TikTok ตั้งรับการเลือกตั้งในไทย ใช้ GPPPA คุมแอคเคานต์การเมือง | Techsauce

TikTok ตั้งรับการเลือกตั้งในไทย ใช้ GPPPA คุมแอคเคานต์การเมือง

ผู้ใช้งาน TikTok พุ่งพรวดรวดเร็วจนเกินต้าน โดยมีทั้งแอคเคานต์หรือบัญชีที่เป็นแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ ศิลปิน หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน คนทั่วไปที่ทำสารพัดสิ่ง ขณะเดียวกัน ผู้ที่ต้องการทำลายชื่อเสียงผู้อื่น (discredit) มิจฉาชีพ แฮกเกอร์ ก็เข้ามาใช้พื้นที่นี้ในการปล่อยข่าวลวง คลิปลวง ล่อลวง ก่อเกิดปัญหาสังคมสารพัด และยิ่งประเทศไหนมีประเด็นร้อนเกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง ยิ่งทำให้ข้อมูลมหาศาลหลั่งไหลเข้าสู่โลกโซเชียลอย่างท่วมท้น ทั้งเรื่องจริงและไม่จริง ทำให้การใช้งานโซเชียลมีเดียในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้ว

TikTokคุณจิรภัทร หลี่ Product Policy Lead – Thailand, TikTok เกริ่นถึง Information Tag ที่ลิงก์กับศูนย์ข้อมูลและองค์กรที่เชื่อถือได้ เช่น WHO เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด-19 ในช่วงที่เป็นประเด็นร้อนแรง

TikTok ออกมาตอกย้ำว่า เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ปลอดภัย และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน

ในฐานะแพลตฟอร์มที่ส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้าง TikTok จึงออกมาตอกย้ำการให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยและความถูกต้องของเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ผ่านการนำเสนอ 'เครื่องมือที่สามารถคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลที่มีความบิดเบือนและไม่เป็นความจริง' และเตรียมการ 'จัดหาแหล่งข้อมูลที่มีการตรวจสอบและมีความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้งาน' พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดภายใต้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชนและเครื่องมือด้านความปลอดภัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

tiktokคุณชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy – Thailand, TikTok เล่าว่า TikTok มีระบบ Fact Warning คือ เตือนก่อนแชร์ ถ้าผู้ใช้งานยังดึงดันแชร์ในสิ่งที่ละเมิดกฎชุมชน อาจโดนลบโพสต์หรือถูกลบแอคเคานต์ได้

เนื่องจาก TikTok เป็นสถานที่ที่รวมผู้คนเข้าด้วยกันผ่านเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความสนุกสนาน ในขณะเดียวกันการทำให้แพลตฟอร์มเป็นพื้นที่ปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ TikTok ต้องป้องกันไม่ให้มีข้อมูลที่บิดเบือนความจริงและเป็นอันตราย รวมถึงเนื้อหาที่ละเมิดกฎของชุมชนเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ คือ การนำเสนอแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้งาน ในสถานการณ์สำคัญต่างๆ ของสังคม 

TikTok จึงกำหนด หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guideline) เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ว่าเนื้อหาแบบไหนที่ไม่อนุญาตให้เผยแพร่บนแพลตฟอร์ม TikTok โดยตัวอย่างหัวข้อหลักภายใต้ Community Guideline เช่น การแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เนื้อหาที่เป็นสแปม เนื้อหาที่เป็นเท็จและหลอกลวง หรือเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มในแง่มุมต่างๆ อย่างการสร้างความหวาดหลัว ความเกลียดชัง หรือสร้างอคติ

ประยุกต์ใช้เครื่องมือเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล สร้างความปลอดภัยเชิงรุก

TikTok มีการปฏิบัติการแบบเชิงรุกกับเนื้อหาที่ละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับชุมชนผ่าน ระบบการจัดการเนื้อหา (Content Moderation) ที่มีการผสานการทำงานระหว่างเทคโนโลยีและทีมปฏิบัติงานของ TikTok รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานที่พบเห็นเนื้อหาที่ละเมิดหรือมีความเสี่ยง สามารถรายงานเนื้อหาดังกล่าว ส่งให้ทีมปฏิบัติงานของ TikTok ตรวจสอบและดำเนินการต่อไป 

tiktokสองผู้บริหาร TikTok ออกมากล่าวถึงการใช้เทคโนโลยี Machine Learning ว่าต้องมีทีมงานในการตรวจสอบเนื้อหาบนแพลตฟอร์มตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมี 'บริบท' ของคอนเทนต์ที่ตีความได้หลายแบบจึงต้องให้ 'คน' ร่วมพิจารณาด้วย

ในด้านเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยและทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการ TikTok สร้าง Information Hub เครื่องมือที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ส่งผกระทบต่อสังคม รวมถึงเครื่องมืออย่าง Information Tag และ Live Banner ที่จะปรากฏอยู่บนวิดีโอหรือไลฟ์สตรีมมิงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการได้

คุณจิรภัทร หลี่ Product Policy Lead – Thailand, TikTok กล่าวว่า บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับเนื้อหาที่มีความบิดเบือน เป็นอันตราย และเนื้อหาที่ละเมิดหลักเกณฑ์ของชุมชนในแง่มุมต่างๆ ออกไปจากแพลตฟอร์ม TikTok อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าจะได้รับความปลอดภัยเมื่ออยู่บนแพลตฟอร์ม จึงเผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ทีมปฏิบัติงานและความร่วมมือจากผู้ใช้งาน TikTok จาก รายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guideline Enforcement Report) ครั้งล่าสุด ในระหว่างเดือนกรกฏาคม - กันยายน ปี 2565 โดยระบุว่า

  • มีการลบวิดีโอออกในเชิงรุกบนแพลตฟอร์มมากกว่า 96.5% 
  • มีการลบออกภายใน 24 ชั่วโมงถึง 92.7% 
  • มีการลบออกก่อนมียอดเข้าชมถึง 89.5% 

ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มอย่างถูกต้อง ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งแนวทางควบคุมจัดการ 'บัญชีการเมือง'

TikTok ได้หารือกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาพัฒนานโยบายบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดเสวนาในรูปแบบ Roundtable ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มอย่างถูกต้อง ให้กับพรรคการเมืองและนักการเมืองต่างๆ

TikTokคุณจิรภัทรกล่าวถึงการจัดการแพลตฟอร์ม TikTok ในช่วงเลือกตั้งหรือช่วงที่การเมืองร้อนแรง โดยนำความเสี่ยงที่พบในมาเลเซียและฟิลิปปินส์ มาพิจารณาและคัสตอมนโยบายให้เข้ากับ Localize เช่น ข้อใดใช้ได้ในไทย ข้อใดที่ต้องปรับหรือคัสตอม

แล้วออกหลักเกณฑ์สำหรับชุมชนของ TikTok เพื่อป้องกันเนื้อหาหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือมีการบิดเบือนความจริงที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การละเมิดสิทธิผู้อื่น พฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเกลียดชัง และแนวคิดที่สุดโต่งและรุนแรง โดยแพลตฟอร์ม TikTok จะไม่มีการอนุญาตให้มีการโปรโมตหรือการทำโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองโดยเด็ดขาด 

TikTok ยังจัดประเภทของบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองให้เป็น บัญชีของรัฐบาลนักการเมืองและพรรคการเมือง (GPPPA: Government, Politician, and Political Party Account) เพื่อสร้างขอบเขตที่ชัดเจนในการไม่อนุญาตให้บัญชีประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ในทุกประเภทบนแพลตฟอร์ม TikTok

ผู้ใช้งานสร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอย่างล้นหลาม TikTok จึงประยุกต์ใช้นโยบายในการกำำกับดูแลแพลตฟอร์มในทุกประเทศที่เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งจะแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น มาเลเซีย ที่มีประเด็นอ่อนไหวในเรื่องชาติพันธุ์ แพลตฟอร์มจึงระมัดระวังและโฟกัสการตรวจสอบคอนเทนต์ในด้านนี้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีหลายสิ่งที่ประเทศต่างๆ พบในช่วงเลือกตั้งเหมือนๆ กัน คือ Misinformation, Disinformation รวมถึง Hate Speech

ปีนี้ TikTok กำหนดกลยุทธ์และวางแผนการทำงานเพื่อต่อต้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างแคมเปญสร้างการรับรู้ และการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบข้อมูล (Fact-Checking) ทั้งในระดับโลกและในประเทศ อาทิ 

  • สำนักข่าวต่างประเทศ อาช็องซ์ ฟร็องซ์ เปร็ส (Agence France-Presse) หรือ AFP 
  • หน่วยงาน Lead Stories 
  • ร่วมทำแคมเปญกับ โคแฟค (COFACT) ในการสร้างศูนย์รวมข้อมูลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้แคมเปญ #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด 

เผยเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เพิ่มในช่วงเลือกตั้ง

คุณชนิดาอธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือ Election Report Button และ GPPPA เช่น การโพสต์นโยบายของพรรคการเมือง เป็นเรื่องที่ทำได้แต่ห้ามบูสต์โพสต์ นอกจากการรับมือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง TikTok ยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ผ่านการสร้าง ศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้ง (Election Centre) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่เป็นทางการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ทั้งขั้นตอนในการใช้สิทธิ์ ข้อมูลของพรรคการเมืองและนักการเมือง และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นบริการการประกาศเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ (Public Service Announcement) โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งประเทศไทย หรือ กกต. หน่วยงานหลักที่ควมคุมดูแลการจัดการเลือกตั้งในประเทศไทย และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานส่งต่อเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องในช่วงของการเลือกตั้ง

โดยก่อนที่ผู้ใช้งานจะกดยืนยันในการส่งต่อเนื้อหานั้นๆ จะมีข้อความขึ้นเตือนให้ผู้ใช้งานพิจารณาและตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเสมอ และหากผู้ใช้งานเห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับชุมชนหรือเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ผู้ใช้งานสามารถใช้ปุ่ม 'Election Report Button' หรือปุ่มรายงานเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อรายงานเนื้อหาดังกล่าว

คุณชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy – Thailand, TikTok กล่าวว่า TikTok ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคน และยึดมั่นจุดยืนของแพลตฟอร์มในช่วงของการเลือกตั้ง 2566 ในการต่อต้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและถูกบิดเบือนทุกประเภทให้ออกไปจากแพลตฟอร์ม 

เราวางแผนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลที่มีความถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะ TikTok เชื่อว่าประเด็นการสร้างความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (Digital Literacy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเลือกตั้ง จะทำให้ทุกภาคส่วนช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีบนสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานและชุมชนบนแพลตฟอร์มของเรา

ต่อมา นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ TikTok จะร่วมมือกันพัฒนาช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้ง หรือ Election Centre รวมถึงการร่วมกันต่อต้านข้อมูลอันเป็นเท็จและข่าวที่มีการบิดเบือนความจริงในระหว่างการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยจะร่วมกันกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการขจัดข่าวเท็จ บิดเบือน หรือการใส่ร้าย ที่ขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง เพราะทุกท่านคือฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ยั่งยืน

คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...