'ไปรษณีย์ไทย' คว้ากำไร 78.54 ล้าน ไม่แข่งค่าส่งกับใคร แต่จะโตไปเป็น Trusted Sustainable ASEAN Brand | Techsauce

'ไปรษณีย์ไทย' คว้ากำไร 78.54 ล้าน ไม่แข่งค่าส่งกับใคร แต่จะโตไปเป็น Trusted Sustainable ASEAN Brand

ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ออกมาเผยการเติบโตในปี 2566 ว่า บริษัทพลิกมาทำกำไรได้ 78.54 ล้านบาท โดยมีรายได้รวม 20,934.47 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการเติบโต 7.4% พร้อมทั้งเผยโรดแมปใน 3 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้า Trusted Sustainable ASEAN Brand สร้างแบรนด์เลิฟในใจคนไทย 

ดร.ดนันท์  สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาดขนส่งในปีที่ผ่านมาถือว่ายังมีการเติบโตตามอานิสงส์ของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจากการให้บริการกับตลาดต่าง ๆ รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไปรษณีย์ไทยมีการเติบโตทั้งด้านรายได้และปริมาณชิ้นงานขนส่งที่เพิ่มขึ้น 

สำหรับรายละเอียดด้านรายได้ในปีที่ผ่านมา ไปรษณีย์ไทยมีรายได้รวม 20,934.47 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 7.4% ทำกำไรได้ 78.54 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 19.35% 

และถ้าดูสัดส่วนรายได้จากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มีดังนี้ 

  • กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ 45.56% 
  • กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ 33.85% 
  • กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.43% 
  • กลุ่มบริการค้าปลีกและการเงิน 4.90% 
  • กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 0.96% 
  • รายได้อื่น ๆ 1.30%

ส่วนปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น ดร.ดนันท์อธิบายว่า มาจากการให้บริการที่ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม จุดให้บริการที่สะดวกง่ายต่อการเข้าถึง การพัฒนาประสบการณ์ในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง การมุ่งเน้นคุณภาพตลอดกระบวนการให้บริการ นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังเห็นโอกาสจากการให้บริการค้าปลีกและการเงิน จึงพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยในกลุ่มบริการนี้มีรายได้เติบโตขึ้น 34.26% ถือเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญและพร้อมต่อยอดโซลูชันการให้บริการที่มากขึ้นในปีนี้

สำหรับเป้าหมายรายได้รวมในปี 2567 ดร.ดนันท์ให้ตัวเลขคาดการณ์ไว้ที่ 22,802 ล้านบาท โดยจะมีกำไรสุทธิ 350 ล้านบาท จากกลุ่มบริการหลัก ได้แก่ 

  • บริการไปรษณีย์ 
  • บริการขนส่งและโลจิสติกส์ 
  • บริการค้าปลีก 
  • บริการการเงินเสริมทัพด้วยทรัพยากรที่มีศักยภาพ อาทิ เครือข่ายไปรษณีย์ที่ครอบคลุมกว่า 50,000 แห่ง ทีมพี่ไปรฯ Postman Cloud การเปิดศูนย์ไปรษณีย์ 
  • การเพิ่มโมเดลการแสวงหารายได้ใหม่ที่ยั่งยืน เช่น การให้บริการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ภายใต้แบรนด์ Prompt Post การพัฒนาสินค้า House Brand ภายใต้สินค้าตราไปร

ส่วนการที่ไปรษณีย์ไทยเผยโรดแมปเป็น Trusted Sustainable ASEAN Brand คือ ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแห่งอาเซียน ใน 3 ปี คาดว่าจะสร้างแบรนด์เลิฟในใจคนไทยได้ ยืนยันด้วยผลสำรวจความภักดี ความผูกพันและความไว้วางใจในแบรนด์ไปรษณีย์ไทยในปี 2566 ที่สูงถึง 96.3%  

ปี 2567 บริษัทปรับวิสัยทัศน์เป็น ส่งมอบการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ หรือ Delivering Sustainable Growth through Postal Network พร้อมวาง 10 ความโดดเด่นและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ 

  • การมุ่งเน้นคุณภาพ หลีกเลี่ยงสงครามราคา 
  • การปรับภาพจำของแนวทางการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจไปสู่เอกชน 
  • การพัฒนา Logistics Company ให้ก้าวสู่ Information Logistics Company ที่นำข้อมูลมาปรับปรุงต่อยอดบริการให้ตรงใจ 
  • การบูรณาการข้อมูลที่มีอยู่ให้ทุกภาคส่วนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
  • การยกระดับสัมพันธภาพที่ดีให้เป็นความเชื่อมั่น 
  • การขยายฟังก์ชันการทำงานของบุรุษไปรษณีย์ หรือ Postman สู่ Post – Gentleman as a service ที่พร้อมให้บริการหลากหลายด้าน 
  • การปรับสนามการแข่งขันให้เป็นความร่วมมือเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดขนส่งและโลจิสติกส์

เราไม่ได้เกิดมาเป็น Tech Company จึงเชื่อมบริการจากการที่เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าว่าเขาต้องการอะไร แล้วเปลี่ยนจากการทำ Marketing เป็น Matching โดยเปลี่ยนวิสัยทัศน์มาส่งมอบ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านเครือข่ายไปรษณีย์’ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่งของให้ลูกค้าได้เร็ว เก็บเงินได้เร็ว ทำให้ธุรกิจของเขาเติบโตได้ เขาจะได้เอาเวลาไปไลฟ์ขายของหรือทำอย่างอื่น เราบริการระบบหลังบ้านโดยทำ CS (Customer Service) ให้หมด ทำให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

นอกจากนี้ ดร.ดนันท์ยังกล่าวถึงคู่แข่งและตลาดขนส่งโลจิสติกส์ในเชิงตัดพ้อว่า "การแข่งขันจะไม่มีที่สิ้นสุดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนตลอดเวลา ยอมรับว่าเราเป็นคู่แข่งกับอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม เพราะเขาเลือกว่าจะให้ใครส่ง โดยไม่เปิดให้ไปรษณีย์ไทยเข้าไปเป็นตัวเลือก เรื่องนี้ไม่เป็นธรรมและสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เพราะนั่นไม่ใช่แพลตฟอร์มไทย ลูกค้าไม่ได้เลือกแล้วยังโดนกีดกันไม่ให้ใช้บริการที่มีคุณภาพอีก จึงอยากขอให้ treat กันแฟร์ ๆ" 

ด้านเป้าหมายรายได้ปี 2567 จากแต่ละกลุ่มธุรกิจ ไปรษณีย์ไทยคาดการณ์ว่า สัดส่วนรายได้กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์จะอยู่ที่ 46.12% กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์อยู่ที่ 32.48% กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.98% กลุ่มบริการค้าปลีกและการเงิน 5.10% กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 0.90% และรายได้อื่น ๆ 1.42% 

เป้าหมายที่ตั้งไว้เกิดได้จาก 'ทรัพยากรที่มีศักยภาพ บริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่' ได้แก่ 

ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญในเรื่องการทรานสฟอร์มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์สู่ Green Logistics โดยเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งมีทั้งรถที่ลงทุนเองและรถเช่า อัตราส่วนราว 30/70

