรูอย่างกระเป๋าแบรนด์เนมและนาฬิกา สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเป...

Responsive image

Anthropic จับมือ Palantir และ AWS เสริมศักยภาพ AI ให้กับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐฯ

Anthropic จับมือ Palantir และ AWS เสริมศักยภาพ AI ให้กับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐฯ ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นไปที่การนำ Claude เข้าไปช่วยวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงความปลอดภัยสำหรับหน...

Responsive image

ตลาดชิปจีนส่อแววหดตัว เหตุลดนำเข้าอุปกรณ์ผลิตชิป หวังเดินหน้าพึ่งพาการผลิตให้เพียงพอในประเทศ

ตลาดอุปกรณ์ผลิตชิปของจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวในปีหน้า สืบเนื่องจากการเร่งสั่งซื้ออุปกรณ์ล่วงหน้าจำนวนมากในช่วงที่มีความตึงเครียดกับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น...