พ.ร.บ.ไซเบอร์, พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล, พ.ร.บ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, พ.ร.บ.สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และ พ.ร.ก. การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) โดยเป็นกฎหมายดิจิทัล 6 ฉบับที่ผ่านการรับหลักการของ สนช. วาระแรกแล้ว กระทรวงดิจิทัลฯ ระบุผลักดันกฎหมายที่สำคัญต่อการรองรับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ยุคดิจิทัลที่เข้มแข็งและยั่งยืน
Facebook Page ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยล่าสุดวันนี้ 28 ธันวาคม 2561 ว่าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติในวาระที่ 1 รับหลักการ
ข้อมูล ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... มีหลักการที่กำหนดให้การเก็บรวมรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนจึงจะกระทำได้ เว้นแต่มีข้อยกเว้นตามที่ร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นจำนวนมากจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว สามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะได้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบางเรื่อง แต่ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป
"สมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้น และจะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทุกคนโดยกฎหมายฉบับนี้ มีสาระสำคัญกำหนดให้แยกบุคคล 3 ระดับ ได้แก่เจ้าของ ข้อมูล ผู้จัดเก็บข้อมูล และผู้นำข้อมูลไปประมวลผล โดยหน่วยงานที่เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล" นายพิเชฐ กล่าว
และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... เนื่องจากการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน หรือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สมควรกําหนดลักษณะของภารกิจหรือบริการที่มีความสําคัญเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่จะต้องมีการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง
ตลอดจนกําหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง อันจะทําให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคาม ทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
"กฎหมายดังกล่าวจะสามารถป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงทีเพราะปัจจุบันเกิดปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ในหลายประเทศ และหลายกรณีก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น ฐานข้อมูลโรงพยาบาล ธนาคาร มีการปล่อยมัลแวร์ที่เหมือนไวรัสเข้ามาทำลายระบบการสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์" นายพิเชฐ กล่าว
https://www.facebook.com/MinisterPichet/posts/1803604596429507
นายพิเชฐ กล่าวเพิ่มเติม พ.ร.บ. สำคัญอีก 4 ฉบับ ซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการลงมติในวาระที่ 1 รับในหลักการเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งทุกฉบับ ได้มีการตั้งคณะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ด้วยแล้วทุกฉบับ ประกอบด้วย
โดยในการผลักดันร่างกฎหมายทุกฉบับในครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมี่ความพร้อมสูงที่จะไปสู่เศรษฐกิจกิจดิจิทัลในมาตรฐานที่เป็นสากล ทำให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยไซเบอร์ซึ่งเป็นปัญหาสากลที่ทั่วโลกเผชิญหน้าอยู่
https://www.facebook.com/prmdes.official/posts/606523789782691
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด