ประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนึ่งในหน่วยงานที่กำลังเตรียมพร้อมกับเรื่องนี้คือ ‘กรมสรรพสามิต’ กับมาตรการ ‘ภาษีคาร์บอน’ ภาษีประเภทใหม่ที่ไทยเตรียมนำมาใช้เป็นประเทศที่สองในอาเซียนต่อจาก สิงคโปร์ คาดว่าจะเริ่มจัดเก็บในงบประมาณปี 2568
ในปี 2559 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 0.90% ของการปล่อยก๊าซ CO2 และก๊าซอื่นๆ ทั่วโลก หรือประมาณ 327 ล้านตัน จากข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรสำคัญๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาโดยตลอด
ประเทศไทยปักหมุดมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 รวมถึงขยับสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี 2608 แต่การที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นจำเป็นต้องพึ่งมาตรการ ‘ภาษีคาร์บอน’ ซึ่งเปรียบเสมือนแรงจูงใจให้ผู้ผลิตและผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการจัดเก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ
โดยทั่วไป การเก็บภาษีคาร์บอนจะนับปริมาณคาร์บอนส่วนเกินมาคำนวณกับอัตราภาษีที่แต่ละประเทศกำหนด ภาษีคาร์บอนสามารถแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่
ในตอนนี้กรมสรรพสามิต กำลังนำเสนอแนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอนให้กระทรวงการคลังพิจารณา รวมถึงการเตรียมเก็บภาษีคาร์บอนใน ‘น้ำมัน’ แทนภาษีสรรพสามิตน้ำมันแบบเดิม จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ประชาชนต้องเสียภาษีหากเติมน้ำมันด้วยหรือไม่
ทางด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กาารเก็บภาษีคาร์บอนในช่วงแรกจะไม่กระทบกับประชาชน เพราะนโยบายของรัฐนอกจากเก็บภาษีแล้ว ยังต้องช่วยเหลือประชาชนด้วย โดยยอมรับว่าในช่วงแรกอาจเก็บภาษีคาร์บอนได้ไม่มากนัก
ภาษีคาร์บอนในน้ำมันจะถูกแทรกเข้ากับภาษีสรรพสามิต โดยคำนวณตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวอย่างเช่น น้ำมันดีเซล 1 ลิตร ปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ 6.44 บาท และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.0026 ตันคาร์บอน เมื่อคำนวนแล้ว น้ำมันดีเซล 1 ลิตร จะเสียภาษีคาร์บอนประมาณ 0.46 บาท
การเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนในนับเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศไทยกำลังจะดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวของธุรกิจ และประชาชนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม
แต่ ‘ภาษีคาร์บอน’ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
อ้างอิง : กรมสรรพสามิตร, กระทรวงพลังงาน, ประชาชาติธุรกิจ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด