วิจัยกรุงศรีประเมินผลกระทบวิกฤติ รัสเซีย-ยูเครนต่อเศรษฐกิจไทย | Techsauce

วิจัยกรุงศรีประเมินผลกระทบวิกฤติ รัสเซีย-ยูเครนต่อเศรษฐกิจไทย

วิจัยกรุงศรีรายงานว่า วิกฤตราคาพลังงานผลพวงจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน กดดันความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์อ่อนแอลง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ที่ 43.3 จาก 44.8 เดือนมกราคมเช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 86.7 จาก 88.0 ในเดือนก่อน ปัจจัยลบจากความกังวลจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นสูงอาจกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ราคาพลังงานที่สูงขึ้นมากกระทบต่อต้นทุนการผลิตค่าขนส่ง และเพิ่มภาระค่าครองชีพจากราคาสินค้าที่ทยอยปรับขึ้น

วิจัยกรุงศรีประเมินความเป็นไปได้ของผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนจำแนกเป็น 3 กรณี ได้แก่

(1) การสู้รบยุติภายในเดือนมีนาคม ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกแบนการค้าและธุรกรรมทางการเงินของรัสเซียบางส่วนไปจนถึงสิ้นปีนี้ 

(2) การสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น มีการแบนสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียทั้งหมด 

(3) การสู้รบยืดเยื้อและขยายขอบเขตไปยังประเทศอื่นจนถึงกลางปี 2565 ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการยุติการส่งออกสินค้าพลังงานไปยังยุโรป จนนำไปสู่วิกฤตพลังงานขึ้นในยุโรป โดยช่องทางการส่งผ่านผลกระทบหลักมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การค้าและการขนส่ง ความมั่นคงด้านพลังงาน เสถียรภาพด้านราคา และผลจากรายได้และตลาดการเงิน

รัสเซีย-ยูเครน

วิจัยกรุงศรีใช้แบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) คำนวณหาผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยผลต่อไทย พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน 0.4% 1.1% และ 2.4% ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวกว่าที่่คาดไว้ 1.4% 2.3% และ 3.5% ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลงจากกรณีฐาน 1.1% 3.0% และ 4.7% ตามลำดับ 

รัสเซีย-ยูเครน

ในส่วนของผลต่อภาคอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ภาคขนส่ง โรงกลั่นน้ำมัน การขนส่งทางเรือ และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าโลหะและพลังงาน ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ธุรกิจน้ำตาล เสื้อผ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องหนัง โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นและการเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) 

ล่าสุดแรงกดดันจากราคาพลังงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางการเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนเป็น 333 บาทต่อถัง 15 กก. (เริ่ม 1 เมษายน) และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ในงวดเดือนพฤษภาคม ส่วนแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงาน ทางการเผยเตรียมให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  (13.5 ล้านคน) ได้แก่ (i) เพิ่มวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จาก 45บาท/คน/3 เดือน เป็น 100 บาท/คน/ 3 เดือน (ii) ช่วยเหลือค่าน้ำมันเบนซินสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในกลุ่มผู้ถือบัตรฯ

อ่านฉบับเต็มได้ที่  ผลกระทบของวิกฤติรัสเซีย-ยูเครนต่อเศรษฐกิจไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...