สภาพัฒน์สรุปภาพรวมเศรษฐกิจ Q4 ปี 62 โต 1.6% คาดปี 63 GDP โตไม่เกิน 2.5% ชี้ 6 ประเด็นแก้ไขภาวะชะลอตัว | Techsauce

สภาพัฒน์สรุปภาพรวมเศรษฐกิจ Q4 ปี 62 โต 1.6% คาดปี 63 GDP โตไม่เกิน 2.5% ชี้ 6 ประเด็นแก้ไขภาวะชะลอตัว

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ประกาศรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ปี 2562 และแนวโน้มปี 2563 เผยไตรมาสที่ 4 ตัวเลขการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.6 สรุปทั้งปี อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่ำกว่าปี 2561 ที่โตถึงร้อยละ 4.2 โดยสภาพัฒน์สรุปปัจจัยของตัวเลขข้างต้นไว้ 3 ประเด็น ได้แก่ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในเรื่องทิศทางมาตรการกีดกันทางการค้าและค่าเงินบาทแข็ง ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ และประเด็นผลกระทบจากปัจจัยชั่วคราวของภาคการผลิต เช่น ภัยแล้ง

บทสรุปภาพรวมเศรษฐกิจโดยสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสท่ีสี่ของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่ส่ีของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสท่ีสามของปี 2562 ร้อยละ 0.2 (%QoQ SA) 

ขอบคุณภาพจากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชน และ การปรับตัวดีข้ึนของการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ การส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง ด้านการผลิต การผลิตสาขาท่ีพักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานท่ีเก็บสินค้าขยายตัวเร่งขึ้น สาขาการขายส่งและการขายปลีกฯ ขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะท่ีสาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม สาขาก่อสร้างและสาขา ไฟฟ้าฯปรับตัวลดลง 

รวมทั้งปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 2561 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.2 ตามลาดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 0.7 และ บัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 6.8 ของ GDP 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 ชะลอตัวลงจากปี 2562 ตามข้อจากัดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และความล่าช้าของ งบประมาณ แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจาก 4 ปัจจัย ได้แก่

  1. การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจและ การค้าโลกตามการลดลงของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันการค้าและความเสี่ยงจาก การแยกตัวของสหราชอาณาจักรแบบไร้ข้อตกลง
  2. การขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ
  3. แรงขับเคลื่อนจาก มาตรการภาครัฐ
  4. ฐานการขยายตัวที่ต่าในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562

ทั้งนี้ คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 - 1.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.3 ของ GDP 

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปี 2563 ควรให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็น ได้แก่

  1. การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกและสนับสนุนการฟื้นตัว และการขยายตัวในครึ่งปีหลัง 
  2. การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้สามารถกลับมาขยายตัว ในครึ่งปีหลัง โดยมีจานวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีไม่ต่ากว่า 37.0 ล้านคน และ 1.73 ล้านล้านบาท ตามลาดับ โดยให้ความสาคัญกับ (i) การยกเว้นค่าธรรมเนียมและ ค่าปรับให้นักท่องเที่ยวชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส (ii) การรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น (iii) การจัด กิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี (iv) การพิจารณาวันหยุด เพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีแรก โดยไม่กระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ และ (v) การติดตามขับเคลื่อน มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว 
  3. การขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถกลับมาขยายตัว ได้ไม่ต่ากว่าร้อยละ 2.0 (ไม่รวมทองคา) โดย (i) การขับเคลื่อนแผนการส่งออกปี 2563 (ii) การให้ความสาคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้า และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัส (iii) การให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต และการค้าไทย-จีน และ (iv) การเร่งรัดการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สาคัญๆ 
  4. การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุน ภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี งบประมาณ 2563 งบประมาณเหลื่อมปี และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่ต่ากว่าร้อยละ 91.2 ร้อยละ 70.0 และร้อยละ 75.0 ตามลาดับ 
  5. การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุน การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การติดตามและขับเคลื่อนมาตรการเพื่อ สนับสนุนการลงทุน (ii) การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ (iii) การเรง่ รัด การเจรจาความร่วมมือทางการค้าที่สาคัญ ๆ และ (iv) การแก้ไขปัญหาอุปสรรคการประกอบ ธุรกิจของผู้ประกอบการต่างชาติ
  6. ดูแลผู้มีรายได้น้อย ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสาคัญกับ (i) กลุ่มเกษตรกรที่ทำงานในภาคบริการในช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกและฤดูกาลเก็บเกี่ยว (ii) กลุ่มพนักงานในสาขาการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง (iii) กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs (iv) การเร่งรัดเบิกจ่ายเงินชดเชย และการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และ (v) การบริหารจัดการน้ำ


ขอบคุณภาพจากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...