The Economist จัด Social Innovation Action 2019 หาทิศทางพัฒนากิจการเพื่อสังคมรองรับความท้าทายในวันข้างหน้า

The Economist จัดงานเสวนา Social Innovation in Action 2019 มีกลุ่มผู้นำจากทั่วภูมิภาคเข้าร่วมงานจำนวน 130 คน ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ เพื่อหารือแบบเจาะลึกและหาแนวทางเกี่ยวกับอนาคตของนวัตกรรมเพื่อสังคมในเอเชีย

การประชุมสุดยอดผู้นำในครั้งนี้มีการหารือว่า เอเชียสามารถเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลมาแก้ปัญหาความท้าทายทางสังคมที่มีมาอย่างยาวนานได้หรือไม่ โดยมี Simon Cox บรรณาธิการด้านตลาดเกิดใหม่ของ The Economis) และ Charles Ross บรรณาธิการบริหาร ของ The Economist Intelligence Unit เป็นผู้ดำเนินรายการ

การประชุมในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการอภิปรายถึงวิธีการสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรมเพื่อสังคม โดย ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “รัฐบาลไทยกำลังมองหาวิธีการในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างเร่งด่วน เพราะในขณะนี้ Angle investor และนักลงทุนเพื่อสังคมในประเทศไทยมีความกระตือรือร้นในการลงทุนโครงการเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคม”

Alison Eskene, vice-president, Asia-Pacific, Mastercard Center for Inclusive Growth ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับความท้าทายด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยได้กล่าวว่า “การสร้างเศรษฐกิจดิจิทิลจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทุกๆ คน ในทุกๆ ที่ แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเป็นความท้าทายหนึ่งที่ต้องเผชิญ” 

Pierre Legrand, Cheif Technologist, PwC กล่าวว่า 9 ใน 10 ของความท้าทายในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นส์ และความรับผิดชอบทางสังคม คือ ผู้นำ (อ่านบทสัมภาษณ์ของ Pierre Legrand โดย Techsauce ได้ที่นี่) นอกจากนี้แล้ว Lale Kesebi, founder และ chief executive, Human at Work กล่าวว่า  “องค์กรขนาดใหญ่เป็นผู้ขับเคลื่อน ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะต้องการหรือไม่ต้องการ องค์กรเหล่านั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยงในกิจกรรมด้านสังคม”

ในช่วงบ่าย เป็นการหารือว่า นวัตกรรมทางสังคมจะช่วยลดผลกระทบจากเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันอย่างไร เพื่อประสานความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ดิจิทัลในหมู่แรงงาน นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงประเด็นคำถามจากเสวนาที่เกิดขึ้นทั้งวันดังนี้

  • สิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้นวัตกรรมเพื่อสังคมช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • นวัตกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงธุรกิจดั้งเดิมอย่างไร
  • ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ผู้ประกอบการเพื่อสังคม ภาครัฐ และประชาสังคม จะบรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร
  • ใครบ้างที่จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อทำให้ความคิดริเริ่มเหล่านี้ประสบผลสำเร็จทั้งทางสังคมและการเงิน
  • ภาคนวัตกรรมเพื่อสังคมสามารถทำได้หรือไม่ ที่จะขจัดคำพูดสวยหรูและการตกแต่งบัญชีของบริษัท เพื่อการดำเนินการที่มุ่งมั่น อุทิศให้แก่มาตรวัดทางการเงินที่มีความหมาย ถ้าหากว่าทำได้ จะใช้วิธีการอย่างไร
  • นวัตกรรมเพื่อสังคมจะมีโฉมหน้าอย่างไรเมื่อถึงปี 2573 
No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจรจาแค่ประเทศเดียวไม่พอ แต่อาเซียนต้องรวมพลังสู้ภาษีทรัมป์ ฟังความเห็นจากอดีตผู้อำนวยการ WTO

ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้นำ WTO ระหว่างปี 2002 ถึง 2005 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei เกี่ยวกับประเด็นด้านภา...

Responsive image

Microsoft เปิดโครงการ ‘AI Skills Fest’ ฝึกทักษะ AI ฟรีตลอด 50 วัน

Microsoft ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ "Microsoft AI Skills Fest" ซึ่งเป็นเทศกาลเรียนรู้ทักษะปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เปิดให้ทุกคนเข้าร่วมได้ฟรีตลอดระยะเวลา 50 วัน โครงการนี้ออกแบบมาสำหรับ...

Responsive image

Deep Cogito เปิดตัวโมเดล AI ไฮบริด 'Cogito 1' พร้อมฟีเจอร์คิดวิเคราะห์

วงการ AI คึกคักขึ้นอีกครั้งเมื่อ Deep Cogito เปิดตัว Cogito 1 โมเดล AI รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการสลับโหมดระหว่างการ "คิดวิเคราะห์" และการตอบคำถาม ซึ่งทำให้มันเป็นโมเดล AI แบบ...