คณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังประกาศมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 การประกาศครั้งนี้เป็นมาตรการระยะที่ 2 หลังจากที่ประกาศระยะที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมาตรการสำหรับภาคประชาชน ที่เน้นเพิ่มสภาพคล่อง และธุรกิจที่เน้นการผ่อนผันทางภาษีเพื่อลดผลกระทบจากสภาพที่ต้องหยุดกิจการ
1. มาตรการเพิ่มสภาพคล่องภาคประชาชน
2. ลดภาระ
นอกจากนี้ เตรียมหารือกับสถาบันการเงิน หาแนวทางป้องกันการยึดทรัพย์อย่างไม่เป็นธรรมระหว่างเกิดการแพร่ระบาด
3. ฝึกอบรม สอนทักษะอาชีพ ผ่านเครือข่ายต่างๆ อย่างมูลนิธิในโครงการพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้าน กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิจัยนวัตกรรม
สำหรับมาตรการเยียวยา แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 คาดว่าประชาชนสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันเสาร์นี้ (28 มีนาคม 2563) ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยใช้หลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชน ขัอมูลส่วนบุคคล และข้อมูลนายจ้าง หลังจากนั้นจะสามารถรับเงินเยียวยาได้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (Promptpay) ที่ผู้กับเลขประจำตัวประชาชน และโอนเข้าบัญชีธนาคาร
1. สภาพคล่อง ปล่อยสินเชื่อรายย่อยรายละ 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ 2 ปี แรก วงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SME Bank
2. ลดภาระ ยืดการเสียภาษีประเภทต่างๆ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด