สมาคม TTSA ยื่นข้อเสนอภาครัฐอีกครั้ง ปกป้อง Startup ไทยก่อนไม่มีที่ยืน | Techsauce

สมาคม TTSA ยื่นข้อเสนอภาครัฐอีกครั้ง ปกป้อง Startup ไทยก่อนไม่มีที่ยืน

สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association) นำโดยนายภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ นายกสมาคมฯ เข้าพบนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยื่นข้อเสนอแนะในการปกป้องธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากแพลตฟอร์มต่างชาติ

อาทิ Grab LINE Gojek ซึ่งเป็น Super App หรือแอปพลิเคชั่นที่ครอบคลุมทุกบริการ
มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะสามารถยึดครองตลาดบริการแผนธุรกิจท้องถิ่นและเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคจนสามารถนำเสนอสินค้าด้านการเงินโดยตรงได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงกลุ่ม OTAs (Online Travel Agents) หรือเว็บไซต์ ที่ให้บริการด้านการจองที่พักตั๋วเครื่องบิน และบริการด้านการท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศไทย โดยสมาคมฯ ขอเสนอมาตรการดังนี้

  1. กำหนดสัดส่วน E-Marketplace การขายสินค้าของบริษัทต่างประเทศให้มีความชัดเจน
  2. สนับสนุนให้สินค้าในประเทศสามารถนำไปขายที่ประเทศอื่นได้มากขึ้น
  3. รัฐบาลควรสร้างกฎหมาย Anti-trust Law ซึ่งเป็นการสนับสนุน การแข่งขันและป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำตลาดเพียงผู้เดียว หากเกิดกรณีมีสินค้าเพียงเจ้าเดียวในตลาด รัฐบาลควรเรียกเก็บภาษีจำนวนมากเพื่อสนับสนุนให้ผู้นำตลาดต้องการแข่งขันในตลาดที่เป็นธรรมมากขึ้น
  4. ควรมีนโยบายสนับสนุนการใช้บริการธุรกิจและสตาร์ทอัพไทย เช่น ลดภาษีการค้า รับการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการดิจิทัลของไทย และนำภาษีที่เก็บจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ มาสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพไทยและธุรกิจไทย อย่างไรก็ตามปัจจุบันนโยบายการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยยังคงไม่ตอบโจทย์การเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยี ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สตาร์ทอัพไทย ไม่สามารถแข่งขัน
    กับนานาประเทศได้ อันสังเกตได้จากแพลตฟอร์มและการบริการรายใหญ่ ในประเทศไทยล้วนแต่เป็นบริการของต่างชาติส่งผลให้ทรัพยากร ในประเทศรั่วไหลเป็นจำนวนมากรวมไปถึงข้อมูลของคนไทย ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งต่อภาครัฐและเอกชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต


ดังนั้น ทางสมาคมฯ จึงได้หารือร่วมกับสตาร์ทอัพไทย และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย ดังนี้

  1. ควรมีนโยบายกระตุ้นการใช้บริการสตาร์ทอัพไทย
  2. ควรมีนโยบายเพิ่มข้อได้เปรียบในการทำการค้าสำหรับสตาร์ทอัพไทย
  3. ควรมีนโยบายปลดล็อกทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการสตาร์ทอัพ

ด้านนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติกล่าวว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและศึกษาอย่างรอบคอบ จากนั้นจะทำเป็นข้อสรุปและข้อเสนอแนะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำส่งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ช่วงปลายปี 2562 สมาคม ฯ ได้เคยชี้ถึงประเด็นนโยบายที่ให้ภาครัฐสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยมากขึ้นมาแล้ว และนี่เป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งที่ต้องการให้ภาครัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมมากขึ้น

รายละเอียดข้อเสนอนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริม Startup ไทย (แบบละเอียด)



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...