  • เครือข่ายไปรษณีย์ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 30,000 แห่ง ซึ่งล่าสุดได้ร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดจุดให้บริการไปรษณีย์ไทย@ธงฟ้า ตั้งเป้า 20,000 แห่ง ภายในปี 2567 
  • ด้วยบุรุษไปรษณีย์ที่มีอยู่กว่า 25,000 คน ที่สามารถให้บริการได้ตลอด 365 วัน 
  • การเปิดศูนย์ไปรษณีย์สกลนครเพื่อรองรับการขยายตัวของปริมาณงานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน 
  • การแสวงหารายได้ใหม่ที่ยั่งยืนไม่ว่าจะเป็น บริการ Prompt Post ที่เตรียมเปิดให้ร่วมทายผลฟุตบอลยูโร 2024
  • บริการ e-Timestamp e-Signature e-Seal ส่งเสริมความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 
  • ตู้ไปรษณีย์ดิจิทัล (Digital Post Box) 
  • การใช้ศักยภาพความเชี่ยวชาญของบุรุษไปรษณีย์ให้บริการในรูปแบบ Postman as a Service เช่น การสำรวจสินทรัพย์ การรับส่งสิ่งของแบบ On Demand การรุกขายสินค้าตัวท็อปใกล้ไกลบนแพลตฟอร์มไทยแลนด์โพสต์มาร์ต นอกจากนี้ ยังมีสินค้า House Brand เช่น กาแฟ ข้าวสาร น้ำดื่ม  'ตราไปร' จากการคัดสรรสินค้าคุณภาพดีมานำเสนอให้แก่ผู้บริโภค

 สินค้า House Brand เช่น กาแฟ ข้าวสาร น้ำดื่ม  'ตราไปร' 

ดร.ดนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมในปี 2567 ธุรกิจไปรษณีย์ - ขนส่งจะยิ่งทวีความสำคัญ เนื่องจากเป็นหนึ่งในภาคบริการที่เชื่อมต่อกันทั้งเศรษฐกิจและสังคม ไปรษณีย์ไทยจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความแตกต่างที่ตอบสนองความต้องการระยะยาว จากการเป็นผู้ที่เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงความตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับกลุ่มตลาด Niche Market ในการให้บริการขนส่งสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ผลไม้และผลผลิตเกษตร สิ่งของขนาดใหญ่ สินค้าควบคุมอุณหภูมิ ยาและเวชภัณฑ์ 

ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารระวางการขนส่ง ลดต้นทุน เพิ่มความแม่นยำ ติดตามได้แบบเรียลไทม์ การเพิ่มประสบการณ์ที่ดี โดยเฉพาะบริการที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม บริการจัดส่งทุกวันไม่มีวันหยุด การปรับรูปแบบการจ่าหน้าให้เป็นดิจิทัล การให้บริการคลังสินค้าครบวงจร นอกจากนี้ยังมุ่งเน้น บริการระหว่างประเทศ ด้วยการขนส่งสินค้าทางราง ทางอากาศ หรือ Cargo Mode บริการ Courier Lite และเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการให้กับลูกค้าให้สามารถใช้ช่องการชำระเงินค่าสินค้า – บริการผ่านแอปพลิเคชัน WeChat และ AliPay ที่จะเริ่มในไตรมาส 2 ของปีนี้  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ครั้งแรกของโลก! Moodeng AI Challenge 2025 การแข่งขันด้านการออกแบบ AI เชื่อมต่อมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ

Moodeng AI Challenge 2025 การแข่งขันระดับโลกที่ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของนักพัฒนา AI เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์ สัตว์ และธรรมชาติเข้าด้วยกัน น...

Responsive image

SIAM.AI ใช้โครงสร้างไอทีของ DELL ติดอาวุธคนไทยเก่งปัญญาประดิษฐ์ 30,000 คนในปีเดียว

บริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการ SIAM.AI Cloud ร่วมมือกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประเทศไทย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย...

Responsive image

SCB WEALTH ตอกย้ำลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เผยมุมมองเศรษฐกิจ-ลงทุน 2025 เตรียมพร้อมกลยุทธ์รับมือจากทีม Advisory ครบวงจร

SCB WEALTH นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติของ SCB WEALTH Holistic จัดงาน SCB WEALTH Holistic Experts ในหัวข้อ “Tomorrow’s Wealth: Key Investment Trends Defining 202...